ผู้เขียน หัวข้อ: ช็อก!! ?เซฟสกิน? ทุนอเมริกาในอุตฯ ยางยักษ์ใหญ่ภาคใต้ประกาศเลิกกิจการ ลอยแพแรงงานกว่า 3 พัน  (อ่าน 1797 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82613
    • ดูรายละเอียด

ช็อก!! ?เซฟสกิน? ทุนอเมริกาในอุตฯ ยางยักษ์ใหญ่ภาคใต้ประกาศเลิกกิจการ ลอยแพแรงงานกว่า 3 พัน




ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ -โรงงาน ?เซฟสกิน? บริษัทผลิตถุงมือยางยักษ์ใหญ่ ใน ต.ทุ่งลุง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา แจ้งปิดดำเนินการถาวร หลังเปิดโรงงานผลิตถุงมือยางมานานกว่า 16 ปี อ้างเหตุผลขาดทุนยับจากน้ำท่วมโรงงาน ปี 2553 ขณะที่พนักงานกว่า 3 พันคน กำลังวิตกกับอนาคต และลุ้นว่าจะมีกลุ่มทุนรายใหม่เข้ามารับช่วงต่อหรือไม่ ขณะที่นักอนุรักษ์เผย 16 ปีของ ?เซฟสกิน? ทำลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ตกอยู่ในสภาพทรุดโทรมอย่างหนักจากน้ำเสีย
รายงานข่าวจากพนักงานประจำสายพานการผลิต โรงงานผลิตถุงมือยาง บริษัท เซฟสกิน เมดดิคอล แอนด์ ไซแอนทิฟิก (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่ 119 หมู่ 8 กาญจนวนิช ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ สงขลา เปิดเผยต่อ ?ASTV ผู้จัดการภาคใต้? ว่า เมื่อวันพุธที่ 23 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา
พนักงานได้รับหนังสือจากฝ่ายบริหารงานบุคคลของบริษัท แจ้งเป็นการภายในว่า บริษัทจะปิดดำเนินการอย่างถาวร เนื่องจากที่ผ่านมาประสบภาวะขาดทุนจากปัญหาอุทกภัย เมื่อปลายปี 2553 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 พ.ท.สุปรีชา ชลสาคร ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท เซฟสกิน เมดดิคอล แอนด์ ไซแอนทิฟิค (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในส่วนของโรงงานที่ตั้งอยู่ที่ ต.ทุ่งลุง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มีระดับน้ำท่วมสูงถึง 2-3 เมตร ส่งผลให้โรงงานได้รับความเสียหายอย่างหนัก คิดเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท ต้องปิดปรับปรุงโรงงานนานร่วม 1 เดือน
บริษัท เซฟสกิน เมดดิคอล แอนด์ ไซแอนทิฟิก (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างไทย และสหรัฐฯ ก่อตั้งในปี 2541 ทุนจดทะเบียน 696.25 ล้านบาท ดำเนินธุรกิจผลิตและส่งออกน้ำยางข้น และถุงมือยางทางการแพทย์ ได้รับส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ครั้งแรกในปี 2540 และได้มีการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง จนล่าสุด ในปี 2550 ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากโครงการขยายกำลังการผลิตถุงมือยางเพิ่มเป็น 1,656 ล้านชิ้น มูลค่าการลงทุน 1,125 ล้านบาท
ตลอดระยะเวลาที่บริษัทในเครือเซฟสกิน เข้ามาเปิดโรงงานผลิตถุงมือยาง ในทำเลที่ติดกับคลองอู่ตะเภา เกิดปัญหาการร้องเรียนจากชาวบ้านมาอย่างต่อเนื่องว่า หลังโรงงานแห่งนี้มาเปิดกิจการก็เกิดปัญหาน้ำเสียตามมา จนปัจจุบันลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา 1 ใน 25 ลุ่มน้ำสำคัญของประเทศ กำลังอยู่ในสภาวะวิกฤต และอยู่ในขณะวางแผนฟื้นฟูของหลายหน่วยงาน
ขณะที่เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา ชาวบ้านตำบลปริก และตำบลสะเดา จังหวัดสงขลา กว่า 500 คน ประท้วงปิดถนนสายหลักเส้น หาดใหญ่-สะเดา หน้าบริษัท เซฟสกิน เมคดิคอล แอนด์ ไซเอนทิฟิก (ประเทศไทย) จำกัด เรียกร้องให้โรงงานเลิกใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เป็นผลมาจากนโยบายของรัฐบาลขณพะนั้นที่ให้มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในโรงงานได้ ซึ่งสำหรับเซฟสกิน กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้อนุญาตให้ทดลองใช้ได้ 6 เดือน และได้เกิดกระแสต่อต้านอย่างรุนแรงจากคนในพื้นที่ที่กังวลต่อเรื่องผลกระทบต่างๆ จากโรงงาน
แหล่งข่าวในเครือข่ายคนรักษ์คลองอู่ตะเภา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ระบุว่า หากโรงงานจะปิดตัวจริงก็นับว่าปัญหาผลกระทบที่โรงงานสร้างไว้กับลุ่มน้ำอู่ตะเภา ได้ถึงเวลายุติลงเสียที และต้องมาดูว่าภาครัฐจะเข้ามาจัดการวางแผนฟื้นฟูอย่างไร
?กว่า 16 ปีที่ผ่านมา โรงงานอุตสาหกรรมนับพันแห่งที่เข้ามาตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ทั้งใน อ.หาดใหญ่ อ.คลองหอยโข่ง อ.นาหม่อม และ อ.สะเดา ทำให้สิ่งแวดล้อมของแหล่งน้ำธรรมชาติได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อนน้ำเสีย และสารเคมีต่างๆ มากมาย แม้เซฟสกิน จะปิดตัวแต่ผลกระทบจากโรงงานที่เหลือก็ยังไม่หมดไปง่ายๆ และหากจะมีกลุ่มทุนใหม่เข้ามาดำเนินการต่อก็ควรมีการตรวจสอบระบบป้องกันต่างๆ ของโรงงาน เช่น บ่อบำบัดน้ำเสียอย่างจริงจัง?
นางสมฤดี หนูเอียด ชาว อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดเผยว่า ทำงานที่โรงงานเซฟสกินมาตั้งแต่เปิดโรงงาน ก่อนหน้านี้ไม่มีกระแสข่าวว่าโรงงานจะปิด ระบบการผลิตถุงมือยางยังดำเนินการไปตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้พนักงานมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำงานล่วงเวลา
?บริษัทไม่มีวี่แววมาก่อนว่าจะปิดถาวร จู่ๆ เมื่อมีการปิดประกาศให้พนักงานทราบ หลายคนก็รู้สึกช็อก เพราะไม่รู้ว่าจะไปทำงานอะไรต่อ รอดูว่าจะมีทุนใหม่มารับช่วงต่อถ้ามีงานทำได้ก็อาจทำต่อเพราะยังไม่รู้ว่าจะไปทำอะไรดี การประกาศแบบนี้ทำให้พนักงานจะไม่ได้รับเงินที่เรียกว่าค่าปลอบใจ เพราะบริษัทแจ้งล่วงหน้าก่อน 6 เดือนตามกฎหมาย ส่วนอย่างอื่นก็เป็นไปตามระเบียบบริษัท คือ จ่ายเงินชดเชยให้ตามกฎหมาย แต่หักเงินภาษี 5 เปอร์เซ็นต์?
ที่มา จัดการออนไลน์ ประจำวันที่ 2 กรกฎาคม 2557