ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 12 กุม???าพันธ์ พ.ศ. 2557  (อ่าน 1462 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82473
    • ดูรายละเอียด


วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  12  กุม???าพันธ์ พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. ส???าพ???ูมิอากาศ- ???าคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีฝนตกร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของ???าค ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง- สมาคมหอการค้าญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์เดือนมกราคม 2557 อยู่ที่ 69,154 คัน ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2556 ที่มียอดจำหน่าย 111,397 คัน สาเหตุจากปัญหาทางการเมือง และคาดว่าจะยังส่งผลกระทบต่อไปในช่วงหลายเดือนนับจากนี้
3. เศรษฐกิจโลก- นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ธนาคารโลกประเมินว่าปี 2557 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยจะเติบโตราวร้อยละ 4.0 โดยการส่งออกมีแนวโน้มเติบโตร้อยละ 6.0 ขณะที่การนำเข้าเติบโตร้อยละ 5.0
- วอชิงตันโพสต์ รายงานว่า รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเร่งเจรจาขยายเพดานหนี้ ซึ่งตามกำหนดจะชนเพดานในวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่กระทรวงการคลังใช้มาตรการพิเศษชะลอการใช้จ่ายบางอย่างออกไป เพื่อป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ แต่คาดว่ามาตรการพิเศษจะช่วยต่อลมหายใจให้การคลังสหรัฐฯ ได้จนถึงสิ้นเดือนกุม???าพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคมเท่านั้น
- เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดหน่วยงานเศรษฐกิจสำคัญทั่วโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปี 2557 จะขยายตัวราวร้อยละ 2.8 เพิ่มจากปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดแรงงาน
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ปริมาณสต๊อคสินค้า???าคค้าส่งเดือนธันวาคม ปรับเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือนพฤศจิกายน เป็นการปรับเพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ชี้ให้เห็นถึงอัตราการขยายตัวีที่ชะลอตัวลงในไตรมาส 4 ปี 2556
- นางเจเน็ต  เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวต่อที่ประชุมกรรมาธิการการเงินสหรัฐฯ ว่า เฟดจะยังคงเดินหน้าแผนการปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไป เมื่อพิจารณาจาก???าวะเศรษฐกิจที่มีความแข็งแกร่งมากขึ้น และแสดงความเชื่อมั่นว่าการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะช่วยให้ตลาดแรงงานมีความแข็งแกร่งมากขึ้นในอนาคต
4. อัตราแลกเปลี่ยน- เงินบาทอยู่ที่ 32.70 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 102.55 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.44 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดตลาดที่ 99.94 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.12 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากการปิโตรเลียมสหรัฐฯ (API) รายงานสต๊อคน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากตลาดขานรับแถลงการณ์ของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
- การปิโตรเลียมสหรัฐฯ (API) รายงานว่า สต๊อคน้ำมันในรอบสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรล ขณะที่สต๊อคน้ำมันกลั่นลดลง 1.5 ล้านบาร์เรล สะท้อนให้เห็นว่าส???าพอากาศที่หนาวเย็นในสหรัฐฯ ยังคงส่งผลให้ความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
6. การเก็งกำไร- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคม อยู่ที่ 223.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 229.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.9 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 215.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว- ปัญหาวงเงินสูงสุดที่รัฐบาลสหรัฐฯ สามารถกู้ยืมได้หรือเพดานหนี้ กำลังกลับมาสร้างปัญหาให้พลเมืองอเมริกัน และนักลงทุนทั่วโลกอีกครั้ง โดยพรรครีพับลิกันที่ครองเสียงข้างมาในส???าผู้แทนราษฎรหวังจะใช้เพดานหนี้เป็นตัวประกัน เพื่อบีบให้รัฐบาลพรรคเดโมเครตยอมอ่อนข้อให้เรื่องที่ต้องการ ขณะที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ประกาศว่าจะไม่ยอมประนีประนอมต่อเงื่อนไขใด ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะผลผลิตเริ่มลดลงจากส???าพอากาศที่เริ่มแห้งแล้ง และเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ ขณะที่ผู้ประกอบการซึ่งมีสินค้าจำนวนมากก็พยายามพยุงราคาให้สูงขึ้น เพื่อขายได้ในราคาไม่ขาดทุน


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เพราะได้รับแรงหนุนจากเงินเยนอ่อนค่า และนักลงทุนขานรับแถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่จะเดินหน้าแผนการปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไป เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งมากขึ้น ประกอบกับเริ่มเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ ผลผลิตยางลดลง อย่างไรก็ตาม สต๊อคยางที่มีอยู่ในระดับสูงมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยังเป็นปัจจัยกดดันให้ราคายางไม่ปรับตัวขึ้นสูงมากในระยะนี้

คณะทำงานวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา













































































































































































































































































[/td][/tr][/table]