ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 989 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82556
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559


ปัจจัย วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ - ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกร้อยละ 70 ของ
พื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่

2. การใช้ยาง - ประธานบริหารบริษัทมาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ไทย
ได้รับผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดย 6 เดือนแรก
ยอดจำหน่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ประมาณ 6 หมื่นตัน ทำให้ช่วงครึ่งปีแรกยอดจำหน่าย
โดยรวมของอุตสาหกรรมอยู่ที่ประมาณ 3.7 แสนคัน ส่วนช่วงครึ่งปีหลังคาดว่า
สถานการณ์จะมีแนวโน้มสดใสมากขึ้น คาดว่ายอดจำหน่ายตลาดรวมจะทะลุ 7.8 แสนคัน

3. เศรษฐกิจโลก - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) พุ่งขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน
มิถุนายนเมื่อเทียบเป็นรายเดือน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
2558 โดยปรับขึ้นตามราคาพลังงานและภาคบริการ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน
พฤษภาคม เมื่อเทียบเป็นรายปีดัชนี PPI ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็น
การเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 หลังจากขยับขึ้นร้อยละ 0.1 ใน
เดือนพฤษภาคม
- ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) สร้างความผิดหวังต่อตลาดด้วยการประกาศคงอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 0.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ สวนทางกับ
การคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25
- ผู้ว่าการธนาคารกลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ปรับลดคาดการณ์
อัตราเงินเฟ้อลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.1 จากร้อยละ 1.2 ของการคาดการณ์ครั้งก่อน
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวแสดงความเห็นใน
การประชุมแห่งหนึ่งที่เมืองฟิลาเดลเฟียว่า การที่อังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป
(Brexit) จะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ พร้อมกล่าวว่าเฟดอาจจะ
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้
- สำนักงานสถิติจีน เปิดเผยว่า
? ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 6.7
ส่วน GDP ช่วงครึ่งแรกของปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 6.7 เช่นกัน
? ยอดค้าปลีกช่วงครึ่งแรกของปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี
ทรงตัวจากไตรมาสแรกของปีนี้
? การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ขยายตัวร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับที่
ขยายตัวร้อยละ 10.7 ในช่วงไตรมาสแรก

4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.07 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.11 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 105.84 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 1.51 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่
45.68 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.93 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยได้รับ
แรงหนุนจากสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ และข้อมูล
เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ รวมทั้งดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิถุนายนพุ่งขึ้นสูงสุด
ในรอบหลายเดือน
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกันยายน ปิดตลาดที่
47.37 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.10 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 168.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.2 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 158.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.9 เยนต่อ
ดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 179.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 7.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว - สถาบันผู้สำรวจที่ได้รับอนุญาตของอังกฤษ (RICS) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาบ้านในอังกฤษ
ลดลงสู่ระดับ 46.0 ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี หลังจากแตะที่ 35.0
ในเดือนก่อน
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงาน
ครั้งแรกทรงตัวที่ระดับ 254,000 ราย ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 กรกฎาคม 2559 ซึ่งใกล้
ระดับ 248,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 43 ปีที่ทำไว้ในกลางเดือนเมษายน
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนตา กล่าวว่า เฟดควรใช้ความอดทน
และระมัดระวังในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต เนื่องจากผลกระทบจากการที่
อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) เริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นจากความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศที่มีสัญญาณ
ซื้อขายล่วงหน้าในราคาที่อยู่ระดับสูง และปริมาณผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่เต็มที่ เพราะ
ฝนตกกรีดยางได้น้อย ขณะที่บางพื้นที่กรีดยางได้แต่ต้นยางให้ผลผลิตน้อย และบางส่วน
ยังคงขาดแคลนแรงงานกรีดยาง

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวจากการอ่อนค่าของเงินเยนและราคาน้ำมัน
ปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ และนักลงทุนขานรับ
ข่าวธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ส่งสัญญาณว่าอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า รวมทั้งอุปทาน
ยางที่ยังคงเพิ่มขึ้นน้อย และความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศที่มีอย่างต่อเนื่อง


สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา