ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 21, 2017, 09:14:29 PM »

"บิ๊กตู่"ไฟเขียวขยายเวลา 4 มาตรการดูดซับยางพารา ผู้ว่าการยางตั้งเป้าใช้ยางในประเทศ1.2ล้านตัน

ประชาชาติธุรกิจ 21 เม.ย.2560 เวลา 17.53 น.

นายกฯสั่งเพิ่มปริมาณการใช้ยางในปท.อีกเท่าตัว
(ภาพจาก TNN24 ช่อง16)ที่ประชุมกนย. เผยตลาดโลกยังมีความต้องการใช้ยางพาราต่อเนื่อง นายกฯ สั่งเพิ่มสัดส่วนการใช้ยางในปท.อีกเท่าตัว
เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2560 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 1/2560 ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 4 มาตรการ ได้แก่


1.เห็นชอบขยายเวลาโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวมยางพาราภายใต้แนวทางยางพาราทั้งระบบ วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและดูดซับผลผลิตที่จะออกมาสู่ตลาด โดยรัฐบาลจะชดเชยรับภาระดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 3 คิดเป็นงบประมาณที่รัฐต้องชดเชยทั้งสิ้น 300 ล้านบาท คาดการณ์ว่าจะสามารถดูดซับผลผลิตออกจากระบบได้ประมาณ 2 แสนตันในปี 60


2.เห็นชอบขยายระยะเวลาโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท ซึ่งหมดอายุไปเมื่อวันที่ 31 มี.ค.60 ออกไปอีก 1 ปี


3.เห็นชอบมาตรการขยายระยะเวลาโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง (เพิ่มเติม) ออกไปอีก 90 วัน เพื่อรอรับเกษตรกรตกค้างประมาณ 1.1 หมื่นครัวเรือน และ


4.เห็นชอบขยายระยะเวลาโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายางเพื่อเพิ่มสภาพคล่องออกไปจนถึงวันที่ 31 พ.ค.63 ทั้งนี้ ทั้ง 4 มาตรการจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป


"นายกรัฐมนตรีกำชับให้เพิ่มการใช้ยางพาราภายในประเทศมากขึ้น ให้มากกว่าการส่งออกไปต่างประเทศ เพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกส่งผลกระทบให้ราคายางพาราลดลง ซึ่ง 1 ปี จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 4 ล้านตัน สามารถนำมาใช้ภายในประเทศได้เพียง 6 แสนตัน ดังนั้นจึงตั้งเป้าหมายว่า 1 ปีจะสามารถใช้ภายในประเทศได้ 1 เท่าตัว หรือ 1.2 ล้านตัน"