ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 938 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82644
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  10  สิงหาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- จากอิทธิพลร่องมรสุมและมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยมีฝนหนาแน่น และตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้มีฝนร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ซึ่งอาจจะเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
2. การใช้ยาง
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายให้คณะกรรมการยาง
แห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) เร่งพลักดันการทำงานของ กยท. ให้เกิดความรวดเร็ว โดยในช่วง 3 เดือนแรกให้เปลี่ยนเกษตรกรจากฐานเกษตร สู่เกษตรอุตสาหกรรมเพื่อพ้นวิกฤต พร้อมเร่งจัดสวัสดิการช่วยเหลือเกษตรกรบรรเทาความเดือนร้อน
3.สต๊อกยาง
- สต๊อกยางจีนวันที่ 7 สิงหาคม 2558 มีจำนวน 187,091 ตัน เพิ่มขึ้น 4,377 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.40 จากระดับ 182,714 ตัน ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2558- สต๊อกยางญี่ปุ่น วันที่ 31 กรกฎาคม 2558 ลดลง 954 ตัน หรือลดลงร้อยละ 8.30 แตะระดับ 10,541 ตัน จาก 11,495 ตัน ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2558
4.เศรษฐกิจโลก
- สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า การปรับตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในช่วง 3 เดือน หรือไตรมาส 2 อยู่ที่ร้อยละ 0.7- สถาบัน ISO ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจยูโรโซนปรับตัวลงสู่ระดับ 124.0 ในไตรมาส 3 จากระดับ 129.2 ของไตรมาสก่อนหน้า- ที่ประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น มีมติคงนโยบายผ่อนคลายการเงินในการประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รวมทั้งคงการประเมินเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศมีการฟื้นตัวปานกลาง- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนี เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน ปรับตัวลงร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งสวนทางกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.4- ธนาคารกลางจีน เปิดเผยว่า ทางธนาคารจะใช้เครื่องมือทางการเงินที่หลากหลาย
เพื่อรับประกันว่า จะมีสภาพคล่องที่เพียงพอในระบบเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวลง โดยระบุว่าจะเพิ่มความยืดหยุ่นในนโยบายการเงิน ขณะที่ยังคงดำเนินการอย่างระมัดระวัง- สำนักงานสถิติแห่งชาติของสเปน เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (IPI) ของเสปนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ในเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว- สำนักงานศุลกากรจีน เปิดเผยว่า มูลค่าการค้าต่างประเทศของจีนลดลงร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบรายปีแตะระดับ 13.63 ล้านล้านหยวน ในช่วง 7 เดือนแรกของปี โดยการส่งออกลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบรายปี ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 14.6 ส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นสองเท่าสู่ระดับ 1.87 ล้านล้านหยวน ในช่วงมกราคม ? กรกฎาคม 2558- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่าดัชนีภาคผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อระดับค้าส่ง ลดลงร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบรายปีในเดือนกรกฎาคม  ซึ่งมากกว่าที่ลดลงร้อยละ 4.8 ในเดือนมิถุนายน สะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงเกิดภาวะเงินฝืดและเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ช่วงปลายปี 2552 และลดลงเป็นเดือนที่ 41 ติดต่อกัน
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีนในเดือนกรกฎาคม ปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.6 ของช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในปี 2558 เมื่อเทียบรายเดือน ราคาผู้บริโภคขยับขึ้นร้อยละ 0.3 สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ดัชนี CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ1.3 เมื่อเทียบรายปี
[/t][/t][/t][/t][/t][/t]
5. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.11 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 124.30 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.48 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน กันยายน ปิดตลาดที่ 43.87 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลง 0.79 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด หลังจากสหรัฐฯ เผยสต๊อกน้ำมันเบนซินและปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่สูงขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนกันยายน ที่ตลาดลอนดอนลดลง 0.91 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 48.61 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
7. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน 2558 อยู่ที่ 186.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.6 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 193.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.3 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 155.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง
8. ข่าว
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น 215,000 ตำแหน่ง ในเดือนกรกฎาคม สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ขณะที่อัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับร้อยละ 5.3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2008 หรือในรอบ 7 ปี
9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัวแม้ว่าราคาต่างประเทศจะปรับลดลงมาก แต่ราคายางที่เกษตรกรได้รับจะไม่ลดลงตาม เพราะปริมาณผลผลิตมีน้อยมาก จากภาวะฝนตกและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคใต้ ขณะที่ผู้ประกอบการหลายรายยังคงขาดแคลนวัตถุดิบ
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยบวก
มาจากอุปทานยางของไทยออกสู่ตลาดน้อย เพราะพื้นที่ปลูกยาง ได้รับผลกระทบจากฝนตกหนักและน้ำท่วมในหลายพื้นที่เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง และเงินบาทอยู่ในระดับอ่อนค่า ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันยังคงปรับตัวลดลง และกระแสความวิตกกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า หลังข้อมูลจ้างงานสหรัฐสดใส





ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา