ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 1027 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82486
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559



ปัจจัย วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ
- ทุกภาคของประเทศยังคงมีฝนตกและตกหนักบางแห่ง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 60 ของ
พื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง - ข้อมูลการผลิตยางธรรมชาติของคณะกรรมการยางอินเดียพบว่า อินเดียผลิต
ยางธรรมชาติแตะระดับต่ำสุดในรอบ 20 ปี โดยผลิตได้ 562,000 ตัน ในปี 2558 - 2559
ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่ผลิตได้ 645,000 ตัน หรือลดลงร้อยละ 12.9 ขณะที่การใช้
ยางธรรมชาติรวมอยู่ที่ 992,235 ตัน ทำให้ต้องนำเข้ายางจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ยางในประเทศ โดยมีการนำเข้า 454,000 ตัน เพิ่มขึ้นจาก
442,130 ตัน ในปี 2557 - 2558 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
เปิดเผยว่า เดือนพฤษภาคม 2559 รถยนต์สำเร็จรูปส่งออกได้ 99,547 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ
11.93 จากเดือนพฤษภาคม 2558


3. เศรษฐกิจโลก
- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเยอรมัน
เดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นแตะ 19.2 จุด จาก 6.4 จุดในเดือนพฤษภาคม ผิดไปจากที่
นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าดัชนีจะปรับตัวลดลง
- การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) รายงานว่า กระแส
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ทั่วโลก มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.0 สู่ระดับ
1.76 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงก่อนเกิด
วิกฤตการณ์ปี 2550
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้เข้าแถลงนโยบายการเงินและรายงานเศรษฐกิจ
รอบครึ่งปีต่อคณะกรรมาธิการธนาคารประจำวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ
กำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนหลายประการ ทำให้เฟดจำเป็นต้องดำเนินการอย่าง
ระมัดระวังเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และยังเตือนว่าการลงประชามติในอังกฤษ
อาจส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้แสดงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึง
การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และการลงประชามติในอังกฤษเกี่ยวกับการถอนตัวจาก
สหภาพยุโรป (Brexit)
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า หากอังกฤษตัดสินใจถอนตัวจากสหภาพ-
ยุโรป (EU) ตลาดจะอยู่ในบรรยากาศการเทขายสินทรัพย์เสี่ยง และหันเข้าซื้อสินทรัพย์
ปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลให้เงินดอลล่าร์สหรัฐ ฟรังก์สวิส และเงินเยน แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ดี
ประธานเฟดไม่เชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยมีสาเหตุมาจากอังกฤษ
ถอนตัวจาก EU
- ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า การขยายตัวของยูโรโซนกำลังได้แรงหนุน
มากขึ้น แต่ความไม่แน่นอนก็อยู่ในระดับสูง ขณะที่แนวโน้มเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ
ดังนั้น ECB พร้อมที่จะดำเนินการหากมีความจำเป็น



4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.03 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 104.45 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.34 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่
48.85 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.52 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุน
เทขายทำกำไรหลังจากราคาน้ำมันพุ่งขึ้นติดต่อกัน 2 วันทำการ นอกจากนี้นักลงทุนยังคง
กังวลเกี่ยวกับการลงประชามติในอังกฤษเพื่อชี้ชะตาว่าชาวอังกฤษจะเลือกอยู่ในสหภาพ-
ยุโรปหรือไม่
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 ปิดตลาดที่
50.62 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ลดลง 0.03 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล


6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 156.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.6 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 153.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เยน
ต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 158.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว - ผลสำรวจของ Survation พบว่า กลุ่มที่สนับสนุนให้อังกฤษยังคงรวมตัวกับสหภาพยุโรป
(EU) ต่อไปได้สูญเสียคะแนนนำต่อฝ่ายที่สนับสนุนการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป
(Brexit) โดยผลสำรวจระบุว่า กลุ่มที่สนับสนุนให้อังกฤษยังคงรวมกับ EU มีร้อยละ 45
ขณะที่กลุ่มที่ต้องการให้อังกฤษแยกตัวมีร้อยละ 44 จากผลสำรวจก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า
กลุ่มที่สนับสนุนมีร้อยละ 45 ขณะที่กลุ่มที่ต้องการแยกตัวมีร้อยละ 42


8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นได้อีก เพราะปริมาณผลผลิตมีน้อยจากภาวะฝนตกและบางพื้นที่
ก็ขาดแคลนแรงงานกรีดยาง ทำให้ผู้ประกอบการขาดแคลนยางในระยะนี้ จึงยังมีการ
แข่งขันซื้อสูง


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า รวมทั้งราคาน้ำมัน
เปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับนักลงทุนขานรับการที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีความเชื่อมั่นว่า
เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย แม้อังกฤษถอนตัวออกจาสหภาพยุโรป (EU) ขณะที่นักลงทุนมีมุมมอง
เป็นบวกว่าในวันพรุ่งนี้ (23 มิถุนายน 2559) ชาวอังกฤษจะลงมติให้สหราชอาณาจักรยังคงอยู่ใน EU ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งรวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ยังเป็นปัจจัยที่กดดัน
ราคายางได้ในระดับหนึ่ง



สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา