ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 994 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82556
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559


ปัจจัย วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ - ประเทศไทยตอนบนมีฝนต่อเนื่องร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนลดลงร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่
ไม่เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ทำให้ปริมาณผลผลชิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น


2. การใช้ยาง - ออโต้ดาต้า คอร์ป เปิดเผยว่า ตลาดสหรัฐฯ มียอดจำหน่ายรถยนต์ทั้งสิ้น 8,644,920 คัน
ในช่วงครึ่งแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นสถิติยอด
จำหน่ายสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2544 ในขณะเดียวกันยอดจำหน่ายรถยนต์ในสหรัฐฯ ปรับตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับปีก่อนในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 1,531,901 คัน


3. เศรษฐกิจโลก - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้ม
ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 2 ในช่วงหลายเดือนข้างหน้า หลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลการ
ขยายตัวของการใช้จ่ายของผู้บริโภคในระดับปานกลาง และการฟื้นตัวของภาคการผลิต
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยว่า ธนาคารได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดทั้งหมด 8.4
แสนล้านหยวน (ประมาณ 1.29 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ) เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับ
ระบบการเงิน โดยเป็นการดำเนินการผ่านทางข้อตกลงซื้อพันธบัตรมีสัญญาซื้อขายคืน
- ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ (ISM) ระบุว่าภาคการผลิตของสหรัฐฯ
มีการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ในเดือนมิถุนายน ทั้งนี้ดัชนีภาคการผลิตของ ISM
อยู่ที่ร้อยละ 53.2 ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558
และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51.3 ในเดือนพฤษภาคม
- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจเดือนมิถุนายน ดังนี้
? สหรัฐฯ ภาคการผลิตมีการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 3 เดือน โดยดัชนีผู้จัดการ
ฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 51.3 ลดลงเล็กน้อยจาก
ตัวเลขเบื้องต้นที่ 51.4 แต่สูงกว่าระดับ 50.7 ในเดือนพฤษภาคม
? ยูโรโซน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตอยู่ที่ระดับ 52.8 เมื่อเทียบกับ
รายงานเบื้องต้นที่ 52.6 และ 51.5 ในเดือนพฤษภาคม
? ฝรั่งเศส ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายปรับตัวลงสู่ระดับ
48.3 จาก 48.4 ในเดือนพฤษภาคม
? สหราอาณาจักร ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตอยู่ที่ 52.1 เพิ่มขึ้นจาก
50.4 ในเดือนพฤษภาคม ทำสถิติสูงสุดในรอบ 5 เดือน
? เยอรมัน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 54.5 จาก
52.1 ในเดือนพฤษภาคม
- สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) และสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS)
เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตประจำเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 50.0
ปรับตัวลงเล็กน้อยจาก 50.1 ในเดือนพฤษภาคม
- กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
เดือนพฤษภาคมลดลงร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันดิบ
ปรับตัวลดลง


4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.02 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 102.61 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.26 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่
48.99 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.66 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับ
ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐ ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐจะส่งผลให้สัญญาน้ำมันซึ่งซื้อขายในสกุล
เงินดอลล่าร์สหรัฐได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่น ๆ
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่
50.35 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.67 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 168.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.6 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 158.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.8 เยนต่อ
ดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 164.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว - ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยเพียง 1 ครั้งเท่านั้นในปีนี้ และคาดว่าเฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก
จนถึงปี 2561 เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอตัว
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า อัตราว่างงานยูโรโซนลดลงสู่ร้อยละ 10.1
ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 จากร้อยละ 10.2


8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางยังมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้อีก เพราะปริมาณผลผลิตยังมีน้อยประมาณร้อยละ
50 - 60 โดยแหล่งข่าวรายงานว่า สวนยางขนาดใหญ่ 100 - 200 ไร่ ยังขาดแคลนแรงงาน
จึงยังกรีดได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นแม้ว่าตลาดล่วงหน้าจะผันผวน ราคาตลาดจริงก็ยังอยู่ใน
ระดับสูงต่อไปจนกว่าปริมาณผลผลิตจะออกสู่ตลาดเต็มที่
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมัน
ปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้น และนักลงทุนขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่บ่งชี้ถึงการขยายตัวภาคการผลิตของสหรัฐฯ และยุโรป
ประกอบกับความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศเพื่อส่งมอบยังคงมีอยู่ อย่างไรก็ตาม เงินบาทและเงินเยน
มีแนวโน้มแข็งค่า และความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกในภาพรวม ยังเป็นปัจจัยที่กดดันราคายางได้ในระดับ
หนึ่ง




สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา