ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มกราคม 07, 2024, 08:59:28 AM »

ระวัง โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา ระบาดไปแล้ว 451,945 ไร่

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เตือนพี่น้องเกษตรชาวสวนยางใหัระวัง โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp. หรือ เชื้อรา Colletotrichum โดยอาการของโรค ระยะแรกใบจะเป็นรอยสีเหลืองกลม ต่อมาจะเป็นลักษณะช้ำดำกลมขนาดใหญ่ และเนื้อเยื่อเปลี่ยนเป็นแห้งสีน้ำตาลซีด แผลเรียบโครงสร้างเนื้อเยื่อใบที่เป็นแผลแห้งยังคงสมบูรณ์ รอบแผลไม่มีสีเหลืองล้อมรอบ ใบเหลือง ในสภาพที่เหมาะสมใบร่วงอย่างรวดเร็ว

สำหรับใบยางที่ร่วงแห้งอยู่บนพื้นดิน จะเห็นลักษณะแผลกลมซีดขาวขนาดใหญ่ โรคนี้เข้าทำลายใบแก่ทุกช่วงอายุยาง หากเป็นต้นยางเล็กที่เป็นรุนแรงอาจทำให้ต้นยางตายอย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน พบพื้นที่ระบาดใน 13 จังหวัด น่าน ชุมพร ตรัง นราธิวาส นครศรีธรรมราช ปัตตานี พังงา พัทลุง ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี จำนวน 451,945 ไร่ การระบาดคงที่ (ข้อมูล ณ วันที่ 20 ธ.ค. 66)

อย่างไรก็ตาม หากพบโรคให้รีบดำเนินการป้องกันกำจัด ดังนี้ กรณีต้นยางเล็กให้รีบกำจัดใบที่เป็นโรค โดยการเก็บใส่ถุง นำไปเผาในถังปิด และฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรากลุ่ม ไตรอะโซลส์ (triazoles) เช่น โพรพิโคนาโซล + ไดฟิโนโคนาโซล โพรพิโนโคนาโซล เฮกซะโคนาโซล หรือ คาร์เบนดาซิม อย่างน้อยทุก 15 ? 30 วัน

กรณีแปลงยางต้นใหญ่ให้ใช้สารดังกล่าว ฉีดพ่นด้วยเครื่องฉีดพ่นแรงดันสูง โดรน หรือแอร์บล๊าส ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝน อย่างน้อยทุก 1 ? 1.5 เดือน หมั่นกำจัดวัชพืชในสวนยางให้เตียนโล่งอยู่เสมอเพื่อลดแหล่งแพร่ขยายเชื้อ พร้อมใส่ปุ๋ยบำรุงสวนยางสม่ำเสมอเพื่อให้ต้นยางเจริญแข็งแรง หากเกษตรกรชาวสวนยางต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมให้ติดต่อ กยท. ในพื้นที่ เพื่อเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการโรคต่อไป

#กรมวิชาการเกษตร #ยางพารา #ระบาด #ระวัง #โรคใบร่วง #โรคใบร่วงชนิดใหม่