ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 1085 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82486
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559


ปัจจัย
วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ
- บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนน้อย เว้นแต่ภาคตะวันออกมีแนวโน้มฝนตกเพิ่มขึ้น ส่วนภาคใต้มีฝน ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ทาให้หลายพื้นที่กรีดยางได้เพิ่มขึ้น


2. การใช้ยาง
- สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ของยุโรป หรือ ACEA เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม ของอิตาลีเพิ่มมากที่สุดในบรรดาตลาดหลัก ๆ ของEU โดยขยายตัวถึงร้อยละ 27.0 ฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 สเปนเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.0 เยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 และ สหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 โดยยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ใน EU เพิ่มเป็น 1.3 ล้านคัน ในเดือนพฤษภาคม สูงกว่าช่วงเดียวกัน ของปีที่แล้วที่มีเพียง 1.1 ล้านคัน

3. สต๊อกยาง
- สต๊อกยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2559 มีจานวน 9,104 ตัน ลดลง 115 ตัน หรือลดลงร้อยละ 1.25 จากสต๊อกเดิม 9,219 ตัน ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2559
- สต๊อกยางจีน ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2559 มีจานวน 320,173 ตัน เพิ่มขึ้น 3,435 ตัน

4. เศรษฐกิจโลก
- สถาบัน IfO ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ทางสถาบันอาจจะปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเยอรมนีในปีนี้เป็นร้อยละ 1.8 จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.6
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า สินทรัพย์ของภาคครัวเรือนญี่ปุ่น ณ สิ้นสุดเดือนมีนาคม ปรับตัวลงร้อยละ 0.6 สู่ระดับ 1,706 ล้านล้านเยนเทียบรายปี เนื่องจากผลกระทบของเงินเยนที่แข็งค่า และตลาดหุ้นที่ร่วงลงอย่างหนัก
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยว่า ยูโรโซนมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 3.62 หมื่นล้านยูโร ในเดือนเมษายน ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม มีเกินดุล 2.63 หมื่นล้านยูโร
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศอัดฉีดเงิน 2.50 แสนล้านหยวน (3.85 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เข้าสู่ตลาดเมื่อวานนี้ เพื่อบรรเทาสภาพคล่องที่ตึงตัวโดย PBOC อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบธนาคาร 4 หมื่นล้านหยวนในวันศุกร์และ 3 หมื่นล้านหยวนในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยว่า ได้คาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 2.1 ในไตรมาส 2 โดยต่ากว่าระดับร้อยละ 2.4 ที่คาดการณ์ไว้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ส่วนไตรมาส 3 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 2.1 โดยต่ากว่าระดับร้อยละ 2.2 ที่คาดการณ์ไว้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน หลังจากเปิดเผยข้อมูลภาคการผลิต ที่ซบเซาภายในประเทศ
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ ระยุว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีการขยายตัวที่ระดับต่าต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทาให้เฟดไม่มีความจาเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 1 ครั้ง เป็นเวลานานถึง 2 ปีครึ่ง หรือจนกว่าจะผ่านพ้นปี 2561
- รัฐบาลญี่ปุ่นได้คงการประเมินเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยระบุว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวปานกลาง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ปรับลดมุนมองผลกาไรของบริษัทเอกชน เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงและเงินเยนแข็งค่า


5. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.04 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 104.60 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.01 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมกับให้คามั่นว่าจะมีการดาเนินการ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าจาเป็น


6. ราคาน้ามัน
- สัญญาน้ามันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymax ส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 ปิดตลาดที่ 47.98 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.77 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยได้รับแรงหนุนจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลง รวมถึงความเป็นไปได้ที่ชาวอังกฤษอาจตัดสินใจอยู่กับสภาพยุโรปในการ ลงประชามติวันที่ 23 มิถุนายน นี้
- สัญญาน้ามันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 เพิ่มขึ้น 1.98 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดตลาดที่ 49.17 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- รัฐมนตรีคลังรัสเซีย คาดการณ์ว่า ราคาน้ามันเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในปีหน้า ทั้งนี้ การลดลงของราคาน้ามันและมาตรการคว่าบาตรจากชาติตะวันตกทาให้เศรษฐกิจรัสเซีย ซึ่งพึ่งทางการส่งออกทรัพยากรพลังงานอย่างมาก นั้น เข้าสู่ภาวะถดถอย โดย GDP ของรัสเซียหดตัวร้อยละ 3.7 ในปี2558


7. การเก็งกาไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 157.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2559 อยู่ที่ 155.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 5.2 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 153.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 5.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


8. ข่าว
- สานักงานสถิติของจีน (NBS) รายงานว่า ตลาดที่อยู่อาศัยของ่จีนยังคงฟื้นตัวในเดือนพฤษภาคม แต่ในอัตราที่ชะลอตัวลง
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือนพฤษภาคม สู่ระดับ 1.16 ล้านยูนิต ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 1.15 ล้านยูนิต


9.ข้อคิดเห็นของประกอบการ - ราคายางปรับตัวสูงขึ้น เพราะโดยภาพรวมแล้วปริมาณยางเพิ่มขึ้นน้อยมาก บางพื้นที่ยังมีฝน ไม่เพียงพอ กรีดยางได้แต่ผลผลิตน้อย จึงมองว่าราคายางในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูงไปอีกระยะหนึ่ง เมื่อเทียบกับตลาดล่วงหน้า จนกว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นสู่ภาวะปกติ


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงตามตลาดโตเกียวและราคาน้ามัน ประกอบกับนักลงทุนคลายความวิตกกังวลหลังจากผลสารวจฝ่ายสนับสนุนให้สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ต่อไป มีคะแนนนา ก่อนที่ การลงประชามติจะมีขึ้นในวันที่ 23 มิถุนายน 2559 นี้ นอกจากนี้ ราคายางยังมีปัจจัยหนุนจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นน้อย และผู้ประกอบการในประเทศยังมีความต้องการซื้ออย่างต่อเนื่อง


สานักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา การยางแห่งประเทศไทย