ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 1039 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82488
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559


ปัจจัย
วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ
- บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ ทางตอนบนของภาค ตั้งแต่จังหวัดชุมพร จนถึงสงขลา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่

2. การใช้ยาง
- สมาคมผู้ปลูกยางอินเดีย แสดงความกังวลเกี่ยวกับท่าทีของอุตสาหกรรมยางต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายการนาเข้าและส่งออก (Exim policy) ที่รวมถึงการลดอัตราภาษีนาเข้ายางภายใต้มาตรการโควตาภาษี (TRQ) โดยเลขาธิการสมาคม กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตามเพื่อลดภาษีการนาเข้า จะทาให้ราคายางและการผลิตยางลดลงอย่างรวดเร็ว โดยต้นทุนการผลิตยางอยู่ที่ 160 รูปีต่อกิโลกรัม แต่เกษตรกรมีรายได้จากการผลิตเพียง 130 รูปีต่อกิโลกรัม ดังนั้น การนาเข้ายางภายใต้มาตรการโควตาภาษีอาจเป็นหายนะที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกร

3. เศรษฐกิจโลก
- กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดส่งออกเดือนพฤษภาคม ลดลงร้อยละ 11.3 เทียบรายปี เนื่องจากอุปสงค์สินค้าส่งออกของญี่ปุ่นชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากการแข็งค่าของเงินเยน และเศรษฐกิจที่ซบเซาในกลุ่มตลาดเกิดใหม่
- นักเศรษฐศาสตร์จากมอร์แกนสแตนลีย์ เตือนว่า เศรษฐกิจโลกอาจจะเผชิญภาวะถดถอยรุนแรงเหมือนกับที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1930 ซึ่งมีสาเหตุมาจากหนี้สินที่สูงขึ้น ปัญหาเงินฝืดและ อัตราผลตอบแทนที่ลดน้อยลง
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศอัดฉีดเงิน 1.7 แสนล้านหยวน เข้าสู่ตลาดเมื่อวานนี้ เพื่อเสริมสภาพคล่อง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ธนาคารกลางเข้าซื้อหลักทรัพย์จากธนาคารพาณิชย์ด้วยข้อตกลงที่จะ ขายคืนในอนาคต
- สานักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี เปิดเผยว่า ราคาผู้ผลิตของเยอรมนีปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากราคาพลังงานปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบรายเดือน อย่างไรก็ตามราคาผู้ผลิตเดือนพฤษภาคม ยังคงต่ากว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วอยู่มาก โดยราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดือนเมษายน แต่ลดลงร้อยละ 2.7 จากเดือนพฤษภาคม ปีที่แล้ว
- ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า เขาเริ่มเห็นผลกระทบในแง่บวกต่อจากเศรษฐกิจที่แท้จริงของญี่ปุ่นที่เกิดจากการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ เนื่องจากนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบถือเป็นช่วงใหม่ในตอนแรกก็มีความสับสนและความไม่แน่นอน แต่กรอบนโยบายก็เป็นที่เข้าใจกันและ เริ่มส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจ

4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.22 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.02 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 104.11 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.49 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- อดีตรัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า หากค่าเงินเยนพุ่งทะลุ 100 เยน ธนาคารกลางญี่ปุ่นก็อาจจะ เข้าแทรกแซง แต่ในการแทรกแซงตลาดต้องได้รับความเห็นชอบจากสหรัฐฯ แต่หากทะลุ 100 เยน และยังพุ่งไปสู่ระดับ 90 เยน ก็มีความเป็นไปได้ที่เจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นอาจจะเห็นชอบให้เข้าแทรกแซง

5. ราคาน้ามัน
- สัญญาน้ามันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymax ส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 ปิดตลาดที่ 49.37 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.39 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับการประชามติในอังกฤษ หลังจากผลสารวจชาวอังกฤษที่สนับสนุนให้สหราชอาณาจักรอยู่ในสหภาพยุโรป (EU) ต่อไปนั้น มีมากกว่าผู้ที่สนับสนุนให้แยกตัวออกจาก EU
- สัญญาน้ามันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 เพิ่มขึ้น 1.48 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดตลาดที่ 50.65 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกาไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 157.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2559 อยู่ที่ 155.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.8 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 157.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว
- สานักงานสถิติของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า อัตรางานว่างปรับตัวขึ้นสู่ระดับร้อยละ 1.7 ในยูโรโซน ในไตรมาสแรก จากระดับร้อยละ 1.6 ทั้งในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว และไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ส่วนในสหภาพ (EU) นั้น อัตรางานว่างเพิ่มขึ้นสู่ระดับร้อยละ 1.8 ในไตรมาสแรกจากระดับร้อยละ 1.7 ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว และไตรมาสแรกของปีที่แล้ว
- ตลาดหลักทรัพย์ในญี่ปุ่น รายงานว่า สัดส่วนการถือครองหุ้นญี่ปุ่นของนักลงทุนต่างชาติ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2515 ลดลงร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ สู่ระดับร้อยละ 29.8 ซึ่งการลดลงดังกล่าวนับเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัว ของเศรษฐกิจจีนและการทรุดตัวของราคาน้ามัน

8.ข้อคิดเห็นของประกอบการ - ราคายางน่าจะปรับตัวสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศ ที่ขาดแคลนยางเพื่อส่งมอบ ขณะที่ผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดน้อยมากเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยมีปัจจัยบวกมาจากราคาน้ามันปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้น และนักลงทุนขานรับธนาคารกลางจีนประกาศอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสภาพคล่อง ประกอบกับตลาดคลายความกังวลหลังจากผลสารวจบ่งชี้ว่าชาวอังกฤษอาจจะยังคงเป็นสมาชิกภาพ ของสหภาพยุโรป (EU) ต่อไป รวมทั้งปริมาณผลผลิตยังคงเพิ่มขึ้นน้อยจากภาวะฝนตกในหลายพื้นที่ปลูกยางของไทย อย่างไรก็ตาม ราคาชี้นาตลาดโตเกียวที่ผันผวนจากการแข็งค่าของเงินเยนยังเป็นปัจจัยกดดันราคายางได้ในระดับหนึ่ง

สานักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา การยางแห่งประเทศไทย