ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 947 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82556
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559


ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- บริเวณประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ในระยะนี้ โดยเฉพาะภาคใต้มีฝน ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา กระบี่ และตรัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 60-70 ของพื้นที่เช่นกัน

2. การใช้ยาง
- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ยุโรป (ACEA) เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ในยุโรปเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.5 เทียบรายปีแตะ 1.51 ล้านคัน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 3 เดือน ซึ่งสะท้อนว่าความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและผู้บริโภคสั่นคลอน หลังจากประชามติ Brexit สาหรับยอดขายรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 สู่ระดับ 8.09 ล้านคัน

3. สต๊อกยาง
- สต๊อกยางจีน ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 มีจานวน 341,488 ตัน เพิ่มขึ้น 5,089 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.51 จากสต๊อกยางเดิม ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2559 ที่ระดับ 336,399

4. เศรษฐกิจโลก
- สานักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไตรมาส 2/2559 ขยายตัวได้ดีเกินคาด ซึ่ง ช่วยหนุนความคาดหวังที่ว่าเศรษฐกิจภายในประเทศได้เริ่มเข้าสู่ภาวะที่มีเสถียรภาพ ทั้งนี้ NBS ระบุว่า GDP ไตรมาส 2/2559 ขยายตัวร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบรายปี โดยตัวเลขดังกล่าวยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมายที่รัฐบาลกาหนดไว้ที่ร้อยละ 6.5 ? 7.0
- แหล่งข่าวรายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นกาลังเตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินอย่างน้อย 20 ล้านล้านเยน (1.88 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อผลักดันเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดและป้องกันผลกระทบจากการที่อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)
- สานักงานจัดเก็บภาษีแห่งรัฐ (SAT) ของจีน เปิดเผยว่า จีนสามารถจัดเก็บภาษี 6.5 ล้านล้านหยวน ในช่วงครึ่งปีแรก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบรายปี
- สานักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิถุนายน ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.4 เทียบรายเดือน ซึ่งมากกว่าที่นักวิเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.2 อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบรายปีดัชนี PPI ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.2
- สมาคมห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ห้างสรรพสินค้าในญี่ปุ่นมียอดจาหน่ายลดลงร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบรายปี โดยเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4
- กระทรวงพาณิชย์จีน เปิดเผยว่า ภาคธุรกิจของจีนยังคงเพิ่มการลงทุนในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก โดยระบุว่า เม็ดเงินลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (ODI) ของธุรกิจนอกภาคการเงิน ของจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.7 เมื่อเทียบรายปี แตะที่ระดับ 5.8028 แสนล้านหยวน
- สหภาพยุโรป (EU) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซน โดยระบุผลโหวต Brexit ทาให้ความไม่แน่นอนเพิ่มสูงขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัว โดย EU คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร 19 ประเทศ จะชะลอตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ? 1.5 ในปี 2559 จากที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.7 ในเดือนพฤษภาคม และคาดว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะขยายตัวในอัตราเดียวกัน
- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป หรือ ZEW เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในเดือนกรกฎาคม ลดลงแตะ -6.8 จุด จากระดับ 19.2 จุด ในเดือนมิถุนายน อันเนื่องมาจากผลโหวต Brexit ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือเป็นระดับต่าสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555 และลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 9.0 จุด



- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.61 ในไตรมาส 3 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับการประเมินในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.31 หลังจากเปิดเผยตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาด
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2015 และสูงกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 หลังจากลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือนพฤษภาคม
- สานักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า กลุ่มประเทศยูโรโซนมีตัวเลขเกินดุลการค้าลดลงในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้การส่งออกในยูโรโซนลดลงร้อยละ 1.9 ในเดือนพฤษภาคม ขณะที่การนาเข้าลดลง ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบรายเดือน ส่งผลให้ตัวเลขเกินดุลการค้าลดลงสู่ระดับ 2.45 หมื่นล้านยูโร จากระดับ 2.54 หมื่นล้านยูโรในเดือนเมษายน
- สานักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า กลุ่มประเทศยูโรโซนได้กลับเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อ ในเดือนมิถุนายน หลังจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากระดับร้อยละ -0.1 ในเดือนพฤษภาคม ส่วนอัตราเงินเฟ้อในสหภาพยุโรปอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.0 ในเดือนมิถุนายน จากระดับร้อยละ -0.1 ในเดือนพฤษภาคม
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สต๊อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนพฤษภาคม หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนเมษายน
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.2 เช่นเดียวกันในเดือนพฤษภาคม เมื่อเทียบรายปี ดัชนี CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในเดือนมิถุนายน
- คณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และคณะรัฐมนตรีจีน ได้เปิดเผยนโยบายว่า รัฐบาล จะปรับโครงสร้างการลงทุนและระบบการเงินเพื่อกระตุ้นตลาดท่ามกลางเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลง โดยรัฐบาลจะลดขั้นตอนการดาเนินการที่ล่าช้า ปรับปรุงกากับดูแลและสนับสนุนวิสาหกิจต่าง ๆ ให้เข้ามาลงทุน
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกประจาปี 2559 และ 2560 เนื่องจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่เพิ่มสูงขึ้น ภายหลังจากที่สหราชอาณาจักร ลงประชามติถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (EU) โดย IMF คาดการณ์ว่า
? เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.1 ในปี 2559 และร้อยละ 3.4 ในปี 2560 ซึ่งลดลงร้อยละ 0.1 จากการคาดการณ์ในเดือนเมษายน ที่ระดับร้อยละ 3.2 และร้อยละ 3.5 ตามลาดับ
? เศรษฐกิจอังกฤษลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ลดลงร้อยละ 0.2 จากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ และหั่นคาดการณ์ปีหน้าลงถึงร้อยละ 0.9 เหลือร้อยละ 1.3
? ส่วนเศรษฐกิจยูโรโซนนั้น IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในปี 2559 ขึ้นเล็กน้อย แต่ลดคาดการณ์ปี 2560 ลงร้อยละ 0.2 สู่ระดับร้อยละ 1.4
? สาหรับสหรัฐอเมริกา IMF คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.2 ในปี 2559 ลดลงร้อยละ 0.2 จากคาดการณ์ครั้งก่อน ขณะที่คาดการณ์ปี 2560 ไว้ที่ร้อยละ 2.5
? IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่น เป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 ในปีนี้ ลดลงร้อยละ 0.2 จากการคาดการณ์ครั้งก่อนหน้า และคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.1 ในปีหน้า จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ 0.1



? IMF ยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปีนี้เป็นร้อยละ 6.6 จากคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.5 ในเดือนเมษายน อันเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

5. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.04 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.03 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 107.27 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 1.43 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

6. ราคาน้ามัน
- สัญญาน้ามันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymax ส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 ปิดตลาดที่ 44.94 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.29 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสานักงานสารสนเทศ ด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อกน้ามันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 9 ติดต่อกัน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ามันล้นตลาด
- สัญญาน้ามันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกันยายน 2559 เพิ่มขึ้น 0.51 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดตลาดที่ 47.17 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สานักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อกน้ามันดิบสหรัฐฯ ลดลง 2.3 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 519.5 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นการลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 9 ติดต่อกัน


7. การเก็งกาไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 อยู่ที่ 178.9 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 5.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม 2559 อยู่ที่ 163.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.1 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 192.00 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากวันที่ผ่านมา 5.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

8. ข่าว
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ในเดือนมิถุนายน สู่ระดับ 1.19 ล้านยูนิต ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 1.17 ล้านยูนิต
- สานักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (DNS) เปิดเผยว่า อัตราว่างงานในสหราชอาณาจักรลดลงในเดือนมีนาคม ? พฤษภาคม แตะระดับต่าสุดนับตั้งแต่ปลายปี 2005 ทั้งนี้ ONS รายงานว่าอัตราว่างงานลดลงแตะร้อยละ 4.9 โดยต่ากว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.0

9.ข้อคิดเห็นของประกอบการ - ราคายางปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดต่างประเทศและปริมาณผลผลิตที่มีน้อยหลายพื้นที่กรีดยางไม่ได้ เพราะฝนตกต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวรายงานว่าราคาที่อยู่ในระดับสูงในระยะนี้ถ้าเสนอขายจะไม่มีผู้ซื้อนอกจากจะมีผู้ต้องการจริง ๆ จึงจะขายได้


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนอ่อนค่าและราคาน้ามันปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับนักลงทุนขานรับรายงานที่ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืด และผลประกอบการของบริษัทเอกชนในสหรัฐฯ ออกมาดีเกินคาด ขณะที่อุปทานยางออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อยจากภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ปลูกยางของไทย


สานักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา การยางแห่งประเทศไทย