ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 967 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82556
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559


ปัจจัย วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ - บริเวณประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ร้อยละ 60-80
ของพื้นที่ โดยภาคใต้มีเมฆมากกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ส่วนมาก
บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง ส่งผลกระทบต่อ
การกรีดยาง


2. การใช้ยาง - สมาคมผู้ผลิตรถยนต์เยอรมัน (VDA) เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ของเยอรมัน
จะเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งในปี 2559 หลังจากที่เริ่มต้นได้ดีในช่วงครึ่งปีแรก โดยยอด
จดทะเบียนรถยนต์ใหม่เดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน อยู่ที่
339,600 คัน ส่งผลให้ยอดจดทะเบียนรถยนต์ทั้งหมดช่วงครึ่งปีแรกแตะที่ 1.37 ล้านคัน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีการคาดว่ายอดจำหน่ายรถยนต์
ส่วนบุคคลตลอดปี 2559 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 แตะที่ 3.3 ล้านคัน
- สมาคมผู้ค้ารถยนต์บราซิลเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ในบราซิลทรุดตัวลงในช่วง
ครึ่งปีแรก ทำสถิติต่ำสุดในรอบ 10 ปี โดยรายงานว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ
25.0 ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้บราซิลมียอด
จำหน่ายรถยนต์ 951,200 คันในช่วงครึ่งปีแรก ลดลงจาก 1.27 ล้านคัน
- สมาคมผู้นำเข้ารถยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือนมิถุนายนยอดจำหน่ายรถนำเข้าในญี่ปุ่น
รวมถึงรถที่ผลิตโดยผู้ประกอบการญี่ปุ่นในต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 จากช่วง
เดียวกันของปีก่อน แตะที่ 35,199 คัน

3. เศรษฐกิจโลก - มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจเดือนมิถุนายน ดังนี้
? ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและบริการของยูโรโซนอยู่ที่ 53.1
เมื่อเทียบกับตัวเลขเบื้องต้นที่ 52.8 และตัวเลขเดือนพฤษภาคมที่ 53.1 โดยระบุว่าผลผลิต
ภาคการผลิตขยายตัวดีที่สุดในปีนี้ ขณะที่ภาคบริการชะลอตัวหนักสุดในรอบเกือบปีครึ่ง
? ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซ้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของเยอรมันปรับตัวลงสู่ระดับ
53.7 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือน จาก 55.2 ในเดือนพฤษภาคม
? ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของอังกฤษอยู่ที่ 52.3 ลดลงจาก 53.5
เมื่อเดือนพฤษภาคม โดยทำสถิติต่ำสุดในรอบ 38 เดือน
? ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของฝรั่งเศสปรับตัวลงสู่ระดับ
49.9 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน จาก 51.6 ในเดือนพฤษภาคม
? ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 51.4 จาก 51.3
ในเดือนพฤษภาคม
? ร่วมกับไฉซินเปิดเผยดัชนีจัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีน ปรับตัวขึ้นแตะ
52.7 จาก 51.2 ในเดือนพฤษภาคม
- ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ (ISM) พบว่า เดือนมิถุนายนภาคบริการ
ของสหรัฐฯ มีการขยายตัวสูงสุดในรอบ 7 เดือน โดยได้รับแรงหนุนจากการจ้างงาน และ
คำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ดัชนีภาคบริการของ ISM อยู่ที่ระดับ 56.5 ในเดือนมิถุนายน
เพิ่มขึ้นจาก 52.9 ในเดือนพฤษภาคม



- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบาย
การเงิน (FOMC) ประจำเดือนมิถุนายนว่า คณะกรรมการเฟดเห็นพ้องว่าควรมีการชะลอ
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไปจนกว่าเฟดจะได้รับข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบ
จากการที่อังกฤษลงประชามติแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนต้า เปิดเผยว่า แบบจำลองการคาดการณ์
GDP NOW แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.4 ในไตรมาส 2
หลังจากเปิดเผยข้อมูลยอดจำหน่ายรถยนต์และดุลการค้าสหรัฐฯ
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ
1.0 ในเดือนพฤษภาคม หลังเพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 10.1 สู่ระดับ 4.11 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ขณะที่การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน
ผลักดันให้การนำเข้าเพิ่มขึ้น และการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐเป็นปัจจัยฉุดการ
ส่งออก โดยสหรัฐฯ ส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 0.2 ขณะที่นำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9


4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.19 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 100.79 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 1.39 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่
47.43 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.83 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ได้รับแรงหนุน
จากการคาดการณ์ว่าสต๊อคน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลง นอกจากนี้
ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากรายงานที่ระดับว่าดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่าง
แข็งแกร่งในเดือนมิถุนายน
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่
48.80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.84 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- บริษัท Rystad Energy เปิดเผยว่า สหรัฐฯ มีแหล่งน้ำมันสำรองมากกว่าซาอุดิอาระเบีย
และรัสเซีย นับเป็นครั้งแรกที่สหรัฐฯ มีน้ำมันสำรองมากกว่าประเทศทั้ง 2 ซึ่งเป็นผู้ส่งออก
น้ำมันรายใหญ่ของโลก โดยคาดการณ์ว่าน้ำมันของสหรัฐฯ มีปริมาณรวม 2.64 แสนล้าน-
บาร์เรล มากกว่าซาอุดิอาระเบียที่มีอยู่ 2.12 แสนล้านบาร์เรล และรัสเซียที่มีอยู่ 2.56
แสนล้านบาร์เรล


6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 161.9 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.7 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 153.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.6 เยนต่อ
ดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 162.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 5.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว - ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยว่า ทิศทางการปรับดอกเบี้ย
ของธนาคารกลางยังไม่แน่นอน โดยต้องจับตาดูตัวเลขเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดเพื่อใช้กำหนด
กรอบนโยบายต่อไป โดยระบุว่าเศรษฐกิจจะดำเนินไปในทิศทางใดนั้นคาดการณ์ได้ยาก

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบราคาสิงคโปร์ก็ยัง
อยู่ในระดับสูง เพราะปริมาณยางยังมีน้อย ดังนั้นราคายางในช่วงนี้ยังคงขึ้นอยู่กับ
ความต้องการของผู้ประกอบการ



แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยลบจากเงินเยน
แข็งค่าเข้าใกล้ระดับ 100 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ และราคาน้ำมันค่อนข้างผันผวน ประกอบกับนักลงทุนกลับมา
วิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการที่อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) หลังจากมีรายงานว่า
เสถียรภาพทางการเงินของสหราชอาณาจักรกำลังเผชิญภาวะท้าทาย อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
ให้ชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และความต้องการซื้อของผู้ประกอบการภายในประเทศยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคายาง
ได้ในระดับหนึ่ง




สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา