ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 692 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82644
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  21  สิงหาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ร่องมรสุมและลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยยังมีฝนเพิ่มขึ้น โดยภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่งร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 40 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- สมาคมผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์อังกฤษรายงานว่า การผลิตรถยนต์เดือนกรกฎาคมลดลงร้อยละ 1.0 สู่ระดับ 117,665 คัน จากระดับ 132,570 คันในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานบางแห่งในช่วงฤดูร้อน ส่วนการผลิตรถยนต์ตั้งแต่ต้นปีนี้อยู่ที่ 911,307 คัน เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ระดับ 923,884 คัน- ช่วงเวลา 7 เดือนแรกของปี 2558 ข้อมูลการผลิตยางธรรมชาติของสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) ลดลงร้อยละ 2.1 อยู่ที่ 5.895 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557 อยู่ที่ 6.020 ล้านตัน เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนินโญ่ครั้งนี้รุนแรงที่สุดในรอบ 18 ปี และสถาบันมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ ระบุว่า อิทธิพลของปรากฏการณ์ดังกล่าวจะมีถึงสิ้นปีนี้ และแนวโน้มต่อเนื่องไปถึงช่วงต้นปี 2559
3. เศรษฐกิจโลก
- คอนเฟอร์เรนซ์ บอร์ด เปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจประจำเดือนกรกฎาคมลดลงร้อยละ 0.2 สู่ระดับ 123.3 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือนมิถุนายน และร้อยละ 0.6 ในเดือนพฤษภาคม- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคมิด - แอตแลนติกพุ่งขึ้นในเดือนสิงหาคม สู่ระดับ 8.3 จาก 5.7 ในเดือนกรกฎาคม โดยดัชนีที่อยู่สูงกว่า 0 บ่งชี้ถึงอัตราการขยายตัว- ธนาคารกลางจีนอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบการเงินภายในประเทศ ด้วยวงเงินสูงสุดในรอบ 19 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2557 ทั้งนี้ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงินมูลค่า 1.2 แสนล้านหยวนผ่านทางข้อตกลงซื้อพันธบัตร โดยมีสัญญาขายคืน- นักวิเคราะห์กล่าวว่า การอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบผ่านทางเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ของธนาคารกลางจีนอาจไม่เพียงพอที่จะใช้แทนการปรับลดสัดส่วนการกันสำรอง (RRR) ในอนาคตได้ ทั้งนี้ธนาคารกลางจีนได้ปล่อยกู้จำนวน 1.1 แสนล้านหยวนผ่านทาง MLF เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธนาคารของจีน จุดชนวนความวิตกกังวลว่าธนาคารกลางจีนอาจยกเลิกการปรับลด RRR ในการคุมเข้มสภาพคล่องในตลาดการเงิน
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.64 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.11 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.25 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.71 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกันยายนปิดตลาดที่ 41.14 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น  0.34 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเข้าช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาร่วงลงอย่างมาก นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินดอลล่าร์ที่อ่อนค่าลง- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกันยายน ปิดที่ 46.62ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.54 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 174.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 184.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.2 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 139.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายบ้านมือสองเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 สู่ระดับ 5.59 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ก่อนเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 บ่งชี้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ยังคงสดใส- นายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ ประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพื่อหวังปูทางสู่การเลือกตั้งก่อนกำหนดในวันที่ 20 กันยายน 2558- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น 4,000 ราย สู่ระดับ 277,000 ราย ตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 รายเป็นสัปดาห์ที่ 21 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ เนื่องจากยังมีแรงหนุนจากผู้ประกอบการหลายรายยังมีความต้องการซื้อ เพราะขาดแคลนวัตถุดิบมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังคงมองว่าสถานการณ์ราคายางยังน่าเป็นห่วง เพราะยังคงขายออกยากผู้ซื้อรอราคาที่ต่ำกว่าจากแนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยลบมาจากเงินเยนแข็งค่าและตลาดหุ้นทั่วโลกลดลงอย่างมาก ส่งผลให้เกิดกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก ส่วนปัจจัยบวกมาจากเงินบาทอ่อนค่าและความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศยังคงมีอยู่ เพราะขาดแคลนวัตถุดิบป้อนโรงงาน?



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา