ผู้เขียน หัวข้อ: สกย.เดินหน้านโยบายลดต้นทุนฯ หนุน'ชาวสวนยาง'เพิ่มผลผลิต  (อ่าน 1805 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82609
    • ดูรายละเอียด

สกย.เดินหน้านโยบายลดต้นทุนฯ หนุน'ชาวสวนยาง'เพิ่มผลผลิต
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 27 มิ.ย. 2557 15:46


 


สกย.เร่งขับเคลื่อนการลดต้นทุนการผลิตภาคเกษตร หนุนเกษตรกรชาวสวนยางเข้าถึงปัจจัยการผลิตผ่านศูนย์เรียนรู้ยางพาราและแปลงผลิตพันธุ์ยาง ควบคู่การปรับใช้วัสดุในท้องถิ่นเพื่อลดค่าใช้จ่าย พร้อมเตรียมแผนระยะยาวปรับเปลี่ยนพันธุ์ยางเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้แก่เกษตรกร...


นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ได้เร่งดำเนินการตามนโยบายลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกร โดยกระบวนการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตของ สกย. ได้ใช้รูปแบบการอบรมเพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง การพัฒนาและส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม เพื่อจะได้สามารถบริหารจัดการผลผลิต และวัสดุการผลิตด้านการเกษตรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด โดยกิจกรรมหลักๆ ที่กำลังดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ 1. การจัดหาปัจจัยการผลิต ซึ่งจะมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตตามความจำเป็น โดยมีแหล่งผลิตวัสดุปลูก อาทิ ยางตาเขียว ยางชำถุง กล้าปาล์มน้ำมัน เป็นต้น บางส่วนอยู่ในศูนย์เรียนรู้ยางพาราและแปลงผลิตพันธุ์ยางจังหวัดต่างๆ ของ สกย.นอกจากนี้ยังจัดอบรมให้ชาวสวนยางสามารถทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง การใช้ปุ๋ยสั่งตัด หรือการผสมปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การผลิตยางชำถุง การผลิตต้นตอยางตาเขียว และส่งเสริมการดำเนินการผ่านกลุ่ม หรือสถาบันเกษตรกร เพื่อสร้างความร่วมมือและความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มชาวสวนยางในการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุน


2. การส่งเสริมอาชีพเสริม โดยมีนโยบายให้ทุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้ชาวสวนยางนำไปใช้ประกอบอาชีพเสริม โดยเฉพาะในช่วงที่ต้นยางยังไม่ให้ผลผลิต เช่น การปลูกพืชแซมและพืชร่วมยาง หรือการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในสวนยางพารา เพื่อใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์ สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ทำให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตได้ดีขึ้น 3. การใช้วัสดุในท้องถิ่นมาปรับใช้ในสวนยาง ด้วยการสนับสนุนให้เกษตรกรใช้วัสดุหาง่ายในท้องถิ่น เช่น ซังข้าวโพด เศษทะลายปาล์มน้ำมัน ฟางข้าว เป็นต้น มาใช้ประโยชน์ในสวนยางพาราที่เริ่มปลูก เช่น นำมาคลุมโคนต้นยางเฉพาะต้น หรือคลุมตลอดแถวยาง เพื่อช่วยป้องกันการรบกวนของวัชพืช และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการควบคุมวัชพืช แบบไม่พึ่งพาสารเคมี     


4. การส่งเสริมให้ใช้แรงงานในครัวเรือน ตามที่ สกย. มีนโยบายพัฒนาชาวสวนยางที่มีความชำนาญในอาชีพการทำสวนยาง เป็น"ครูยาง"ถ่ายทอดความรู้จากเพื่อนเกษตรกรสู่ชาวสวนยางด้วยกันเอง และมอบหมายให้ สกย.ทุกจังหวัด จัดการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่จำเป็น ถูกต้อง และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่แก่เกษตรกรชาวสวน ซึ่งเป็นการส่งเสริมการใช้แรงงานในครัวเรือน ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานลงอีกทางหนึ่ง


นอกจากนี้ยังมีโครงการในระยะยาว คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของชาวสวนยางด้วยการปรับเปลี่ยนพันธุ์ยางจากเดิมที่ให้ผลผลิต 270 กก./ไร่/ปี เป็นพันธุ์ RRIT 251 ซึ่งให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าปัจจุบัน ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรด้วย


นายประสิทธิ์ หมีดเส็น รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยอีกว่า สกย.ตระหนักดีว่าด้วยกระบวนการข้างต้น จะช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิตได้ทางหนึ่ง จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญการพัฒนาอาชีพการเกษตร พร้อมทั้งยังมีพื้นที่ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในการเสริมสร้างประสบการณ์ เพื่อให้เกษตรกรที่เข้าร่วมอบรมในโครงการ สามารถนำความรู้ไปต่อยอดและนำไปประยุกต์ใช้ได้ โดยครั้งแรกจัดฝึกอบรมเกษตรกรชาวสวนยางพาราในที่ว่างเปล่าในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลักสูตร "อาชีพเสริมในสวนยาง"ที่ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม และโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ จ.ชุมพร ระหว่างวันที่ 23 ? 27 มิถุนายน 57 นี้.