ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2017, 08:07:52 PM »

เร่ง "ล้มยาง" เพื่อ "ปลูกยาง

ชาวใต้สวนกระแสราคาที่ผันผวน ขณะที่กล้ายางพันธุ์ดี เริ่มขาดแคลน เนื่องจากแปลงเพาะพันธุ์ยางได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหนักเมื่อต้นปีที่ผ่านมา อาชีพหลักของชาวปักษ์ใต้ ซึ่งต้องวนเวียนอยู่กับการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว คือ ยางพารามานานแสนนาน แม้ราคาไม่คงที่มีการผันผวนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งครั้งหนึ่งเคยทะยานไปถึงกิโลกรัมละเกือบ 200 บาท จนลดต่ำเหลือ 3 กิโล 100 เมื่อปีที่ผ่านมา ขณะที่ช่วงนี้เริ่มขยับขึ้นมาอยู่ที่ ประมาณ 80 บาทแต่ ไม่รู้ชะตากรรมล่วงว่าราคาขึ้นอีกหรือลดลงกว่านี้ในอนาคตแต่ถึงอย่างไรชาวใต้ก็ต้องปลูกยาง เหมือนเช่นที่นี่ คนงานกำลังใช้รถแทรกเตอร์ ล้มไม้ยางในสวนยางพาราที่หมดสภาพแห่งหนึ่งหลังกรีดมากว่า 20 ปี ใน อ.เทพา จ.สงขลา จากนั้นจะเลื่อยตัดหั่นไม้ยางเป็นท่อนๆ แล้วขนใส่รถบรรทุกนำไปขายที่โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา ก่อนจะปรับพื้นที่ เตรียมปลูกยางรุ่นใหม่ปัจจุบัน กล้ายางพันธุ์ดีเริ่มขาดแคลน เนื่องจากแหล่งผลิตต้นกล้ายางชำถุงพันธุ์ดีที่จังหวัดตรัง ซึ่งนับเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างหนักเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทำให้กล้ายางได้รับความเสียหายจำนวนมาก ซึ่งยางชำถุงที่ชาวสวนยางนำไปปลูกในระยะนี้ เป็นของค้างเก่าที่ยังหลงเหลือเมื่อปีก่อน อีกทั้งราคาก็ขยับขึ้นสูงถึงต้นละ 30 - 40 บาท และ คาดว่าผลกระทบจากกล้ายางขาดแคลนจะยาวนาน 1 - 2 ปีเลยทีเดียวทั้งนี้เหตุผลหลักอีกประการหนึ่งคือ ช่วงนี้เกษตรกรชาวสวนยาง ได้หันกลับมาปลูกยางกันมากขึ้นหลังจากชงักไปเมื่อสองปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคายางตกต่ำเป็นอย่างมา ชาวสวนยางพาราส่วนหนึ่งหันไปปลูกปาล์มน้ำมันแทน แต่พอราคายางเริ่มดีขึ้นก็ หันมาปลูกยางกันอีก ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกทดแทนแปลงยางพาราเดิม ที่หมดสภาพ     


ที่มา : เนชั่นทีวี