ผู้เขียน หัวข้อ: 'อำนวย'เล็งบัฟเฟอร์ฟันด์คู่ซื้อยางรายย่อย  (อ่าน 1292 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82610
    • ดูรายละเอียด
'อำนวย'เล็งบัฟเฟอร์ฟันด์คู่ซื้อยางรายย่อย



       เร่งโค่นยางในเขตป่าสงวน พื้นที่ไม่เหมาะสม

 "อำนวย"เล็งใช้มาตรการบัพเฟอร์ฟันด์ควบคู่จ่ายเงินชาวสวนยางรายย่อยเพิ่ม เล็งเสนอกนย. เร็วๆ นี้ ไม่สนผลประเมินขาดประสิทธิภาพ ภาคเอกชนแนะรัฐหยุดซื้อ-หยุดขายยาง พร้อมเร่งมาตรการโค่นยางในเขตป่า พื้นที่ไม่เหมาะสม แทนใช้มาตรการชดเชยราคา

 นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ(กนย.) ในเร็วๆ นี้ จะเสนอแนวทางเตรียมรับมือผลผลิตยางพาราในปี 2558/59 ซึ่งจะมี 2 แนวทางเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

 คือ แนวทางแรก โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายางหรือบัฟเฟอร์ฟันด์ หรือราคาตลาดบวกราคาชี้นำ แนวทางสองโครงการรับซื้อยางจากเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่ปลูกยาง ไม่เกิน 15 หรือ 25 ไร่ หรือราคาตลาดบวกราคาพรีเมี่ยม

 ทั้งนี้ โครงการบัฟเฟอร์ฟันด์ นั้นจะใช้เงินที่ค้างเบิกจ่ายจากธนาคารเพื่อกรเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก. ส.) จำนวน 2,000 ล้านบาท และเงินที่ได้จากการขายยาง ประมาณ 1,100 ล้านบาท ต่อเดือนมาดำเนินการ แม้ว่าโครงการนี้จะถูกกล่าวหาว่าทุจริตแต่ผลการตรวจสอบไม่พบแต่อย่างใด ส่วนที่ว่าขาดประสิทธิภาพ ในด้านการจัดซื้อที่เกษตรกรเข้าหาจุดได้ยากนั้น ในช่วงหลังได้ปรับปรุงขยายการรับซื้อ

 "การดำเนินดังกล่าวมีประสิทธิภาพมาก ในการยกระดับราคายางในประเทศให้สูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ราคายางตกต่ำถึงขีดสุด ในช่วงเดือน ธ.ค.2557 ทำให้ราคายางขยับเพิ่มขึ้นจาก กก.ละ 56-58 บาทเป็น 60 บาท และ 65 บาท ในระยะต่อมา จนถึงฤดูการปิดกรีด ทางโครงการฯได้หยุดรับซื้อทำให้ราคาดิ่งลง ต่ำกว่ากก.ละ 50 บาท"

 สำหรับโครงการรับซื้อยางจากเกษตรกร รายย่อย ในเบื้องต้น กนย.จะต้องพิจารณาพื้นที่การช่วยเหลืออย่างเหมาะสม รวมทั้งอัตราการช่วยเหลือหรือราคาพรีเมี่ยม โดยทางจังหวัดจะเป็นผู้ขึ้นทะเบียนและกำหนดโควตาการช่วยเหลือ ที่จะขึ้นอยู่กับวงเงินที่มีอยู่ ซึ่งอาจจะใช้เงินเดียวกับโครงการบัฟเฟอร์ฟันด์

 นายบุญหาญ อู่อุดมยิ่ง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปีนี้คาดว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกจะขยายตัวไม่มากนัก ในขณะนี้การผลิตรถยนต์ของไทยจะลดลงประมาณ 20 - 25% จากที่มียอดผลิต ปีละ 2.4 ล้านคัน ซึ่งการที่เศรษฐกิจชะลอส่งผลให้ผู้บริโภคยืดอายุการใช้ยางออกไปอีกกระทบกับ อุตสาหกรรมยางพารา

 ในการแก้ปัญหารัฐบาลจะต้องมีมาตรการที่ชัดเจน ชะลอไม่ให้น้ำยางออกสู่ตลาดมากเกินไป แนวทางที่เหมาะสมควรประกาศโค่นยาง ในเขตป่าสงวน และพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม หรือประกาศไม่ให้รับซื้อยางที่ได้มาจากพื้นที่ ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งลดผลผลิตได้อย่างน้อยปีละ 1 ล้านตัน จาก 4 ล้านตันต่อปี การดำเนินการเช่นนี้จะทำให้ผู้ใช้ยางโลกวิตกกังวลและราคาจะปรับตัวสูงขึ้น เอง

 "ยางในสต็อกของรัฐบาลที่มีอยู่ยังเป็นปัญหาที่กดราคายางซ้ำลงไปอีก ดังนั้นต้องรีบจัดการนำมาใช้ในกิจกรรมของภาครัฐให้หมด พร้อม ลดพื้นที่ปลูกในป่าลง 20% เอกชนต้องไม่ซื้อยางที่มาจากป่าสงวนด้วย" นายบุญหาญ กล่าว

 อย่างไรก็ตามกรณีที่เกษตรกรมีรายได้ลดลง นั้น รัฐต้องหามาตรการเข้ามาช่วย แต่ต้องเป็นมาตรการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับราคา การอุดหนุนราคาเกษตรกรเพื่อดันราคายางให้สูงขึ้น จะยิ่งทำให้กลไกการตลาดเสียไป จะเห็นได้จากนโยบายที่รัฐบาลทำมาก่อนหน้านี้ไม่ประสบผลสำเร็จ ขณะที่เกษตรกรรอแต่รับการช่วยเหลือ สุดท้ายช่วยไม่ไหวรัฐบาลเสียเงินไปมาก สถานการณ์ไม่ดีขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะอุตสาหกรรมยางของไทยยังต้องพึ่งการส่งออก มาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลพยายามจะพยุงราคาให้สูงขึ้นจึงสุ่มเสี่ยงและต้องมาตามแก้ไขปัญหา กันทุกปี

 "ที่ผ่านมาทาง ส.อ.ท. เคยเสนอให้รัฐบาลงดเก็บภาษีกับผู้ประกอบการที่สามารถส่งออกล้อยางได้เพิ่ม ขึ้น เพื่อเป็นมาตรการจูงใจ ให้มีการขยายตลาดยาง ในขณะที่จะต้อง ซื้อยางจากเกษตรกรเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ราคายาง ก็จะปรับตัวสูงขึ้น เรื่องนี้มีข้อเสียอย่างเดียว คือรัฐบาลจะไม่ได้ภาษีจากผู้ประกอบการ แต่อย่าลืมว่ารัฐบาลจะไม่ต้องใช้งบประมาณเพื่ออุดหนุนเกษตรกรอีกต่อไป ซึ่งอาจจะเป็นงบประมาณที่มากกว่าการขอคืนภาษีของภาคเอกชนก็ได้" นายบุญหาญ กล่าว

 นายพงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต กรรมการ ผู้จัดการบริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้เกษตรกรเริ่มเปิดกรีดหน้ายางกันแล้ว และเริ่มมากขึ้นในช่วงปลายเดือน เพื่อหารายได้จ่ายค่าเทอม ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำยางยิ่งปรับตัวลดลงเพราะน้ำยางออกสู่ตลาดมาก ในขณะที่ภาครัฐก็พยายามที่จะเร่งขายยางในสต็อก 2.05 แสนตัน จะทำให้ราคายางยิ่งดิ่งลงไปอีก ทางที่ดีรัฐบาลควรหยุดซื้อหยุดขายยางในช่วงนี้แล้วประกาศโค่นต้นยางเขต พื้นที่ไม่ถูกต้อง

 การประกาศขายยางของรัฐจะทำให้ทุกอย่างยิ่งแย่ลง กลุ่มผู้ประกอบการดูออกว่าล้มเหลว มาตั้งแต่ 5 เดือนที่ผ่านมาแล้ว การขายยางในสต็อก มีความจำเป็นจริงแต่ต้องดูจังหวะ ควรจะเร่งดำเนินการตั้งแต่ช่วงหยุดกรีดยาง

 "มาตรการต่างๆของรัฐเริ่มเห็นแล้วว่าทุกคนได้รับผลกระทบ เดือนนี้ราคายางจะลดลงมากอีกและจะลดลงลงยิ่งขึ้นในเดือนหน้ายิ่งรัฐบาลมี มาตรการชดเชยส่วนต่างของราคา คนก็จะยิ่งกรีด เพราะไม่ต้องห่วงเรื่องราคาแล้วทั้งหมด เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องคิดอย่างรอบคอบ การพูดอย่างเดียวโดยรวมแล้วมันดูดี แต่มันจะกระทบกับทุกห่วงโซ่และเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างไม่ยั่งยืน" นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว                 

 กรุงเทพธุรกิจ (Th)