ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 1019 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82556
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559


ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- บริเวณประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่และตรัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 60-70 ของพื้นที่


2. การใช้ยาง
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) รายงานว่า ยอดการผลิตรถยนต์ช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม ? มีนาคม) อยู่ที่ 5.07 แสนคัน ลดลงร้อยละ 3.37 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยยอดผลิตรถยนต์เดือนมีนาคม ทาสถิติสูงสุดในรอบ 30 เดือน มาอยู่ที่ 1.93 แสนคัน ขณะที่ยอดการผลิตรถยนต์ล่าสุดช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ (มกราคม ? พฤษภาคม) อยู่ที่ระดับ 8.13 แสนคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.82 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
- สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ประกาศปรับ ลดคาดการณ์ยอดขายรถยนต์ในสหรัฐฯ ประจาปี 2559 จากเดิม 17.8 ล้านคัน หรือ 17.5 ล้านคัน เนื่องจากที่อังกฤษตัดสินใจถอยจากสหภาพยุโรป (Brexit) นั้น ได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ จนทาให้ความต้องการรถยนต์ลดลงตาม


3. เศรษฐกิจโลก
- สานักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของอังกฤษในเดือนพฤษภาคม ลดลงร้อยละ 0.5 เทียบเดือนเมษายน ซึ่งเพิ่มความวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคตของเศรษฐกิจประเทศ ภายหลังจากลงประชามติออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)
- กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ทุนสารองเงินตราต่างประเทศของญี่ปุ่น ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559 อยู่ที่ 1,265,402 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.1435 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ ร้อยละ 0.9 จากเดือนพฤษภาคม
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ถึงเม็ดเงินมูลค่าราว 6.15 แสนล้านหยวน (9.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ออกจากตลาดในสัปดาห์นี้
- ธนาคารกลางจีน รายงานว่า ตัวเลขทุนสารองเงินตราต่างประเทศของจีน ณ สิ้นเดือนเมษายน อยู่ที่ 3.21 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.34 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดือนที่ผ่านมา
- สานักงานศุลกากรของฝรั่งเศส เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 2.8 พันล้านยูโร (3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงจากเดือนเมษายน ที่ขาดดุลไป 4.8 พันล้านยูโร เนื่องจากการส่งออกขยายตัว ขณะที่การนาเข้าอ่อนตัวลง
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนี ปรับตัวลงสวนทางคาดการณ์ในเดือนพฤษภาคม หลังสินค้า ทุนลดลงหนัก ซึ่งนับเป็นสัญญาณว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกและความไม่แน่นอนทางการเมืองในยุโรป กาลังส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเยอรมนี โดยกระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนีเปิดเผยว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม ปรับตัวลงร้อยละ 1.3 จากเดือนก่อนหน้า
- รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยในรายงานเบื้องต้นว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นซึ่งสะท้อนสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันปรับตัวลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ดัชนีพ้องเศรษฐกิจลดลง 1.5 จุด จากเดือนก่อนหน้าสู่ระดับ 110.5 ในเดือนพฤษภาคม ส่วนดัชนีชี้นาเศรษฐกิจ ซึ่งคาดการณ์สถานการณ์ในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า ทรงตัวที่ระดับ 100.0



4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.21 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.02 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 100.89 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.10 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คาดว่า แนวโน้มค่าเงินบาทในช่วงไตรมาส 3/2559 ยังมีทิศทางแข็งค่า และ บางช่วงมีโอกาสเห็นค่าเงินบาทแตะระดับ 34.50 ต่อดอลลาร์สหรัฐ ได้ เนื่องจากมีเงินทุนต่างชาติ ไหลเข้ามาในเอเชียต่อเนื่อง โดยเฉพาะไทย ที่เห็นว่า นักลงทุนต่างชาติเข้ามาแสวงหาผลตอบแทน ในพันธบัตรระยะสั้น 1-5 ปี เนื่องจากผลตอบแทน (ยิลด์) พันธบัตรระยะสั้นของไทยให้ยิลด์ สูงถึง ร้อยละ 1 - 1.2 หากเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค เช่น มาเลเซีย ยิลด์ บอนด์ระยะสั้นต่ากว่าร้อยละ 1.0


5. ราคาน้ามัน
- สัญญาน้ามันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymax ส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 ปิดตลาดที่ 45.14 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 2.29 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสานักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ระบุว่า สต๊อกน้ามันดิบของสหรัฐปรับตัวลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มกลับมาวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ามันล้นตลาด
- สัญญาน้ามันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 ลดลง 2.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดตลาดที่ 46.40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สานักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อกน้ามันดิบของสหรัฐฯ ลดลง 2.2 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 1 กรกฎาคม ซึ่งน้อยกว่าที่คาดว่าจะลดลง 2.5 ? 2.6 ล้านบาร์เรล


6. การเก็งกาไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 อยู่ที่ 158.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.1 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม 2559 อยู่ที่ 148.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.0 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 159.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 3.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จานวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 16,000 ราย สู่ระดับ 254,000 ราย ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 2 กรกฎาคม ซึ่งเป็นระดับต่าสุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายน หรือในรอบเกือบ 3 เดือน
- ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐฯ ประจาเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้น 172,000 ตาแหน่ง มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นราว 150,000 ? 160,000 ตาแหน่ง


8.ข้อคิดเห็นของประกอบการ - ราคายางปรับตัวลดลง โดยมีปัจจัยลบ ส่วนมากมาจากปัจจัยต่างประเทศ ซึ่งทาให้ราคายางเริ่มปรับฐาน อย่างไรก็ตาม ราคายางในประเทศปรับลดลงในอัตราที่น้อย เมื่อเทียบกันกับราคาตลาดล่วงหน้า เนื่องจากปริมาณยางมีน้อย ขณะที่แหล่งข่าวรายงานว่าโรงงานส่วนมากยังคงขาดแคลนยาง แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดโตเกียวและราคาน้ามันที่ปิดตลาดปรับตัวลดลง ประกอบกับได้รับปัจจัยลบจากเงินเยนค่อนข้างผันผวนและแข็งค่า รวมทั้ง ข่าวที่ว่าธนาคารกลางจีนได้ดูดซับสภาพคล่องออกจากตลาดการเงินภายในประเทศเมื่อวานนี้ อย่างไรก็ตาม ภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ปลูกยางของไทยส่งผลให้ปริมาณผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดน้อย ยังเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง




สานักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา การยางแห่งประเทศไทย