ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 868 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82667
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  14  สิงหาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ประเทศไทยยังคงมีฝนตกทุกภาคและตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม
2. การใช้ยาง
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก รายงานว่า ยอดสินเชื่อรถยนต์โดยรวมของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐเป็นครั้งแรกในไตรมาส 2 โดยระบุว่ามีการปล่อยสินเชื่อใหม่สำหรับรถยนต์ราว 1.19 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี และเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ช่วยให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ของสหรัฐฯ ฟื้นตัวจากภาวะซบเซา
3. เศรษฐกิจโลก
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน หากเทียบเป็นรายปียอดค้าปลีกเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 โดยผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ส่งผลให้มีแรงซื้อรถยนต์และสินค้าอื่น ๆ บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการขยายตัวขณะเข้าสู่ไตรมาส 3- สำนักงานสถิติแห่งชาติกรีซเปิดเผยว่า ไตรมาส 2 เศรษฐกิจมีการขยายตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก และเมื่อเทียบเป็นรายปีเศรษฐกิจกรีซมีการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาส 2 นักวิเคราะห์ระบุว่าเศรษฐกิจมีการเติบโตแข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบเป็นรายปี ดัชนี CPI ขยับขึ้นร้อยละ 0.1- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชนเดือนมิถุนายนปรับตัวลดลงร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ส่งสัญญาณถึงการชะลอตัวของอุปสงค์ด้านการลงทุนในภาคเอกชน- กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยว่า ยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FdI) เดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ส่วนในช่วง 7 เดือนแรกของปี ตัวเลข FDI ขยายตัวร้อยละ 7.9- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า เดือนกรกฎาคมดัชนีราคานำเข้าลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบ 6 เดือน และเป็นการปรับตัวลง 11 เดือน จาก 13 เดือนที่ผ่านมา เมื่อเทียบเป็นรายปีดัชนีราคานำเข้าลดลงร้อยละ 10.4- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองการคาดการณ์ GDPNOW แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 ในไตรมาส 3 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายผู้บริโภคไม่เพียงพอที่จะชดเชยการลดลงของตัวเลขสต๊อคสินค้า ถือว่าต่ำกว่าการคาดการณ์ในเดือนสิงหาคมที่ร้อยละ 0.9 และต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ร้อยละ 1.0
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.22 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.08 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 124.51 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.23 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ธนาคารกลางจีนออกแถลงการณ์ว่า ธนาคารกลางจะรักษาเสถียรภาพของเงินหยวนให้อยู่ในระดับสมเหตุสมผลและมีความสมดุล หลังจากที่เงินหยวนร่วงลงติดต่อกัน 3 วัน ภายหลังจากที่จีนประกาศลดค่าเงินหยวนเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายนปิดตลาดที่ 42.23 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.07 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐ ผลมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังจากสหรัฐฯ รายงานยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกินคาด นอกจากนี้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกันยายน ปิดที่ 49.22ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.44 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ปรับเพิ่มคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกปี 2558 และ 2559 สาเหตุเนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และผู้บริโภคสามารถปรับตัวกับราคาน้ำมันที่ลดลง โดยรายงานระบุว่าอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกในปีนี้จะอยู่ที่ 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 200,000 บาร์เรลต่อวัน จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และเป็นอัตราการขยายตัวที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 5 ปี
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 187.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.8 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 193.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.6 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 148.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น 5,000 ราย สู่ระดับ 274,000 ราย ตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 22 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นช่วงที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2543 เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง- ผลสำรวจของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล ระบุว่า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในเดือนหน้า
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางทรงตัวหรือปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากราคาตลาดต่างประเทศยังคงมีทิศทางปรับตัวลดลง ขณะที่ปริมาณผลผลิตยังคงมีน้อย ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายมีความต้องการซื้อ เพราะขาดแคลนวัตถุดิบป้อนโรงงาน ทำให้ราคาไม่ปรับลดลงมากตามตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์และจีน
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับการประกาศลดค่าเงินหยวนของจีนยังคงทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และยังวิตกว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า อย่างไรก็ตาม ปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยและความต้องการซื้อของผู้ประกอบการที่ขาดแคลนวัตถุดิบ ยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง?



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 14, 2015, 10:56:28 AM โดย Rakayang.Com »