ผู้เขียน หัวข้อ: อีก 5 พันล้านคนสวนยางจะมีความสุข ?  (อ่าน 1822 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82609
    • ดูรายละเอียด

อีก 5 พันล้านคนสวนยางจะมีความสุข ?


สัปดาห์ที่ผ่านมาการแก้ปัญหายางพาราทั้งระบบ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ถือเป็นข่าวดีกับชาวสวนยางทั่วประเทศ


ต่อจากนี้โครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบปี 2557 วงเงิน 6,600 ล้านบาท ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้อนุมัติงบประมาณแล้วจำนวน 6,159 ล้านบาทเป็น โครงการปลูกยางทั้งระบบ จะครอบคลุมความช่วยเหลือเกษตรกร 100,000 ราย


ขณะนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะได้ประสานไปยังธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธกส. ให้เตรียมการโอนเงินก้อนดังกล่าวให้แก่เกษตรกรที่ได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติถูกต้องตามเงื่อนไขของโครงการฯ ได้ทันที


ส่วนวงเงินอีก 440 ล้านบาท ที่จะจ่ายให้แก่เกษตรกรที่อยู่ระหว่างพิสูจน์สิทธิ์การถือครองที่ดินที่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 31 กรกฎาคมนี้ ก็จะมีการเสนอ คสช.อีกครั้ง


โดยกลุ่มนื้เป็นเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ คือ กลุ่มที่ไม่มีแอกสารสิทธิ์ และกลุ่มที่บุกรุกป่าสงวน ในขณะที่งบประมาณที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาอนุมัติ 21,000 ล้านบาทได้หมดไปแล้ว โดยมีเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตกว่า 800,000 ราย ที่คสช.จะต้องพิจารณาอนุมัติงบประมาณเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ยังตกค้าง


แว่วว่าตอนนี้ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กำลังเดินสายให้ข้อมูลเครือข่ายชาวสวนยางระดับเขตทั่วประเทศ เพื่อแจ้งแนวทางการแก้ไขปัญหายางพาราระยะสั้น และระยะปานกลาง ของ คสช.


ถามว่าทำไมถึงอนุมัติถึง 6.6 พันล้านบาท


เรื่องมีอยู่ว่า นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะปฏิบัติงานหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำปัญหายางพารา ไปพูดคุยกับว่า พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. หลังจากเครือข่ายชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (คชยท.) เสนอมายัง คสช.ให้จ่ายเงินคงค้างให้กับเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับเงินให้ครบทุกราย เป็นเงินประมาณ 6.6 พันล้านบาท


พบว่า การแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาระยะสั้นนั้น รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้อนุมัติค่าปัจจัยการผลิต ไร่ละ 2,520 บาท แต่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ เพราะอนุมัติงบประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาทก็หมดไปแล้ว สำหรับสวนยางที่เปิดกรีดแล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่ รวม 8 ล้านไร่ แต่เมื่อลงทะเบียนและสำรวจแล้วพบว่ามีถึง 11 ล้านไร่ จำเป็นต้องขออนุมัติเพิ่มเติมดังกล่าว


เรื่องนี้ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ ทำรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการเพิ่มศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางพาราและแผนการขายยางทั้งหมด ทั้งงบกลางปี 2557 จำนวน 1,800 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าเช่าโกดัง ค่าประกันภัย และดอกเบี้ยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 1,200 ล้านบาท จนนำมาสู่การอนุมัติงบประมาณดังกล่าว


แต่เรื่องที่รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. ไม่พอใจ กลับเป็นการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางของกรมส่งเสริมการเกษตร เนื่องจากพบว่ามีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากกรอบวงเงินเดิมที่ทำให้ต้องของบเพิ่มอีก 6,000 ล้านบาท


?พล.อ.ฉัตรชัย ถึงกับกล่าวว่า หากได้ 6,000 ล้านบาท จะสามารถจ่ายให้เกษตรกรได้ครบหรือไม่ หรือจะต้องขอเพิ่มอีก?ข่าวอ้างคำพูดของรองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช.


สำหรับยอดคำร้องขอขึ้นทะเบียนเกษตรกร ที่รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. ไม่พอใจ สูงถึง 1.09 ล้านราย จากเป้าหมาย 0.99 แสนราย หรือเกินกว่าที่ประมาณการไว้ 9-10% โดยได้ทำการบันทึกข้อมูลแล้วประมาณ 0.58 แสนราย ตรวจพื้นที่เปิดกรีดยางพาราแล้วประมาณ 0.11 แสนครัวเรือน


มีข่าวว่า สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ให้ข้อมูลว่า คสช. แก้ไขปัญหาระยะสั้นแล้ว จะแก้ไขปัญหาระยะกลางด้วยการกู้เงิน 5 พันล้านบาท นำมาใช้ปรับปรุงการผลิตระดับต้นน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหายางพาราให้ชาวสวนยาง โดยคราวนี้จะไม่มีการแทรกแซงราคาตลาด เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกจุด แถมยังส่งผลให้มียางคงค้างสต๊อกอยู่ถึง 2.4 แสนตัน ต้องหาทางช่วยกันแก้ปัญหายางค้างในขณะนี้ เพื่อให้ส่งผลกระทบถึงชาวสวนยางน้อยที่สุด


วงเงิน 5 พันล้านบาท ในระยะกลางสำหรับการสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน ให้กับสถาบันเกษตรกรที่มีศักยภาพเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการปรับปรุงโรงงานแปรรูปยางที่จัดสร้างไว้แล้ว หรือลงทุนจัดสร้างโรงงานใหม่ในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ร่วมกับ ธ.ก.ส.ดำเนินการยกร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรตามแผนระยะปานกลางและระยะยาว


แต่ เรื่องนี้ต้องพิจารณากันใหม่อีกครั้ง


ส่วนอีกหลายข้อเสนอระหว่างที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาง เครือข่ายชาวสวนยาง หลายภาคส่วนเข้าหารือเมื่อเร็วๆนี้ กับพล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)


เช่น งบประมาณแก้ไขปัญหายางพาราระยะกลาง จำนวน 5,000 ล้านบาท ให้จัดตั้งโรงงานผลิตยางแท่งขององค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ที่ จ.นครพนม อุดรธานี ศรีสะเกษ ,ให้ อ.ส.ย.รับจ้างผลิต โดยคิดอัตราค่าจ้าง 3.50 บาทต่อกิโลกรัม ,ให้ชะลอ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย โดยปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันแทน หรือข้อเสนอต่อปัญหาสถานการณ์ราคายางต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราจัดเก็บเงินสงเคราะห์การทำสวนยาง (CESS) การเตรียมความพร้อมเรื่องยางพาราในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ฯลฯ


ทุกเรื่องถูกรับไว้เสนอหัวหน้า คสช.แล้ว รวมถึงคสช.ก็เห็นด้วยให้ชะลอการระบายยางพาราในสต็อก 2.1 แสนตัน ที่ก่อนหน้านี้ เนื่องจากการไต่สวนของศาลปกครองกลางวันที่ 28 พฤษภาคม 2557 ได้มีคำสั่งให้ชะลอการระบาย/ขายยางในสต๊อก 2.1 แสนตันไว้ก่อน โดยศาลมีความเห็นว่าคดีดังกล่าวนี้ทั้งสองฝ่ายยังพอตกลงและหาข้อยุติร่วมกันได้จึงยังไม่ตัดสิน และได้ขอให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบไปแก้ไขปัญหาราคายางที่ตกต่ำ


การจัดการยางในสต๊อก มีข้อเสนอมายัง คสช.เช่น กำหนดทีโออาร์ให้หน่วยงานรัฐใช้ยางภายในผสมทำถนนลาดยางทั้งประเทศผสม 5% เสนอให้หาแนวทางใช้ยางในประเทศเพิ่มจากเดิม 14% เป็น 30% และ ให้นำไปทำยางปูพื้นคอกปศุสัตว์ ฝ่ายยาง บล็อกปูพื้น โดยให้หน่วยงานของรัฐนำร่อง นำยาง 2.1 แสนตัน มาทำถนนลาดยาง กรวยจราจร สนามฟุตซอล สนามเด็กเล่น ฯลฯ เพื่อใช้ในประเทศและไม่ให้กระทบต่อราคายางของเกษตรกร


"เห็นด้วยที่จะนำยางพารามาใช้ทำถนน โดยต้องกำหนดไว้ในทีโออาร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติมากกว่าส่วนตน เช่นเดียวกับการแปรรูปอย่างอื่นๆ เช่น สนามฟุตซอล สนามเด็กเล่น ลู่วิ่งในสนามกีฬา แผ่นยางคอกปศุสัตว์ เขื่อนยาง กรวยจราจร แบริเออร์ บังเกอร์ ควรใช้ยางในสต็อก 210,000 ตันมาใช้แทนการระบายออกสู่ตลาด"พล.อ.ยอดยุทธ ระบุ


ประชุมไม่กี่วัน มีข่าวว่า ?คณะทำงานจัดทำแนวทางการบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบอย่างมีเอกภาพ? กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สนอเรื่องมาปลัดกระทรวงฯ แล้ว เพื่อจัดทำแผนจัดการยางพาราในสต๊อกรัฐ 210,000 ตัน เพื่อไม่ให้กระทบกับราคายางในตลาด


โดยนำยางในสต๊อกรัฐออกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น นำมาผสมกับยางมะตอยยางราดถนน และทำบล็อกยางปูพื้น ซึ่งจะใช้ยางในสต๊อกได้รวม 207,280 ตัน หรือใช้ยางในสต๊อกได้เกือบทั้งหมด แต่มีค่าใช้จ่ายประมาณ 19,118 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับเงินที่รัฐใช้รับซื้อยางไปทั้งสิ้น 22,000 ล้านบาท


ทั้งนี้ ภายใต้แผนจัดการยางดังกล่าวจะมีการประสานหน่วยงานราชการให้เข้ามามีส่วนร่วมเช่น กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบทได้ให้ความเห็นชอบในเบื้องต้นแล้ว หากสามารถใช้ในการซ่อมบำรุงและราดถนนได้ 30,000 กิโลเมตรจะใช้ยางพารารวม 99,000 ตัน วงเงิน 6,930 ล้านบาท


ส่วนการทำบล็อกยางปูพื้น หากสามารถนำไปใช้ประโยชน์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล 5,000 แห่ง แห่งละ 100 ตารางวา จะใช้ยางรวม 5,000 ตัน มีค่าใช้จ่ายทำบล็อกยาง 550 ล้านบาท การทำทางเท้าในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด 77 จังหวัด จังหวัดละ 80,000 ตารางเมตร จะใช้ยางรวม 61,600 ตัน เป็นต้น


งบประมาณ 6,159 ล้านบาทเป็น โครงการปลูกยางทั้งระบบ จะครอบคลุมความช่วยเหลือเกษตรกร 100,000 ราย แต่หากชาวสวนยาง ได้รับการช่วยเหลือ ระยะกลางด้วยการกู้เงิน 5 พันล้านบาท นำมาใช้ปรับปรุงการผลิตระดับต้นน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาโดยจะไม่มีการแทรกแซงราคาตลาด


น่าจะเป็นแผนคืนความสุขให้กับชาวสวนยางที่ลงทะเบียนมากกว่า 1 ล้านราย ต่อจากคืนความสุขให้กับชาวนา!!!


ที่มา : ASTV ผู้จัดการออนไลน์ (วันที่ 28 มิถุนายน 2557)