ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 937 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82556
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559


ปัจจัย วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ - บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนตก
หนักบางแห่ง ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตั้งแต่จังหวัดชุมพรจนถึงสงขลา
ระนอง พังงา และภูเก็ต ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง - ประธานบริหารบริษัทมาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด คาดว่าในปีนี้จะสามารถบรรลุ
เป้าหมายยอดจำหน่าย 42,000 คันได้อย่างแน่นอน พร้อมส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 5.4
จากยอดจำหน่ายรถยนต์ภายในประเทศทั้งปีที่คาดว่าจะบรรลุถึง 780,000 คัน


3. เศรษฐกิจโลก - สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิถุนายน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี
ไม่เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขประมาณการครั้งแรกที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2559
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาค้าส่งเดือนมิถุนายนปรับตัวลดลงร้อยละ
4.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 เนื่องจากการลดลง
ของราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ และการแข็งค่าของเงินเยน
- นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้สั่งการให้รัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ดำเนินการรวบรวมมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อจัดการกับปัญหาเงินฝืด หลังการชะลอตัวในเศรษฐกิจเกิดใหม่ และ
การแข็งค่าของเงินเยน ได้ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สต๊อคสินค้าคงคลังภาคค้าส่งประจำเดือน
พฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือนเมษายน และต่ำกว่าที่
นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 โดยสต๊อคสินค้าคงคลังภาคค้าส่งของสหรัฐฯ
ถูกถ่วงลงจากการลดลงของสต๊อครถยนต์ ซึ่งคาดว่าจะฉุดการขยายตัวของเศรษฐกิจ
สหรัฐฯ ไตรมาส 2
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองการคาดการณ์
GDPNOW แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาส 2
ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.4 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2559
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่าการลงประชามติของอังกฤษในการแยกตัว
ออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ได้ก่อให้เกิดความไม่แน่นอน และเพิ่มความเสี่ยงต่อ
เศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี จนถึงขณะนี้ปัจจัย Brexit ดูเหมือนจะมีผลกระทบไม่มากนัก
ต่อการขยายตัวของสหรัฐฯ และ IMF ประกาศคงอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ที่ร้อยละ 2.2 ในปีนี้ และร้อยละ 2.5 ในปีหน้า

4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.19 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.03 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 104.29 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 1.28 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่
46.80 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.04 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจาก
กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ออกรายงานคาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันจะสูงกว่า
อุปทานในปัจจุบัน และคาดว่าแนวโน้มตลาดน้ำมันในปีหน้าจะยังคงสดใส
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกันยายน ปิดตลาดที่
48.47 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.22 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล



- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ออกรายงานภาวะตลาดน้ำมันประจำเดือน
กรกฎาคมระบุว่า แนวโน้มตลาดน้ำมันยังคงมีความสดใสในปีหน้า โดยอุปสงค์น้ำมันจะ
สูงกว่ากำลังการผลิตในปัจจุบัน ขณะที่ปริมาณน้ำมันส่วนเกินในตลาดจะค่อย ๆ ลดลง
โดยโอเปคระบุว่าอุปสงค์น้ำมันโลกจะเพิ่มขึ้น 1.15 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีหน้า ลดลง
เล็กน้อยจากระดับ 1.19 ล้านบาร์เรลต่อวันที่คาดไว้สำหรับปีนี้

6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 166.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.8 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 156.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.5 เยนต่อ
ดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 166.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 6.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว - ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จัดประชุมนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม
2559 ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า BOE อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ย หรืออาจ
เพิ่มวงเงินการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ


8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นอย่างน้อย 1 บาท ตามตลาดต่างประเทศ และปริมาณยางที่ยังคง
เพิ่มขึ้นน้อย ขณะที่ผู้ประกอบการบางส่วนมีสัญญาล่วงหน้าที่ต้องส่งมอบจึงเร่งซื้อ
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียว จากการอ่อนค่าของเงินเยนและราคาน้ำมัน
ปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากคาดการณ์ว่าธนาคารกลางชั้นนำทั่วโลก อาทิ ธนาคารกลาง
อังกฤษ (BOE) ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และธนาคารกลางจีน (PBOC) จะใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและรับมือ
กับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หลังจากอังกฤษลงประชามติแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ขณะที่ความต้องการ
ซื้อของผู้ประกอบการในประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง




สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา