ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 1025 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82556
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559


ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- บริเวณประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่


2. การใช้ยาง
- รองผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนเมษายน 2559 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 54,936 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7


3. สต๊อกยาง
- สต๊อกยางจีน ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2559 มีจานวน 336,399 ตัน เพิ่มขึ้น 3,712 ตัน หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.12 จากจานวน 332,687 ตัน ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2559
- สต๊อกยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559 ลดลง 966 ตัน หรือลดลงร้อยละ 10.66 แตะที่ 8,094 ตัน จากจานวน 9,060 ตัน ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2559


4. เศรษฐกิจโลก
- ประธานาธิบดีจีน กล่าวว่า เศรษฐกิจจีนมีเสถียรภาพและปรับตัวสอดคล้องกับการคาดการณ์ ขณะที่จีนจะเดินหน้าปฏิรูปด้านอุปทาน และจะใช้นโยบายการเงินที่รอบคอบ รวมทั้งนโยบายการคลัง ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เตือนว่าการที่อังกฤษลงประชามติถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) จะส่งผลกระทบในด้านลบต่อเศรษฐกิจยูโรโซนอย่างมีนัยสาคัญ
- สานักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น รายงานว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของญี่ปุ่นปรับตัวลงติดต่อกันเป็น เดือนที่ 3 ในเดือนมิถุนายน เนื่องจากตลาดหุ้นโตเกียวปรับตัวลงและเงินเยนแข็งค่า
- ผลสารวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคของอังกฤษที่จากัดโดย GfK ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยตลาด เผยให้เห็นว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง 8 จุด แตะระดับ -9.0 ในเดือนกรกฎาคม โดยเป็นการลดลงอย่างหนักสุด ในรอบกว่า 20 ปี ซึ่งสะท้อนว่าเศรษฐกิจอังกฤษมีแนวโน้มชะลอตัวลงหลังจากอังกฤษลงประชามติ ถอนตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit)
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า การที่อังกฤษตัดสินใจออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนในปีนี้และปีหน้า โดย IMF ระบุว่า เศรษฐกิจยูโรโซนจะขยายตัวร้อยละ 1.6 ในปีนี้และร้อยละ 1.4 ในปีหน้า ลดลงจากระดับร้อยละ 1.7 ที่คาดการณ์ไว้ก่อนที่อังกฤษจะแยกออกจากสหภาพยุโรป
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้อัดฉีดเม็ดเงิน 1.95 แสนล้านหยวน (2.95 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เข้าสู่ตลาดในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเมื่อวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ได้อัดฉีดเม็ดเงิน 1.5 หมื่นล้านหยวน และ 2 หมื่นล้านหยวน ตามลาดับ
- สานักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นดัชนีวัดต้นทุนราคาสินค้า ที่หน้าประตูโรงงาน ปรับตัวลงร้อยละ 2.6 ในเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่ลดลงร้อยละ 2.8 ในเดือนพฤษภาคม นับว่าปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 52 ติดต่อกัน สาหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ดัชนี PPI ลดลงร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบรายปี
- สานักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สาคัญปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.9 ในเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนพฤษภาคม ที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 และเดือนเมษายนที่ขยายตัวร้อยละ 23.0



องค์การการค้าโลก (WTO) เปิดรายงานการค้าโลกรายไตรมาสเป็นครั้งแรกเมื่อวานนี้ โดยคาดการณ์การขยายตัวของการค้าที่ซบเซาในไตรมาส 3 โดย WTO เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะการค้าในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 99.0 ซึ่งต่ากว่าอัตราแนวโน้มในอนาคต และบ่งชี้แนวโน้มที่ปรับตัวลง และมูลค่าการค้าสินค้าโลกลดลงร้อยละ 1.0 ในไตรมาสแรกของปีนี้
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.31 ในไตรมาส 3 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการประเมินในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.21 นอกจากนี้ เฟดยังระบุว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 2.09 ในไตรมาส 2 เทียบกับการประเมินในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.08


5. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.06 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 100.67 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.23 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


6. ราคาน้ามัน
- สัญญาน้ามันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymax ส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 ปิดตลาดที่ 45.41 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.27 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากข้อมูลตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯ ออกมาแข็งแกร่ง ซึ่งช่วยให้นักลงทุนคลายกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ
- สัญญาน้ามันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 เพิ่มขึ้น 0.27 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดตลาดที่ 45.41 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล


7. การเก็งกาไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 อยู่ที่ 157.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม 2559 อยู่ที่ 148.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.6 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 156.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 3.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


8. ข่าว
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 287,000 ตาแหน่ง ในเดือนมิถุนายน จากระดับ 38,000 ตาแหน่ง ในเดือนพฤษภาคม ขณะที่อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับร้อยละ 4.9 หลังจากอยู่ที่ร้อยละ 4.7 ในเดือนพฤษภาคม
- ธนาคารแบงค์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ คาดการณ์ว่า ราคาทองจะพุ่งขึ้นร้อยละ 10.0 ซึ่งแต่ขณะนี้จนถึงสิ้นปีหน้า ซึ่งคาดว่าจะปิดที่ระดับ 1,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ จากขณะนี้ที่ปรับตัวอยู่ที่ราว 1,358 ดอลลาร์สหรัฐ โดยเขากล่าวว่า โลกได้เผชิญกับวิกฤตการณ์หลายครั้งแล้ว และเรามองว่าความเสี่ยงดังกล่าวจะยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง


9.ข้อคิดเห็นของประกอบการ - ราคายางทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ เพราะปริมาณยางมีน้อย ขณะที่ผู้ประกอบการบางส่วนยังมีความต้องการซื้อหรือส่งมอบทาให้ราคาที่มีการซื้อขายในตลาดในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับราคาตลาดล่วงหน้า แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกมาจากราคาชี้นาตลาดโตเกียวปรับตัวสูงขึ้น และได้รับแรงหนุนจากตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯ ที่สูงเกินคาด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงตลาดแรงงานสหรัฐฯที่แข็งแกร่ง ประกอบกับอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย จากภาวะฝนตกในหลายพื้นที่ปลูกยางของไทย ส่วนปัจจัยลบมาจากเงินเยนและ เงินบาทแข็งค่า รวมทั้งราคาน้ามันยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลง




สานักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา การยางแห่งประเทศไทย