ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 1050 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82486
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559


ปัจจัย วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ - ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมาก
ในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี
ระนอง พังงา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และสงขลา ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง

2. การใช้ยาง - กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า
การผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกเดือนพฤษภาคมผลิตได้ 98,202 คัน คิดเป็นร้อยละ 58.32
ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 21.1 ส่วนเดือน
มกราคม - พฤษภาคม ผลิตเพื่อส่งออกได้ 493,493 คัน คิดเป็นร้อยละ 60.66 ของยอด
การผลิตทั้งหมด ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2558 ร้อยละ 0.43

3. สต๊อคยาง - สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2559 เพิ่มขึ้น 7,984 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.49
อยู่ที่ 328,157 ตัน จากสต๊อคเดิมที่ 320,173 ตัน เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2559

4. เศรษฐกิจโลก - รัฐบาลญี่ปุ่นและธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อ
เตรียมพร้อมรับความผันผวนในตลาดการเงินระลอกใหม่ หลังจากผลการลงประชามติของ
สหราชอาณาจักรชี้ฝ่ายสนับสนุนให้ออกจากสหภาพยุโรป (EU) ชนะฝ่ายที่ต้องการอยู่ใน
EU
- ผลสำรวจมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ปรับตัวลงสู่ระดับ
93.5 ในเดือนมิถุนายน จากระดับ 94.7 ในเดือนพฤษภาคม ย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์
คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 94.0
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ เช่น เครื่องบิน
รถยนต์ และเครื่องจักขนาดใหญ่ ปรับลดลงเกินคาดในเดือนพฤษภาคม โดยลดลงร้อยละ
2.2 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในเดือนเมษายน
- ข้อมูลทางการจีนระบุว่า กำไรสุทธิของรัฐวิสาหกิจช่วง 5 เดือนแรกของปี 2559 อยู่ที่
8.3739 แสนล้านหยวน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 9.6
- หัวหน้าทีมวิจัยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ (ไทย) กล่าวว่า กรณีการลงประชามติของ
อังกฤษที่แยกตัวออกจากสหภาพยุโรปจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศอังกฤษราว
ร้อยละ 0.7 โดยคาดว่าเศรษฐกิจอังกฤษจะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 1.2 จากเดิมที่คาดว่า
จะขยายตัวร้อยละ 1.9 และคาดว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจยุโรปร้อยละ 0.2 จากที่คาดว่า
เศรษฐกิจยุโรปจะขยายตัวได้ร้อยละ 1.2 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.4
- ธนาคารกลางจีนยืนยันที่จะคงใช้นโยบายการเงินที่รอบคอบ รวมทั้งใช้เครื่องมือด้าน
นโยบายที่หลากหลาย เพื่อรักษาสภาพคล่องอย่างเพียงพอ และรักษาเสถียรภาพทาง
การเงิน หลังจากที่อังกฤษลงประชามติตัดสินใจออกจากสภาพยุโรป (Brexit)
4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 101.75 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 2.66 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


6. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่
47.64 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 2.47 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุน
กังวลว่าการที่สหราชอาณาจักรตัดสินใจออกจาสหภาพยุโรปจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
และกระทบอุปสงค์น้ำมันอีกต่อหนึ่ง
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่
48.41 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ลดลง 2.50 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล

7. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 161.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.7 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 152.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.7 เยน
ต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 169.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

8. ข่าว - มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศปรับแนวโน้มเครดิตสหราชอาณาจักรสู่ระดับ
?เชิงลบ? หลังจากผลการลงประชามติชี้ฝ่ายสนับสนุนให้ออกจากสหภาพยุโรป (EU) ชนะ
ฝ่ายที่ต้องการอยู่ใน EU โดยกล่าวว่า ผลการลงประชามติจะนำไปสู่ความไม่แน่นอนที่
ยืดเยื้อยาวนาน และจะส่งผลเชิงลบต่อแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะกลาง
ของประเทศ
- ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า แม้การที่อังกฤษตัดสินใจ
ออกจาสหภาพยุโรป (Brexit) ได้ทำให้เกิดแรงเทขายในตลาดการเงินทั่วโลกเมื่อวันศุกร์
ที่ผ่านมา แต่ตลาดไม่ได้อยู่ในภาวะตื่นตระหนก และธนาคารทั่วโลกต่างมีความพร้อมที่จะ
รับมือกับผลกระทบด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องจำนวนมากเข้าสู่ตลาด

9. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะปริมาณผลผลิตยังคงมีน้อย หลายพื้นที่ยัง
ได้รับน้ำฝนไม่เต็มที่ ถึงแม้จะกรีดได้บ้างแต่ผลผลิตน้อยมาก ประมาณร้อยละ 40 - 60
เท่านั้น ขณะที่ผู้ประกอบการในประเทศบางส่วนมีความต้องการซื้อ การแข่งขันจึงยังมีอยู่


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมี
ปัจจัยบวกจากนักลงทุนเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไร หลังจากราคาปรับตัวลดลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา จากความกังวลเกี่ยวกับ
ผลกระทบจากการที่สหราชอาณาจักรแยกตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit) ประกอบกับธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ
ทั่วโลกเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อป้องกันผลกระทบจาก Brexit รวมทั้งเงินบาทอ่อนค่า และปริมาณ
ผลผลิตเพิ่มขึ้นน้อย ส่วนปัจจัยลบมาจากเงินเยนแข็งค่าและราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง




สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา