ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 22, 2015, 02:33:13 PM »

รู้มาเล่าไป: อนาคตยางไทยหลังเปิด'เออีซี'



  22เม.ย.58รู้มาเล่าไป: อนาคตยางไทยหลังเปิด'เออีซี' 
 ดลมนัส กาเจ

 หากนับถอยจากนี้ไปก็ยังเหลือเวลาอีก 8 เดือนกับ 7 วัน ก็จะเป็นวันที่กลุ่มประเทศในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม กัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมาร์ รวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ "เออีซี" ในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 นี้

 พืชเศรษฐกิจหลักของกลุ่มประเทศในอาเซียนเราจะมีลักษณะใกล้เคียงกันหลายชนิด โดยเฉพาะยางพารา ที่ราคากำลังตกต่ำอยู่ขณะนี้

 โดยประเทศไทยมาครองแชมป์การส่งออกยางพารามากที่สุดในโลกเมื่อครั้งที่ ยางพาราราคาดี ส่งออกคิดมูลค่าปีละกว่า 4 แสนล้านบาท ถือเป็นมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรที่มากที่สุดของประเทศ

 ปัจจุบันราคายางพาราตกต่ำ เปิดตลาดวันแรกของสัปดาห์นี้ (20 เม.ย.58) ราคาประมูลที่ตลาดกลางยางพารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ยางแผ่นดิบ กิโลกกรัมละ 48.13 บาท ยางรมควันชั้น 3 กิโลกรัมละ 50.39 บาท ขณะที่ตลาดท้องถิ่น ยางแผ่นกิโลกรัมละ 46.50 บาท น้ำยางสดกิโลกรัมละ 45.50 บาทเท่านั้น

 ถ้าดูตัวเลขการผลิตยางธรรมชาติของโลก ไทย อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย มีพื้นที่ผลิตรวมกันกว่า 60% ของพื้นที่ปลูกยางพาราทั่วโลกเมื่อปี 2555 ทั้ง 3 ประเทศส่งออกยางพารามีมูลค่า 672.5 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 75% โดยไทยได้ส่วนแบ่งการตลาดกว่า 40% แต่อนาคตอันใกล้นี้ สัดส่วนอาจลดลง เพราะประเทศเพื่อนบ้านของเราทั้งเมียนมาร์ สปป.ลาว และกัมพูชา ขยายพื้นที่ปลูกยางพาราขนาดใหญ่

 ตรงนี้สิครับ ที่ ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองว่าสถานการณ์ยางพาราของไทยในวันนี้ยังคงน่าห่วงส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคา ยางโลกตกต่ำ แม้ภาครัฐจะพยายามแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มการใช้งานยางพาราในประเทศ แต่แนวโน้มในปีนี้ก็ยังไม่สดใส ขณะที่ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 4 แสนล้านบาท มีผู้ประกอบอาชีพการทำสวนยาง 1.5 ล้านครัวเรือน

 ด้วยเหตุนี้ คณะเศณษฐศาสตร์ และศุนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ร่วมมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) จัดเวที ประเทศไทยกับ Global Connectivity ในหัวข้อ "AEC : อนาคตยางพาราไทย วิกฤติหรือโอกาส" เพื่อระดมความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการยางพาราไทยจากทุกภาคส่วนทั้ง ภาครัฐและเอกชนวิเคราะห์ถึงปัญหา และแนวทางการพัฒนายางพาราไทยไปสู่ความยั่งยืน ในวันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2558 เวลา 08.30-13.00 น. ณ ห้องบอลรูมโรงแรมแกรนด์เมอร์เคียวฟอร์จูน รัชดาฯ กรุงเทพฯ

 งานนี้มีวิทยากรหลายท่านครับ อาทิ ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช นายขุนศรี ทองย้อย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจรเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ นายบุญหาญ อู่อุดมยิ่ง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมี ดร.อำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะปาฐกถาเรื่อง "ทิศทางการพัฒนายางพาราไทย"

 ผลสรุปจะออกมาอย่างไร ติดตามอ่านรายงานพิเศษหน้าเกษตร/ทำมาหากิน "คม ชัด ลึก" ในวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2558 นี้ครับ!     


คมชัดลึก (Th)