ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 957 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82556
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559


ปัจจัย วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ - บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกลดลง ส่วนภาคตะวันออกและภาคใต้ยังมีฝนตก
ต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค
บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ระนอง และพังงา ส่งผล
กระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง - สมาคมผู้ผลิตรถยนต์จีนเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ในจีนซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ใหญ่
ที่สุดของโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะที่ 2.07 ล้านคันในเดือน
มิถุนายน โดยรายงานระบุว่ายอดจำหน่ายรถยนต์โดยสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 แตะที่
1.28 ล้านคันในเดือนมิถุนายน


3. เศรษฐกิจโลก - รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานของภาคเอกชนเดือนพฤษภาคม
ปรับตัวลงร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อน สู่ระดับ 7.85 แสนล้านเยน
- นักวิเคราะห์ของเจ.พี. มอร์แกน ระบุว่า ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจทรุดตัวลง
เข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วง 12 เดือนข้างหน้าได้เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
จากการลดลงของยอดจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมิถุนายน โดยรายงานระบุว่าค่าวัดแนวโน้ม
ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจอาจทรุดตัวเข้าสู่ภาวะถดถอยได้พุ่งขึ้นสู่ระดับร้อยละ 37 จาก
ร้อยละ 34 ในวันที่ 16 มิถุนายน 2559 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปิดเผยยอดจำหน่ายรถยนต์
ภายในสหรัฐฯ ที่ลดลงร้อยละ 5 ในเดือนมิถุนายน
- คณะกรรมาธิการยุโรป (EU) ประกาศตั้งกองทุน 2 แห่ง สำหรับการลงทุนในกองทุน
ปรับโครงสร้างและการลงทุนยุโรป (ESI) เพื่อให้มีการอัดฉีดสำหรับธุรกิจที่เริ่มก่อตั้ง และ
อัดฉีดสภาพคล่องแก่โครงการพัฒนาในเขตเมือง ช่วยเพิ่มเงินลงทุนให้กับธุรกิจเกิดใหม่
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปรายงานว่า อัตราการลงทุนของภาคธุรกิจในยูโรโซนอยู่ที่
ร้อยละ 22.2 ในไตรมาสแรก โดยสูงกว่าระดับร้อยละ 22 ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว
- นักเศรษฐศาสตร์ชาวจีนระบุว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิถุนายนขยายตัวสูงกว่า
คาดการณ์ที่ร้อยละ 1.8 ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายผลิต (PPI) ชะลอตัวลงน้อยกว่า
คาดการณ์ที่ร้อยละ 2.5 สะท้อนมุมมองที่ไม่ค่อยสดใส โดยเขาเตือนว่าความเสี่ยงด้าน
เงินฝืดยังปรากฏอยู่ เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมฟื้นตัวไม่แข็งแกร่งพอ เพราะ
ความต้องการภายในประเทศยังคงอ่อนแรง จึงระบุว่าจีนจำเป็นต้องออกมาตรการเพื่อ
ฟื้นฟูความเชื่อมั่นทางธุรกิจ


4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.16 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.01 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 103.01 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 2.34 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่
44.76 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.65 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุน
วิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด หลังจากมีรายงานว่าไนจีเรียและ
ซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ได้ปรับเพิ่มปริมาณ
การผลิตน้ำมันและจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกันยายน ปิดตลาดที่

46.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.51 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 162.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.0 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 153.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.5 เยนต่อ
ดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 160.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว - พรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ของนายกรัฐมนตรีชินโซะ อาเบะ ชนะการเลือกตั้ง
วุฒิสภาในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งจะปูทางให้รัฐบาลของนายอาเบะเดินหน้าใช้
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการคลังได้อย่างต่อเนื่อง
8. ข้อคิดเห็นของ
ประกอบการ
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้น เพราะปริมาณผลผลิตที่ยังคงออกสู่ตลาดน้อย ยังเป็นปัจจัยที่
ทำให้ผู้ประกอบการในประเทศเร่งซื้อเพื่อส่งมอบตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งได้ตกลง
ซื้อขายในราคาค่อนข้างสูง จึงทำให้ราคาที่ซื้อขายในระยะนี้ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อ
เทียบกับราคาชี้นำในตลาดล่วงหน้าโตเกียวและสิงคโปร์


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว จากการอ่อนค่าของเงินเยน
และได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางในหลายประเทศจะเดินหน้าใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
เพื่อรับมือกับผลกระทบของ Brexit ประกอบกับนักลงทุนขานรับตัวเลขจ้างงานที่สดใสของสหรัฐฯ นอกจากนี้
ปริมาณผลผลิตที่ยังคงออกสู่ตลาดน้อย ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง




สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา