ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 1050 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82486
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559


ปัจจัย วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ - ทั่วประเทศยังคงมีฝนตกร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะ
ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา
ภูเก็ต และกระบี่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง

2. การใช้ยาง - รายงานของสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ หรือ ANRPC ระบุว่า เวียดนามยังคงรั้ง
ตำแหน่งผู้นำด้านผลิตภาพการผลิตยางธรรมชาติ โดยปี 2558 ผลิตภาพการผลิตเฉลี่ย
อยู่ที่ 1,659 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ รองลงมาคือ ไทย (1,522 กิโลกรัม) อินเดีย (1,471
กิโลกรัม) มาเลเซีย (1,410 กิโลกรัม) กัมพูชา (1,140 กิโลกรัม) จีน (1,117 กิโลกรัม) และ
อินโดนีเซีย (1,043 กิโลกรัม) โดยประเทศศรีลังกามีผลิตภาพการผลิตยางต่ำสุดอยู่ที่ 744
กิโลกรัม

3. เศรษฐกิจโลก - ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศอัดฉีดเงิน 1.5 แสนล้านหยวนเข้าสู่ตลาดเมื่อวานนี้
เพื่อเสริมสภาพคล่อง โดยดำเนินการผ่านข้อตกลงซื้อพันธบัตร โดยมีสัญญาขายคืนอายุ
7 วัน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ธนาคารกลางเข้าซื้อหลักทรัพย์จากธนาคารพาณิชย์ด้าน
ข้อตกลงที่จะขายคืนในอนาคต
- ข้อมูลจากสมาคมบริหารสินทรัพย์แห่งประเทศจีนเผยให้เห็นว่า สินทรัพย์ที่บริหาร
จัดการโดยกองทุนรวมของจีนเพิ่มขึ้น 3.59 แสนล้านหยวน มาอยู่ที่ 8 ล้านล้านหยวน
ในเดือนพฤษภาคม
- คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
ปี 2560 คงเหลือเติบโตร้อยละ 3.2 จากที่คาดไว้เดิมร้อยละ 3.3 หลังจากประเมิน
เศรษฐกิจขยายตัวชะลอลงกว่าที่ประเมินเล็กน้อยตามการส่งออกสินค้าที่ลดลง
- ไชน่า อินเตอร์เนชั่นแนล แคปิตอล คอร์ปอเรชั่น (CICC) ปรับลดคาดการณ์ผลิตภัณฑ์-
มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนปีนี้สู่ระดับขยายตัวร้อยละ 6.7 จากเดิมที่ร้อยละ
6.9 เนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกชะลอตัวลง
- ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
ควรหลีกเลี่ยงการปรับอัตราดอกเบี้ยอย่างกะทันหัน และควรให้ความสนใจต่อเสถียรภาพ
ของนโยบายการเงิน
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประกาศปรับลอดคาดการณ์การขยายตัว
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สหรัฐฯ ปีนี้สู่ร้อยละ 2.2 ลดลงจากร้อยละ 2.4
ที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนเมษายน ขณะที่ปีที่แล้วมีการขยายตัวร้อยละ 2.4 สูงกว่ายูโรโซนที่
คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปีนี้ และสูงกว่าญี่ปุ่นที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.5

4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.17 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.08 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 104.65 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.20 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่
49.13 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.72 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงาน
สารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่าสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวลง
น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากผลสำรวจ
ล่าสุดบ่งชี้ว่าชาวอังกฤษที่ต้องการแยกตัวออกจาสหภาพยุโรป (Brexit) เริ่มมีจำนวน
มากกว่าฝ่ายที่ต้องการอยู่ในสหภาพยุโรป
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่
49.88 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ลดลง 0.74 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ
ลดลงเพียง 900,000 บาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นการลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้
โดยก่อนหน้านี้สถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน (API) รายงานว่าสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ลดลง
5.2 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นการลดลงมากกว่าที่คาดไว้ถึง 3 เท่า

6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 159.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.8 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 155.9 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.2 เยน
ต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 170.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 11.1 เซนต์สหรัฐต่อ
กิโลกรัม

7. ข่าว - สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายบ้าน
มือสองเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบเป็นรายเดือนสู่ระดับ 5.53 ล้านยูนิต
ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้น ปัจจัยบวกส่วนใหญ่มาจากความต้องการซื้อของผู้ประกอบการ
ในประเทศ เพราะขาดแคลนยางส่งมอบ ขณะที่ผลผลิตยังคงเพิ่มขึ้นน้อยจากภาวะฝนตก
และหลายพื้นที่ขาดแคลนแรงงานกรีดยางและได้รับน้ำฝนไม่เพียงพอ

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว จากการอ่อนค่าของเงินเยน
และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับปริมาณผลผลิตยังคงเพิ่มขึ้นน้อยจากภาวะฝนตกในหลายพื้นที่ปลูกยาง
ของไทย รวมทั้งนักลงทุนขานรับการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางจีน อย่างไรก็ตาม นักลงทุน
บางส่วนยังคงระมัดระวังในการซื้อขาย และรอดูผลการลงประชามติของอังกฤษในวันนี้


สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา