ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: สิงหาคม 13, 2015, 12:04:20 PM »

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  13  สิงหาคม  พ.ศ. 2558


ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- อิทธิพลร่องมรสุมและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนตกและตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนคะนองเกือบทั่วไปร้อยละ 70 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- สมาคมผู้ผลิตยานยนต์จีน (CAAM) เปิดเผยว่า การผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ช่วง 7 เดือนแรกปี 2558 ปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยระบุว่ายอดการผลิตรถยนต์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.80 เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะ 13.6 ล้านคัน ขณะที่ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.39 แตะ 13.3 ล้านคัน ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนแรกที่มียอดการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.64 และยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.43
3. เศรษฐกิจโลก
- นักวิเคราะห์ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ของญี่ปุ่น จากการคาดว่ากิจกรรมเศรษฐกิจได้หดตัวลงในช่วงไตรมาส 2 ทั้งนี้ผลสำรวจระบุว่านักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.21 ในปีงบการเงินปัจจุบันที่จะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2559 ลดลงอย่างมากจากผลสำรวจในเดือนก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.66 โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ 1.90 ในไตรมาส 2 หลังจากที่ขยายตัวถึงร้อยละ 3.90 ในไตรมาสแรก- สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีนเปิดเผยว่า ราคาสินค้าทุนในจีนเดือนกรกฎาคมปรับตัวลดลงร้อยละ 2.87 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และลดลงร้อยละ 16.98 เมื่อเทียบเป็นรายปี- กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากเดือนพฤษภาคม สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่รายงานก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 0.8- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานเบื้องต้นว่า ราคาค้าส่งเดือนกรกฎาคมปรับตัวลดลงร้อยละ .3 เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 สำหรับราคาส่งออกปรับตัวขึ้นร้อยละ 5.7 ส่วนราคานำเข้าลดลงร้อยละ 7.1- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สต๊อคสินค้าภาคค้าส่งเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในไตรมาส 2 มากกว่าที่คาดไว้- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและนักวิเคราะห์ในเยอรมันที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศลดลงแตะ 25.0 ในเดือนสิงหาคม จาก 29.7 ในเดือนกรกฎาคม เป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน นับเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจเยอรมันกำลังชะลอตัวลง และเป็นการปรับลงแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า
  • การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะที่ 5.26 ล้านล้านหยวน ลดลงจากการขยายตัวช่วงครึ่งปีแรก เป็นการสะท้อนว่าการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังคงซบเซา
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี ลดลงจากร้อยละ 6.8 ในเดือนมิถุนายน
  • การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี ลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 11.4 ของช่วงครึ่งปีแรก
  • ยอดค้าปลีกเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะที่ 2.43 ล้านล้านหยวน ลดลงเล็กน้อยจากอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ของเดือนมิถุนายน สำหรับยอดค้าปลีกช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4
  • [/l][/l][/l][/l][/l][/l]
4. อัตราแลกเปลี่ยน- เงินบาทอยู่ที่ 35.28 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 124.37 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.31 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ธนาคารกลางจีนประกาศเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2558 ว่า ทางธนาคารได้ตัดสินใจปรับปรุงระบบการกำหนดอัตราค่ากลางสกุลเงินหยวน เพื่อให้อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินหยวนเมื่อเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐสามารถสะท้อนสถานการณ์ในตลาดได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ประกาศ ส่งผลให้อัตราค่ากลางของสกุลเงินหยวนลดลงอย่างมาก
5. ราคาน้ำมัน- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายนปิดตลาดที่ 43.30 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.22 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงในรอบสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้นักลงทุนยังเข้าช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากราคาน้ำมันลดลงอย่างหนักในวันที่ผ่านมา- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกันยายน ปิดที่ 49.66ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.48 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานว่า สต๊อคน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 7 สิงหาคม 2558 ลดลง 1.7 ล้านบาร์เรล ทำสถิติลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3- ประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) รายงานว่า เดือนกรกฎาคมประเทศสมาชิกผลิตน้ำมันรวมกัน 31.51 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2555 โดยผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น 101,000 บาร์เรลต่อวัน แม้ว่าตลาดน้ำมันโลกกำลังเผชิญกับภาวะน้ำมันล้นตลาด
6. การเก็งกำไร- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 187.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 194.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.4 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 149.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 2.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว- รัฐสภากรีซจะต้องพิจารณาเพื่ออนุมัติแผนปฏิรูปการคลังของประเทศในสัปดาห์นี้ ภายหลังจากที่รัฐบาลกรีซสามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องเงื่อนไขการช่วยเหลือทางการเงินกับกลุ่มเจ้าหนี้เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่า ไตรมาส 2 ราคาบ้านเพิ่มขึ้นในเขตเมืองใหญ่ จำนวน 163 เมือง จากจำนวน 176 เมือง โดยเปิดเผยว่าค่ากลางของราคาบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 229,400 ดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี และเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 7.1 ในไตรมาสแรก
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย ถึงแม้ว่าราคาตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลงอย่างหนัก เนื่องจากผู้ประกอบการยังมีความต้องการซื้อเพราะขาดแคลนวัตถุดิบจากภาวะฝนตกต่อเนื่อง และแหล่งข่าวรายงานว่าหลายรายเริ่มซื้อเก็บ เพราะคิดว่าราคาปรับลดลงมากแล้วก็น่าจะสูงขึ้นได้ในระยะต่อไป
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ และนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีนหลังจากที่จีนปรับลดค่าเงินหยวน อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีปัจจัยหนุนจากความต้องการซื้อของผู้ประกอบการซึ่งขาดแคลนวัตถุดิบจากภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ปลูกยางของไทย?


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา[/t][/t][/t][/t][/t][/t]
[/list]
[/tr][/table]