ผู้เขียน หัวข้อ: สมาคมสวนยางอีสาน เลือก "อีโต้" เข้าชิงเก้าอี้บอร์ดยางไทย  (อ่าน 829 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82466
    • ดูรายละเอียด
สมาคมสวนยางอีสาน เลือก "อีโต้" เข้าชิงเก้าอี้บอร์ดยางไทย


 วันที่ 11 กันยายน  พ.ศ. 2558 เวลา 16:15:00 น ที่มา มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/online/2015/09/14419618341441961946l.jpg height=346
(11 ก.ย.58) ผู้สื่อข่าวจ.อุดรธานี รายงานว่า ที่ห้องประชุมโรงแรมสยามแกรนด์ ถนนรอบเมือง ทต.หนองบัว อ.เมือง นายอำนวย ปะติเส อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่สามัญ สมาคมเกษตรกรชาวสวนยางภาคอีสาน พร้อมกล่าวถึงการขับเคลื่อน พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทยสู่การปฏิบัติจริง ของโครงการบริหารจัดการศูนย์เครือข่ายการยางแห่งประเทศไทย โดยมีองค์กรยาง และสมาชิกสมาคมฯ 20 จังหวัดภาคอีสาน ส่งตัวแทนมาร่วมประชุมมากกว่า 500 คน 

ด้วยเนื้อหาตามพ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา ระบุว่า จะต้องเลือกตัวแทนเกษตรกร ไปเป็นบอร์ดชั่วคราว เพื่อไปออกกฎหมายลูกและกฎระเบียบ ภายใน 120 วัน ประกอบไปด้วย ประธาน คือนายกรัฐมนตรี ตัวแทนราชการจำนวน 6 คน , ตัวแทนเอกชนจำนวน 2 คน และตัวแทนเกษตรกร 5 คน โดยเป็นผู้แทนองค์กรสวนยาง 2 คน ผู้แทนชาวสวนยาง 3 คน ทำให้ที่ประชุมวันนี้ จะต้องเลือกตัวแทนขึ้นมา โดยในวันนี้ที่ประชุมได้มีมติเลือกนายธีระชัย แสนแก้ว หรืออีโต้ อดีตสมาชิกสภาพผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยางภาคอีสาน และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นตัวแทนองค์กรสวนยางภาคอีสาน เพื่อให้ตัวแทนองค์กรแต่ละภาคเลือกไปเป็นบอร์ด 2 คน   

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสมาพันธ์องค์กรเกษตรกรสวนยางแห่งประเทศไทย , นายธีระชัย และคณะกรรมการได้ร่วมแถลงข่าวบอร์ดที่จะทำการเลือกตั้งทางอ้อม เพื่อจะมาทำหน้าที่ชั่วคราวเมื่อทำกฎหมายลูก และออกระเบียบเสร็จ ก็จะมาเลือกตั้งใหม่กันอีกครั้ง โดยในส่วนของตัวแทนองค์กรแค่ละภาค ภาคเหนือได้เลือกแล้ว 8 กันยายน , อีสานเลือกวันนี้ , ภาคตะวันออกเลือกที่ระยอง 14 กันยายน มีตัวแทนภาคละ 1 คน และภาคใต้เลือกวันที่ 22-23 กันยายน มีตัวแทน 2 คน


http://www.matichon.co.th/online/2015/09/14419618341441962115l.jpg height=351

ด้านนายธีระชัย กล่าวว่า พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย ล้อเลียนมาจาก พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย แต่ดีกว่าในหลายส่วน ที่จะทำให้ชาวสวนยางยืนได้ด้วยขาของตนเอง ไม่ต้องไปของบประมาณจากรัฐบาลมาสนับสนุน ยกเว้นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งในช่วงภาวะราคายางตึงตัว และมีเรื่องที่ชาวสวนยางต้องทำทั้งเรื่องเก่าอย่างเงินชดเชย ปี 58-59 และเรื่องการขับเคลื่อน พ.ร.บ.การยางฯ เพื่อให้เกิดกลไกคือ องค์การสงเคราะห์การทำสวนยาง , องค์การยาง และสำนักงานวิจัยยาง กรมวิชาการ

ขณะที่นายอุทัย ยังกล่าวว่า รัฐบาลให้เกียรติเกษตรกรชาวสวนยาง มากกว่านายทุน หรือกลุ่มอื่นๆ โดยขณะนี้หน่วยงานราชการ กำลังร่างกฎหมายลูก ซึ่งบางส่วนเรายังรับไม่ได้ ต้องเข้าไปแก้ไขปรับเปลี่ยน อาทิ คุณสมบัติของชาวสวนยาง ต้องมีเอกสารสิทธิที่ดินเท่านั้น ซึ่งมีปัญหาอยู่จำนวนมาก ที่มีเอกสาร สทก. และที่ป่าสงวนที่เสื่อมโทรม บางคนเป็นคนกรีดยางเป็นคนดูแลสวนก็ไม่ได้ แต่เราคิดว่าเขาน่าจะได้รับสิทธิส่วนนั้นด้วย ถ้าไม่ได้สิทธิก็จะต้องขอกับนายทุน ซึ่งเราต้องเข้าไปมีส่วนร่างระเบียบเพื่อรักษาสิทธิของชาวสวนยาง ไม่ว่าจะเป็นเงินคุ้มครองยามชรา เงินบริหารจัดการองค์กร ที่ชาวสวนจะทำเพียงยางดินไม่ได้แล้ว แต่ต้องก้าวไปในระดับอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม มีคนจ้องโจมตีว่า เป็นตัวปลอม กล่าวหาว่าไอ้หน้าดำอยากเป็นบอร์ด ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะ พ.ร.บ.การยางฯ เขียนไว้ชัดเจน

ทั้งนี้ นายธีระชัย กล่าวกับชาวสวนยางว่า ตนเป็นเกษตรกรมาตลอดชีวิต ก่อนจะได้เป็น รมช.เกษตรฯ เมื่อไมได้เป็น รมต.ก็ยังเป็นเกษตรกรปลูกอ้อยและยางพารา อยู่กับ พ.ร.บ.อ้อยฯ มาตั้งแต่ ปี 26 เห็นว่า พรบ.การยางฯจะช่วยชาวสวนยางได้ ก็ถามลูกว่าจะทำอ้อยต่อไหม ถ้าไม่ทำพ่อจะขายเครื่องมือทิ้ง ลูกก็ตอบตกลงว่าจะหอบปริญญากลับมาทำไร่อ้อย ตนเองก็เข้ามาดูแลสวนยางอย่างเต็มตัว และจะเอาประสบการณ์ ความรู้ความสามารถมาช่วยชาวสวนยาง