ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 891 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82556
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559


ปัจจัย วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ - ทั่วทุกภาคของประเทศยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีฝนฟ้าคะนอง
ร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง - สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ของญี่ปุ่น หรือ ACEA เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ใน
สหภาพยุโรป (EU) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในเดือนพฤษภาคม จากแรงหนุนความต้องการที่
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยอดจดทะเบียนรถใหม่ในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นเป็น 1.3 ล้านคัน


3. เศรษฐกิจโลก - ฟิทซ์ เรตติ้ง คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะชะลอการปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยจนถึงเดือนธันวาคมปีนี้ พร้อมระบุว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะยังคงเข้า
ทำการซื้อพันธบัตรนานกว่าที่กำหนดวว่าจะสิ้นสุดในเดือนมีนาคมปีหน้า นอกจากนี้ฟิทซ์
คาดการณ์ว่าธนาคารกลางอังกฤษมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยสู่ร้อยละ 0.25 ในปีนี้
จากปัจจุบันที่ร้อยละ 0.50
- ผลสำรวจโดยบริษัทวิจัย Gfk เผยให้เห็นว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมันมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากผู้บริโภคมีมุมมองที่ดีในแง่เศรษฐกิจและรายได้ โดย
คาดว่าจะอยู่ที่ 10.1 จุด เพิ่มขึ้นจาก 9.8 จุดในเดือนมิถุนายน และมากกว่าการคาดการณ์
ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดไว้ที่ 9.8 จุด
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE)
พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลาง
สหรัฐฯ (เฟด) ให้ความสำคัญปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนพฤษภาคม เมื่อเทียบเป็น
รายเดือน หลังจากขยับขึ้นร้อยละ 0.2 เช่นกันในเดือนเมษายน เมื่อเทียบเป็นรายปีดัชนี
PCE พื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในเดือนพฤษภาคม หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เช่นกัน
ในเดือนเมษายน
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนพฤษภาคม
เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 โดยปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.4 สอดคล้องกับการคาดการณ์ของ
นักวิเคราะห์ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ในเดือนเมษายน โดยได้ปัจจัยบวกจากการที่
ภาคครัวเรือนเข้าซื้อรถยนต์ รวมทั้งสินค้าและบริการอื่น ๆ
- นักเศรษฐศาสตร์ประจำประเทศจีนของเจ.พี มอร์แกน กล่าวว่า การตัดสินใจแยกตัว
ออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ของอังกฤษ จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออัตรา
แลกเปลี่ยนและนโยบายการเงินของจีน
- กระทรวงพาณิชย์ญี่ปุ่นเผยยอดค้าปลีกเดือนพฤษภาคมยังทรงตัว สะท้อนให้เห็นว่า
การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นยังคงซบเซา และรัฐบาลภายใต้การนำ ของ
นายกรัฐมนตรีซินโซ อาเบะ ยังคงเผชิญกับอุปสรรคและความท้าท้าย ส่วนเดือนเมษายน
ที่ผ่านมายอดค้าปลีกปรับตัวลดลงร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี

4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.21 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.05 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 102.73 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.28 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ



5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่
49.88 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.03 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจาก
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบรายสัปดาห์
ปรับตัวลดลงเกินคาด นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยบวกจากการที่นักลงทุนคลายความกังวล
เกี่ยวกับผลกระทบของการที่อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่
50.61 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.03 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ
ลดลง 4.1 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว อยู่ที่ 526.6 ล้านบาร์เรล เป็นการลดลงมากกว่าที่
นักวิเคราะห์คาดไว้


6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 167.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.5 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 155.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.5 เยน
ต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 179.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว - นายกรัฐมนตรีเยอรมันกล่าวว่า ผู้นำของสหภาพยุโรป (EU) ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง
ที่ยุ่งยากต่อสนธิสัญญาของ EU ขณะที่ EU กำลังหาทางสร้างความมั่นใจต่ออนาคต
ขณะที่ผู้นำของสหภาพยุโรปมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยรักษาจำนวน
27 ชาติสมาชิกไว้ หลังจากที่อังกฤษลงประชามติออกจา EU (Brexit)
- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยดัชนีการทำสัญญาขาย
บ้านที่รอปิดการขายเดือนพฤษภาคมลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน สู่ระดับ
110.8 ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.1


8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางยังคงปรับตัวสูงขึ้นได้ เพราะปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อน
ซึ่งในช่วงนี้จะมีผลผลิตออกมาประมาณร้อยละ 60 - 80 แต่ปีนี้แหล่งข่าวรายงานว่า
ผลผลิตมีเพียงร้อยละ 40 - 60 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการว่าจะมี
เงินทุนที่จะสู้ราคาที่อยู่ในระดับสูงได้มากน้อยเพียงใด
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมันที่ปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้น
ประกอบกับมีปัจจัยหนุนจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางทั่วโลกจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือ
ผลกระทบจากปัจจัย Brexit และปริมาณผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่ความต้องการซื้อของผู้ประกอบการใน
ประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับประเด็น Brexit ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก
และเงินเยนอยู่ในระดับแข็งค่า ยังเป็นปัจจัยที่กดดันราคายางได้ในระดับหนึ่ง



สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา