ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคาร ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556  (อ่าน 830 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82609
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคาร ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1.   ส???าพ???ูมิอากาศ- ลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยและ???าคใต้   ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้???าคใต้ยังคงมีฝนหนาแน่นร้อยละ 60-70   ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2.   การใช้ยาง- รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์   ส???าอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. เปิดเผยว่า การผลิตรถยนต์ในเดือนกันยายนมีทั้งสิ้น   194,737 คัน ต่ำกว่า สองแสนคันเป็นเดือนที่ 2 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมร้อยละ   0.86 ส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์???ายในประเทศเดือนกันยายนมีทั้งสิ้น 94,859 คัน   ลดลงจากเดือนสิงหาคมร้อยละ 5.41 และยอดการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในเดือนกันยายนสุทธิ   118,253 คัน ทำสถิติสูงสุดในรอบ 25 ปี นับตั้งแต่มีการส่งออกในปี 2531   เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมร้อยละ 13.47
- สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า สต๊อคสินค้าคงคลังยางแผ่นดิบของญี่ปุ่น   ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2556 ลดลงร้อยละ 8.05 แตะที่ 4,386 ตัน จากระดับ 4,507 ตัน   เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2556 และใกล้เข้าสู่ระดับต่ำสุดที่ 4,144 ตัน   เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2553
3.   สต๊อคยาง- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 10   ตุลาคม 2556 เพิ่มขึ้น 148 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.72 แตะที่ 2,737 ตัน   จากระดับ 2,589 ตัน เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2556
4.   เศรษฐกิจโลก- สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี   (Destatis) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)   ในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้น 0.3 จากเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นผลจากราคาเชื้อเพลิงที่พุ่งสูง   แต่หากเทียบกับเดือนกันยายนปีที่แล้ว PPI ปรับตัวลงร้อยละ 0.5
-   ธนาคารกลางญี่ปุ่นปรับเพิ่มการประเมินเศรษฐกิจ 9 เขต เมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อ 3   เดือนที่แล้ว เนื่องจากการลงทุนใน???าคบริษัทและการใช้จ่ายที่ดีขึ้นของผู้บริโ???ค   ขณะที่ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นแสดงความเชื่อมั่นในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อของแบงก์ชาติที่ร้อยละ   2 เพื่อแก้ไข???าวะเงินฝืด   และให้คำมั่นว่าจะยังคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินจนกว่าเงินเฟ้อจะสอดคล้องกับเป้าหมายอย่างยั่งยืน
- กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า   ญี่ปุ่นมียอดขาดดุลการค้าที่ 9.321 แสนล้านเยนในเดือนกันยายน   ทำสถิติขาดดุลการค้าเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน โดยมียอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ   11.5 จากปีก่อน ในขณะที่ยอดนำเข้าขยายตัวร้อยละ 16.5
5. อัตราแลกเปลี่ยน- เงินบาทอยู่ที่ 31.14 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ   และเงินเยนอยู่ที่ 98.29 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.34 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
6.   ราคาน้ำมัน- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI)   ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดตลาดที่ 99.22 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล   ลดลง 1.59 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ระบุว่า สต๊อคน้ำมันดิบพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ   3 เดือน ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่า อุปสงค์พลังงานในสหรัฐฯ   อาจชะลอตัวลง
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า   สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ตุลาคม 2556   ปรับตัวขึ้นเกินคาด โดยสต๊อคน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 4 ล้านบาร์เรล แตะ 374.5   ล้านบาร์เรล
7. การเก็งกำไร- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน   อยู่ที่ 258.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม   2557 อยู่ที่  268.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น   0.2 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 256.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.0 เซนต์-สหรัฐต่อกิโลกรัม
8.   ข่าว- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ   (เฟด) สาขาชิคาโก กล่าวว่า เฟดจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 เดือน ในการประเมินข้อมูลการจ้างงานก่อนที่จะตัดสินใจปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ   (QE)
-   สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ เปิดเผยว่า   ยอดจำหน่ายบ้านมือสองเดือนกันยายนลดลงร้อยละ 1.9 สู่ระดับ 5.29 ล้านยูนิต   ซึ่งเป็นการปรับตัวลงต่ำกว่า คาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ประเมินว่ายอดจำหน่ายบ้านจะอยู่ที่   5.3 ล้านยูนิต และส่งสัญญาณว่าการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยได้ชะลอความแรงลง
9.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ- ราคาปรับตัวสูงขึ้น   เพราะได้แรงหนุนจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย จาก???าวะฝนตกชุกต่อเนื่อง   อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันปรับลดลงอย่างหนัก อาจจะกดดันราคาให้สูงขึ้นในกรอบแคบๆ
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว เพราะได้รับแรงหนุนจากเงินเยนอ่อนค่า และการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะเลื่อนเวลาการปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ประกอบกับ???าคใต้ของไทยยังคงมีฝนตกชุกต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลงแตะระดับต่ำกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 เดือน ขณะที่นักลงทุนบางส่วนชะลอการซื้อเพื่อรอดูตัวเลขจ้างงานเดือนกันยายนของสหรัฐฯ ที่จะเปิดเผยในช่วงเย็นวันนี้ อาจจะเป็นปัจจัยกดดันราคายางได้ในระดับหนึ่ง
คณะทำงานวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา














 
[/td][/tr][/table]