ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 20, 2019, 11:26:01 AM »

ต่างชาติแห่ชม ถนนยางพาราไทย เผยเป็นนวัตกรรม ที่ต่างชาติสนใจ

 15/Mar/2019 thaismiletopic


แนวโน้มดี!! โอมานดูงานถนนยางพาราไทย คาดปีนี้มีออเดอร์ทำถนนรวมกว่า 8 แสนตัน สถานการณ์ดีขึ้น ราคายางมีลุ้นปรับขึ้นถึงกิโลกรัมละ 60 บาท
  นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังนายยูซุฟ บิน อลาวี บิน อับดุลลาห์ รัฐมนตรีรับผิดชอบด้านการต่างประเทศรัฐสุลต่านโอมาน เข้าพบเนื่องในโอกาสนำที่ปรึกษาการเกษตรและเจ้าหน้าที่เทคนิคด้านเทคโนโลยีการผสมยางเยือนไทย
  เพื่อศึกษาดูงานเทคโนโลยีการผสมยางพาราของไทย ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา ว่า นับเป็นโอกาสอันดีที่รัฐมนตรีรับผิดชอบด้านการต่างประเทศรัฐสุลต่านโอมาน ในฐานะเป็นแขกของกระทรวงการต่างประเทศมีความสนใจเทคโนโลยีการผสมยางสำหรับทำถนนของไทย
  เนื่องจากถนนลาดยางพาราเป็นนวัตกรรมงานวิจัยที่ประเทศไทยพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มกับยางพารา เพราะประเทศไทยมียางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจและผลิตมากที่สุดในโลก ถนนผสมยางพาราได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมระดับชาติ
  ความโดดเด่นของการนำยางพาราผสมเพื่อทำถนนจะเป็นการเพิ่มคุณสมบัติการทนความร้อนได้มากกว่าถนนยางมะตอยปกติ และมีค่าความยืดหยุ่นและคืนตัวดีกว่า มีความแข็งแรงและอายุการใช้งานที่มากกว่า ทำให้เหมาะสมกับประเทศในเขตร้อน
  สำหรับความก้าวหน้าการดำเนินโครงการสร้างถนน 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร ทางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อยู่ระหว่างออกข้อบัญญัติในด้านงบประมาณ ซึ่งได้เริ่มโครงการฯ ตั้งแต่กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีการใช้น้ำยางสดทำถนนไปแล้ว 30,000 ตัน หากดำเนินการไปจนถึงกันยายนนี้คาดว่าจะใช้ปริมาณน้ำยางสดไม่ต่ำกว่า 800,000 ตัน
  นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังมีแผนซื้อน้ำยางสดมาปรับปรุงถนนตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยางพาราภายในประเทศ อีก 40,000 ตัน ทั้งนี้ประเทศไทยมีความพร้อมในการจัดส่งพารา โดยดำเนินการผ่านหน่วยธุรกิจของการยางแห่งประเทศไทย และสหกรณ์การเกษตรยางพาราอีก 32 แห่ง
  นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ยังดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคายางอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย การสนับสนุนสหกรณ์ยางพาราที่มีศักยภาพในรับซื้อยางจากเกษตรกรโดยตรง นำมาแปรรูปเป็นยางก้อนส่งออกขายต่างประเทศ
  ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณการยางพาราภายในประเทศอีกทางหนึ่ง และมาตรการควบคุมการปลูกยางพารา 2 แนวทาง สำหรับยางพาราที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป ไปปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น โกโก้ กาแฟ และการสนับสนุนให้โค่นยางพาราบางส่วน แล้วปลูกพืชอื่นแซม มีเป้าหมาย 400,000 ไร่ อยู่ระหว่างดำเนินการ
  ส่วนราคายางพาราในปัจจุบันมีเสถียรภาพมากขึ้นเป็น 50 บาท/กิโลกรัม แต่ด้วยมาตรการรัฐดังกล่าวคาดว่าจะขยับขึ้นไปถึง 60 บาท/กิโลกรัม.
ขอบคุณข้อมู,จาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์