ผู้เขียน หัวข้อ: ?ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์? ตรวจติดตามการดำเนินงาน วว. ด้านการพัฒนายางพาราตลอดห่วงโซ่คุณค่า ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อ่  (อ่าน 387 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82473
    • ดูรายละเอียด

?ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์? ตรวจติดตามการดำเนินงาน วว. ด้านการพัฒนายางพาราตลอดห่วงโซ่คุณค่า ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี


ThaiPR.net -- จันทร์ที่ 20 สิงหาคม 2561 17:20:13 น.
?ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์? ตรวจติดตามการดำเนินงาน วว. ด้านการพัฒนายางพาราตลอดห่วงโซ่คุณค่า ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ดูรูปทั้งหมด
กรุงเทพฯ--20 ส.ค.--สถาบันวิจัยวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
 
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าไปพัฒนาการผลิตยางพาราตลอดห่วงโซ่คุณค่าอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การจัดการดิน การทำปุ๋ยลดต้นทุนการปลูกยาง การผลิตชีวภัณฑ์ป้องกันโรคระบบรากยางพารา การปลูกพืชแซมในสวนยาง การแปรรูปกล้วยหอมซึ่งปลูกแซมในสวนยาง และการแปรรูปเป็นหมอนไร้กลิ่นยาง/ถุงมือผ้าเคลือบน้ำยาง ทั้งนี้จะนำผลสำเร็จดังกล่าวเสนอต่อการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรต่อไป โอกาสนี้ ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน วว. ผู้บริหาร นักวิจัย ตลอดจนกลุ่มเกษตรกร ร่วมให้การต้อนรับ ในวันที่ 20 สิงหาคม 2561 ณ สหกรณ์กองทุนสวนยางทรัพย์ทวี จำกัด ตำบลทรัพย์ทวี อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี



ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน วว. กล่าวว่า วว. วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มเข้าไปพัฒนาการผลิตยางพาราตลอดห่วงโซ่คุณค่าอย่างเป็นรูปธรรม สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจ โดยมี สหกรณ์กองทุนสวนยางทรัพย์ทวี จำกัด อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่ดำเนินการ ดังนี้
 
การจัดการดิน ด้วยการให้ความรู้การวิเคราะห์ดินอย่างง่าย และแปรผลการวิเคราะห์ เพื่อให้เกษตรกรทราบถึงคุณสมบัติของดินเบื้องต้น พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ในการปรับปรุงดินที่เหมาะสม
 
ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสำหรับยางพารา เป็นปุ๋ยที่บำรุงทั้งต้นยางพาราและบำรุงดิน ทำให้ต้นยางพาราเจริญงอกงามดี ให้ผลผลิตสูง ช่วยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน อันจะส่งผลถึงการเกษตรที่ยั่งยืนในอนาคต
 
การปลูกพืชแซมในสวนยางพารา วว. ได้ทดลองปลูกพืชเศรษฐกิจในแปลงทดลอง จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ 1.กล้วยหอมทอง และ 2.ต้นจำปาทอง เพื่อเป็นพืชแซมในสวนยางพารา สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง
 
การผลิตชีวภัณฑ์ป้องกันโรคระบบรากยางพารา เป็นการป้องกันโรคยางพาราด้วยจุลินทรีย์ไตรโครเดอร์มา สายพันธุ์เฉพาะที่สามารถป้องกันโรครากขาว และรากน้ำตาลในยางพารา
 
การแปรรูปกล้วยหอม/หัวปลีซึ่งปลูกแซมในสวนยาง วว. ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการแปรรูปเป็นกล้วยหอมทอดแบบสุญญากาศ พร้อมกับบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และการแปรรูปหัวปลีเป็นน้ำหัวปลี
 
การแปรรูปยางพาราเป็นหมอนไร้กลิ่นยาง วว. ใช้เทคโนโลยีด้านนวัตกรรมวัสดุช่วยเพิ่มความนุ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และใช้เทคโนโลยีด้านนวัตกรรมวัสดุร่วมกับการใช้กลิ่นที่สกัดจากพืชชนิดต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมให้นอนหลับง่าย ปรับอารมณ์ให้สมดุลและสงบ ช่วยผ่อนคลาย อาทิเช่น กลิ่นหญ้าแฝก กลิ่นมะลิ เป็นต้น ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำยางพาราได้ 3-5 เท่า โดยในอนาคตคาดการณ์ว่าจะนำผลิตภัณฑ์ไปใช้ในโรงเรียนอนุบาล 5,000 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งจะสามารถเพิ่มปริมาณการใช้น้ำยางข้นประมาณ 3,500 ตัน (คิดเป็นปริมาณน้ำยางสด 7,000 ตัน)
 
ถุงมือผ้าเคลือบยาง น้ำยางจะช่วยเพิ่มความทนทานให้แก่ถุงมือ ทำให้ถุงมือผ้าเคลือบยางมีคุณสมบัติป้องกันการบาดคม บาดเฉือน ลดแรงกระแทก กันลื่น นำไปใช้ในงานด้านเกษตรกรรม ประมง ก่อสร้างและอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำยางพาราได้มากกว่า 10 เท่า และน้ำยาง 1 กิโลกรัมสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตถุงมือผ้าเคลือบยางได้ถึง 30 คู่ ทั้งนี้หากในอนาคตสามารถขยายการผลิตไปสู่อุตสาหกรรมโดยใช้เครื่องจักรแบบต่อเนื่องที่มีกำลังการผลิตเดือนละ 500,000 คู่ จะมีปริมาณการใช้น้ำยางข้นต่อเดือนประมาณ 16.7 ตัน (คิดเป็นปริมาณน้ำยางสด 33.4 ตัน)
 
ทั้งนี้ในการเพิ่มมูลค่ายางดิบของ วว. นั้น ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผลกระทบทางสังคมและผลกระทบด้านเกษตรกรรมอย่างเป็นรูปธรรม ในมิติสร้างมูลค่าเพิ่มยางพาราด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ช่วยแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ ลดการนำเข้าของผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ ช่วยให้ชาวสวนยางพาราและคนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกรจากการขายยางพารา รวมทั้งก่อให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ด้านการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากยางพารา