ผู้เขียน หัวข้อ: เบรกเกษตรไถ8พันล.รับซื้อ'ยาง' อุ้มเอกชน ปูด'อำนวย' มัดมือชก สั่ง'อสย.'ลุยล่วงหน้า  (อ่าน 897 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82473
    • ดูรายละเอียด
เบรกเกษตรไถ8พันล.รับซื้อ'ยาง' อุ้มเอกชน ปูด'อำนวย' มัดมือชก สั่ง'อสย.'ลุยล่วงหน้า


            เบรกเกษตรไถ8พันล.รับซื้อ?ยาง?อุ้มเอกชนปูด?อำนวย?มัดมือชกสั่ง?อสย.?ลุยล่วงหน้า


วันที่ 10 กุมภาพันธ์ มีรายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า ตามที่ นายอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรและสหกรณ์ เตรียมเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมอีกกว่า 8,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพยางพารา โดยการประมูล แต่ปรากฏว่าสำนักเลขาธิการ ครม. ได้ประสานขอให้เลื่อนการเสนอวาระดังกล่าวออกไปเป็นการประชุมในสัปดาห์หน้า หรือวันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์แทน เนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ติดภารกิจเดินทางไปต่างประเทศ และต้องการให้มีการเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ให้ความเห็นชอบก่อน ทำให้การประชุม ครม. ที่มีขึ้นในวันเดียวกันนี้ ยังไม่มีการเสนอเรื่องดังกล่าวให้พิจารณา


อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวระบุด้วยว่า ได้เกิดความไม่ชอบมาพากลขึ้นมาในการเสนอขออนุมัติงบประมาณดังกล่าว เนื่องจากก่อนหน้านี้ นายอรุณ เลิศวิไล กรรมการบริหารกิจการ องค์การสวนยาง (อสย.) ปฎิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ อสย. ได้ทำหน้งสือที่ กษ.1602/174 ลงวันที่  9  กุมภาพันธ์  ถึง นายอำนวย เพื่อขอชะลอการเข้าประมูลยางตามโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชน รักษาเสถียรภาพราคายางพารา โดยการประมูลยางประกอบด้วยยางแผ่นรมควันไม่อัดก้อน ยางแผ่นรมควันอัดก้อน ยางแท่งSRT20 และยางแผ่นดิบ ผ่านกลไกตลาดยางพาราและเครือข่าย ตามที่ครม.อนุมัติงบประมาณให้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2557 จำนวน 6,000 ล้านบาทไปหมดแล้ว โดยมีปริมาณยางที่ประมูลได้ทั้งหมด 97,816.38 ตัน ทำให้ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 อสย.จะไม่มีงบประมาณดำเนินการเรื่องดังกล่าวต่อไป จึงจำเป็นต้องชะลอการประมูลออกไปก่อน จนกว่าจะได้รับอนุมัติงบประมาณก้อนใหม่เพิ่มเติมจาก ครม.


แต่ทั้งนี้ นายอำนวย ได้สั่งการโดยเขียนเป็นลายมือลงในท้ายหนังสือดังกล่าวกลับไปยัง อสย. ว่า ขณะนี้ยางยังไม่เพียงพอตามสัญญา 2 แสนตัน จึงให้อสย.เข้าประมูลตามปกติของโครการ โดยแจ้งให้ผู้ขายทราบว่า การชำระเงินอาจล้าช้า เพราะอยู่ระหว่างขออนุมัติจาก ครม.


รายงานข่าวระบุว่า การสั่งการในลักษณะดังกล่าวของ นายอำนวย อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำโดยมิชอบ และถือเป็นเรื่องที่ผิดปกติมาก เนื่องจากตามกฎหมาย การจะดำเนินโครงการใดๆ ที่ต้องใช้งบประมาณจะต้องผ่านการอนุมัติจาก ครม.ก่อนถึงจะสามารถดำเนินการต่อได้ แต่เรื่องนี้ยังไม่ได้รับความเห็นชอบ นายอำนวย กลับสั่งให้ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งหากต่อไปครม.ไม่อนุมัติก็อาจมีปัญหาตามมาได้อีก จึงเท่ากับเป็นการบีบให้ครม.ต้องอนุมัติให้มีการดำเนินการตาม


นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า การเสนอครม.ครั้งนี้ แทนที่จะเป็นการเสนอมาตรการแก้ปัญหาราคาในส่วนน้ำยางดิบและยางแผ่นดิบ เนื่องจากเกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ขายยางชนิดดังกล่าวและกำลังประสบปัญหาขาย ไม่ได้ราคาอยู่ในขณะนี้ แต่ นายอำนวย กลับไม่ยอมเสนอมาตรการใดๆ มาแก้ไข โดยให้เดินหน้าซื้อยางแผ่นรมควันชั้น 3 และยางแท่งเหมือนเดิม


?ไม่ทราบว่า กระทรวงเกษตรฯ กำลังทำอะไรกันอยู่ เพราะยางที่เกษตรกรขายมีเพียงน้ำยางสดและยางแผ่นดิน ซึ่งยังราคาต่ำ แต่ นายอำนวย กลับสั่งให้ อสย. ซื้อยางในตลาดกลางอีก ซึ่งคนที่นำมาขายส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าและผู้ส่งออก เกษตรกรที่ไหนจะเอายางมาขายในตลาดกลางได้เป็นวันละ 3,000 ตัน มีแต่พ่อค้าเท่านั้นที่ทำได้ และจะมีเกษตรกรที่ไหน มีโรงอบ เขาไม่มี ถามว่าตอนนี้ รัฐบาลช่วยใคร ตอนนี้ซื้อยางช่วยพ่อค้าเก็บแล้ว 97,000 ตัน ไม่พอ จะซื้อให้ได้อีก 200,000 ตัน ตกลงเขาช่วยใคร และแปลกที่ นายอำนวย กล้ามากที่สั่งให้ อสย. เดินหน้าซื้อต่อทั้งที่ ครม.ยังไม่อนุมัติเงิน จึงควรต้องมีการตรวจสอบว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่?


รายงานข่าวระบุด้วยว่า จากการตรวจสอบสต๊อกยางของรัฐบาลเวลานี้พบว่า มีมากกว่า 300,000 ตันแล้ว จากยางที่ค้างสต๊อกอยู่เดิม 2.1 แสนตัน ซึ่งแม้จะมีการทำสัญญาขายกับเอกชนของจีน แต่กลับระบายได้เพียง 8,000 ตันเท่านั้น และที่ระบายได้ก็เป็นยางเก่าที่เอกชนกดราคารับซื้อในราคาไม่เกิน 40 บาทต่อกิโลกรัม เนื่องจากมีการแอบทำสัญญาแทบท้ายให้สามารถปรับลดราคาตามคุณภาพยางได้ ส่งผลให้มีการรับซื้อเฉพาะยางคุณภาพต่ำ จนกลายเป็นการกดราคารับซื้อในประเทศ นอกจากนี้ยังมียางใหม่จากโครงการมูลภัณฑ์กันชนอีก 97,000 ตัน ที่ใช้งบประมาณอีก 6,000 ล้านบาทซื้อเข้ามา ทำให้ในระยะยาวอาจมีปัญหาราคาตามมาได้ หากไม่เร่งดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน


ส่วนกรณีการแอบทำสัญญาแนบท้ายการซื้อขายยาง 2.1 แสนตันนั้น รายงานข่าวแจ้งว่า ตามหลักการ หากหน่วยงานรัฐมีการทำสัญญาลงนามใดๆ ที่ไม่ใช่สัญญาโดยปกติและเกิดผลผูกพันตามมา จะต้องส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้ตรวจร่างสัญญา เพื่อไม่ให้รัฐบาลเสียเปรียบ แต่จากการตรวจสอบเชิงลึกพบว่า อสย. ในฐานะผู้ทำสัญญากับเอกชนจีน ส่งเพียงเอกสารหลักให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบเท่านั้น ไม่ได้ส่งเอกสารแนบท้ายไปด้วย โดยมีการสอดไส้สัญญาในระหว่างลงนาม ทำให้รัฐเสียเปรียบอย่างมาก เบื้องต้น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนากรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งการให้เลขานุการส่วนตัวมาขอเอกสารแนบท้ายที่เป็นปัญหาจาก อสย. ไปตรวจสอบแล้ว ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบกันต่อไปว่าจะมีผลสรุปเช่นไร


ที่มา หนังสือพิมพ์แนวหน้า (11/02/2558)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 11, 2015, 09:43:11 AM โดย Rakayang.Com »