ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 825 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82470
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  4  กันยายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจายถึงเกือบทั่วไปและ ตกหนักบางแห่ง   บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองกระจาย   ร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- ยอดจำหน่ายรถยนต์ในสหรัฐฯ เดือนสิงหาคมทะยานขึ้นอย่างแข็งแกร่ง มียอดรวมอยู่ที่ 1.58 ล้านคัน ซึ่งได้รับแรงหนุนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในรถยนต์เอสยูวี และรถปิ๊กอัพ ประกอบกับราคาน้ำมันปรับตัวลดลงและตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้น
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) ขั้นสุดท้ายภาคบริการสหรัฐฯ   เดือนสิงหาคมปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 56.1 จากระดับ 55.7 ในเดือนกรกฎาคม   ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ   55.2 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 56.0 ชี้ให้เห็นว่าไตรมาส 3 เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยดัชนีที่อยู่สูงกว่าระดับ 50.0 แสดงถึงการขยายตัวของภาคบริการ
- พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น หลังจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวและอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซน   ส่งผลให้มีการคาดว่า ECB จะขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การปรับตัวขึ้นของพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุ   10 ปี ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนลดลงสู่ระดับร้อยละ 2.168   จากร้อยละ 2.193
- ประธานธนาคารกลางยุโรป   (ECB) กล่าวว่า ECB พร้อมที่อัดฉีดเงินในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ   วงเงิน 1.1 ล้านล้านยูโร (1.2 ล้านล้านดอลลาร์) เพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อให้ฟื้นตัวจากระดับต่ำไปสู่เป้าหมายที่ระดับใกล้ร้อยละ 2.0
- ธนาคารกลางจีนประกาศอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเป็นมูลค่า   1.5 แสนล้านหยวน หรือ 2.36 หมื่นล้านดอลลาร์   ผ่านทางข้อตกลงซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repo) อายุ 7 วัน เพื่อบรรเทาภาวะสภาพคล่องตึงตัว
- ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) เปิดเผยว่า รายได้ประชาชาติไตรมาส 2 ปี 2558 ปรับตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีครึ่ง ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจของประเทศอาจเผชิญแนวโน้มการเติบโตที่ ระดับต่ำอย่างยาวนาน พร้อมเปิดเผยว่าทุนสำรองเงินตราต่างประเทศปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน เนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าได้ลดมูลค่าสินทรัพย์ที่ไม่อยู่ใน รูปสกุลเงินดอลลาร์
- ธนาคารกลางยุโรป   (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับร้อยละ   0.05 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ตามความคาดหมาย นอกจากนี้ ECB ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ   ECB ที่ร้อยละ -0.2 หมายความว่าธนาคารพาณิชย์จะต้องจ่ายค่าฝากแก่   ECB หากมีการนำเงินส่วนเกินมาพักไว้ที่ ECB มาตรการดังกล่าวของ ECB
 มีขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์นำเงินไปปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจแทนนำมาพักไว้ที่   ECB

 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 35.84 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.01   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 119.79 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น   0.70 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ดอลล่าร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบสกุลเงินยูโรเมื่อคืนนี้   (3 กันยายน 2558) หลังจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดช่องสำหรับการใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภูมิภาค ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลล่าร์สหรัฐที่ระดับ 1.1121 ดอลล่าร์สหรัฐ จาก 1.1240 ดอลล่าร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่   1.5259 ดอลล่าร์สหรัฐ จากระดับ 1.5305 ดอลลาร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนตุลาคมปิดตลาดที่ 46.75 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น   0.50 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้น และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศเพิ่มการอัดฉีดเงินในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์   (Brent)   ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนตุลาคม ปิดที่ 50.68ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.18   ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 157.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง   2.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ 164.6 เยนต่อกิโลกรัม   ลดลง 2.4 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM   เปิดตลาดที่ 128.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 3.7   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ   เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น 12,000 ราย   สู่ระดับ 282,000 ราย ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งที่   5 ในรอบ 6 สัปดาห์   และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม อย่างไรก็ดีตัวเลขดังกล่าวยังต่ำกว่าระดับ   300,000   รายเป็นสัปดาห์ที่ 26 ติดต่อกัน   ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามราคาต่างประเทศ อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบการมีความต้องการซื้อยางมากราคายางน่าจะปรับตัวลด ลงไม่มากนัก
 
   ?แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว จากการแข็งค่าของเงินเยน ประกอบกับนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯ โดยยังคงติดตามข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อย่างไรก็ตาม ราคายางยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา