ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 1077 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82486
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559


ปัจจัย
วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ
- ทั่วทุกภาคประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยภาคใต้มีฝนตกร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง

2. การใช้ยาง
- สมาคมอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ของอินโดนีเซียในเดือนพฤษภาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 12.0 จากสถิติก่อนหน้า โดยอินโดนีเซียมียอดขายรถยนต์อยู่ที่ 88,528 คัน ในเดือนพฤษภาคม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบรายเดือน ยอดขายเดือนพฤษภาคม สูงกว่ายอดขายเดือนเมษายน ที่ 84,600 คัน ซึ่งถือเป็นเดือนแรกที่ยอดขายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบรายปี

3. เศรษฐกิจโลก
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ในสัปดาห์นี้ โดยธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงิน 6 หมื่นล้านหยวน (9.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อวานนี้
- สานักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศส (Insee) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการผลิตของฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน ปรับตัวลงสู่ระดับ 102 จากระดับ 104 ในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากคาสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวลง
- ผลสารวจมาร์กิต ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนมิถุนายน ของฝรั่งเศส ปรับตัวลงสู่ระดับ 47.9 จากระดับ 48.4 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งถือเป็นระดับต่าสุดในรอบ 16 เดือน
- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นของเยอรมนีในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 54.1 ลดลงจากระดับ 54.5 เมื่อเดือนพฤษภาคม และทาสถิติต่าสุดในรอบ 2 เดือน
- มาร์กิต อิโคนมิกส์ ซึ่งเป็นบริษัทสารวจข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นของยูโรโซน อยู่ที่ 52.8 ในเดือนมิถุนายน ลดลงจากระดับ 53.1 เมื่อเดือนพฤษภาคม และทาสถิติต่าสุดในรอบ 17 เดือน โดยดัชนี PMI ภาคบริการเบื้องต้นของยูโรโซนอยู่ที่ 52.4 ลดลงจากระดับ 53.3 ในเดือนพฤษภาคม ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นอยู่ที่ 52.6 เพิ่มขึ้นจาก 51.5 เมื่อเดือนพฤษภาคม

4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.12 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 104.40 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.25 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

5. ราคาน้ามัน
- สัญญาน้ามันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymax ส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 ปิดตลาดที่ 50.11 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.98 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขานรับคาดการณ์ที่ว่าชาวอังกฤษ จะลงมติให้สหราชอาณาจักรยังคงเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ต่อไป โดยตลาดน้ามันดิบนิวยอร์ก ปิดทาการไปก่อนที่อังกฤษจะปิดหีบการลงประชามติในเวลา 22.00 น. ตามเวลากรุงลอนดอนหรือ 04.00 น. ของวันศุกร์ตามเวลาไทย
- สัญญาน้ามันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 เพิ่มขึ้น 1.03 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดตลาดที่ 50.91 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกาไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 159.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2559 อยู่ที่ 153.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.4 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 170.20 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.20 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว
- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยการทดสอบวิกฤต (Stress Test) โดยระบุว่า ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐนั้นมีเงินทุนเพียงพอที่จะรับมือกับภาวะผันผวนจากการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลกได้
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ รายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่ลดลงมากเกินคาดในเดือนพฤษภาคม หลังพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 8 ปี ในเดือนเมษายน ทั้งนี้กระทรวงระบุว่า ยอดขายบ้านใหม่ลดลงร้อยละ 6.0 ในเดือนพฤษภาคม สู่ระดับ 551,000 ยูนิต
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จานวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิ์การว่างงานครั้งแรกลดลง 18,000 ราย สู่ระดับ 259,000 ราย ในสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 18 มิถุนายน ซึ่งเป็นระดับต่าสุดในรอบเกือบ 43 ปี

8.ข้อคิดเห็นของประกอบการ - ราคายางกิจการร้านค้าไม่เปลี่ยนแปลงมากในระยะนี้ เพราะมีปัจจัยหนุนจากการขาดแคลนยาง ของผู้ประกอบการในประเทศ ทาให้มีการแข็งขันซื้อสูง ขณะที่ปริมาณผลผลิตยังคงเพิ่มชิ้นน้อย


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกมาจากราคาน้ามันปิดตลาดปรับ ตัวสูงขึ้นเหนือระดับ 50 ดอลลาร์สหรัฐ อีกครั้ง และปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่ความต้องการซื้อ ของผู้ประกอบการในประเทศยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาชี้นาตลาดโตเกียวผันผวนและปรับตัวลดลง จากการแข็งค่าของเงินเยนและระมัดระวังในการซื้อขายและจับตาดูการลงประชามติของอังกฤษอย่างใกล้ชิด


สานักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา การยางแห่งประเทศไทย