ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 1018 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82637
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  8  มิถุนายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ภาคใต้มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณทางตอนบนของภาค ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนตกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- บริษัทโตโยต้ามอร์เตอร์ประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคมมีแนวโน้มทรงตัว ขณะที่ยอดจำหน่ายสะสมรถยนต์ตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน 2558 มีปริมาณ 251,845 คัน ลดลงร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนต่างระมัดระวังเรื่องการลงทุนและการใช้จ่าย
3. สต๊อคยาง
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2558 เพิ่มขึ้น 3,865 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.98 อยู่ที่ 133,630 ตัน จากระดับ 129,765 ตัน เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558
4. เศรษฐกิจโลก
- กระทรวงการค้าอินเดียเปิดเผยว่า มูลค่าการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 แตะ 3.093 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปีงบประมาณสิ้นสุด ณ เดือนมีนาคม สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจอินเดีย- สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวร้อยละ 3.9 สูงกว่าร้อยละ 2.4 ที่มีการประเมินเบื้องต้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2558- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมันเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อใหม่ภาคการผลิตเดือนเมษายนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5- กรมศุลกากรฝรั่งเศสเปิดเผยว่า เดือนเมษายนฝรั่งเศสมียอดขาดดุลการค้าลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม เนื่องจากการนำเข้าน้ำมันปรับตัวลดลง ขณะที่ยอดส่งออกเครื่องบินเพิ่มขึ้น โดยฝรั่งเศสมียอดส่งออกเพิ่มขึ้น 3.82 หมื่นล้านยูโร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4
5. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.89 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.12 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 125.34 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.87 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 59.13 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.13 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปค) มีมติคงโควตาการผลิตน้ำมันในการประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของตลาด- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 63.31 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.28 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) มีมติคงโควตาการผลิตน้ำมันที่ระดับ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปอีก 6 เดือน ในการประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เช่นเดียวกับมติการประชุมโอเปคครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
7. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 227.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 240.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.1 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 187.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 3.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
8. ข่าว
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 280,000 ตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม จากระดับ 221,000 ตำแหน่งในเดือนเมษายน ขณะที่อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ร้อยละ 5.5 จากร้อยละ 5.4 ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 7 ปี- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) เปิดเผยว่า กรีซวางแผนจะเลื่อนการชำระเงินคืนหนี้สินตามกำหนด 4 งวดในเดือนมิถุนายน เป็นการชำระรวมงวดเดียวจำนวน 1.5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในวันที่ 30 มิถุนายน 2558
9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัว แต่เมื่อพิจารณาจากผลผลิตวัตถุดิบที่มีน้อย และผู้ประกอบการบางรายยังคงขาดแคลนยาง ซึ่งจะทำให้มีการแข่งขันสูง ราคาก็น่าจะสูงขึ้นได้อีก แม้ว่าจะยังคงขายออกยาง เพราะซื้อแพงกว่าความเป็นจริง แต่ก็ต้องซื้อเพื่อส่งมอบตามสัญญา
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากอุปทานยางยังมีน้อยจากการเปิดกรีดยางล่าช้า เพราะประสบปัญหาภัยแล้งและการลดพื้นที่ปลูกยางโดยการโค่นยางเก่า ประกอบกับเงินบาทและเงินเยนอ่อนค่า รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าโตเกียวปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้กรีซ และความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 08, 2015, 11:00:42 AM โดย Rakayang.Com »