ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 733 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82640
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  18  ธันวาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1.สภาพภูมิอากาศ


- บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป และมีลมแรง กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ บริเวณยอดดอยในภาคเหนือ ส่วนภาคใต้มีเมฆมากกับมีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 60 ของพื้นที่ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง

2.การใช้ยาง


- ตามรายงานในเว็บไซต์ ระบุว่า มีการคาดการณ์ว่ายอดการผลิตยางธรรมชาติของจังหวัดสุมาตรา-เหนือมีแนวโน้มลดลงเหลือเพียงราว ๆ 450,000 ตัน ในปีนี้ ลดลงจากปีก่อนที่ผลิตได้ 465,000 ตัน เป็นเพราะราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกลดต่ำลงและเกษตกรหลายรายโค่นต้นยาง เพื่อปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ที่ให้ผลกำไรดีกว่า

3. สต๊อกยาง


- สต๊อกยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 10 ธันวาคม 2558 มีจำนวน 6,113 ตัน ลดลง 99 ตัน หรือลดลงร้อยละ 1.59 จากระดับ 6,212 ตัน ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558

4. เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จีนมีการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (ODI) นอกภาคการเงิน เป็นมูลค่า 8.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งปรับตัวขึ้นร้อยละ 12.6 เมื่อเทียบรายปี

- กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดเกินดุลการค้าเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 3.7972 แสนล้าน-หยวน  เนื่องจากยอดส่งออกเหล็กและวัสดุประเภทอื่น ๆ ปรับตัวลดลงท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกเดือนพฤศจิกายน ลดลงร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบรายปี ขณะที่ยอดนำเข้าลดลงร้อยละ 10.2

- สถาบัน ISO ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ผู้บริหารภาคธุรกิจของเยอรมนีลดความเชื่อมั่นภาคธุรกิจปรับตัวลงสู่ระดับ 108.7 ในเดือนธันวาคม หลังแตะ 109.0 ในเดือนพฤศจิกายน

- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจยูโรโซนจะยังคงขยายตัวในอัตราปานกลางในระยะใกล้ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นในช่วง 2 ปีข้างหน้า  อย่างไรก็ดี ยังมีความเสี่ยงในช่วงเวลาต่อแนวโน้มดังกล่าวเกี่ยวกับความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการพัฒนาในเศรษฐกิจโลก และความเสี่ยงจากความขัดแย้งในภูมิภาคต่าง ๆ

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ในไตรมาส 3 ของปีนี้ โดยได้รับผลกระทบจากการขาดดุลรายได้เพิ่มมากขึ้น  ทั้งนี้ ตัวเลขขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 สู่ระดับ 1.2412 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาส 3

- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขามิลาเดลเฟีย เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคแอตแลนติกลดลงเกินคาดในเดือนธันวาคม สู่ระดับ -5.9 หลังจากเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนพฤศจิกายน สู่ระดับ
-19 โดยดัชนีเคยติดลบเป็นเวลา 2 เดือน โดยอยู่ที่ -4.5 ในเดือนตุลาคม และ -6.0 ในเดือนกันยายน

5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 36.18 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ  อ่อนค่า 0.12 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 122.52 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ  แข็งค่า 0.03 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

6. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนมกราคม ปิดตลาดที่ 34.95 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.57 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่สูงเกินไป หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานว่า สต๊อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นอย่างเหนือความคาดหมายในรอบสัปดาห์ที่แล้ว

- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนมกราคม ลดลง 0.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 37.06 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

7. การเก็งกำไร


- TOCOM ส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 153.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 อยู่ที่ 161.9 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เยนต่อกิโลกรัม

- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 123.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง

8. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้วลดลง 11,000 ราย สู่ระดับ 271,000 ราย โดยลดลงต่ำกว่าระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน และต่ำกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 275,000 ราย

9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจากการอ่อนค่าของเงินบาท และปริมาณผลผลิตยังออกสู่ตลาดน้อย เพราะยังมีฝนตกในบางพื้นที่ กรีดยางได้น้อย ขณะที่ตลาดต่างประเทศยังคงซบเซาเพราะใกล้ถึงเทศกาลหยุดยาว

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินบาทอ่อนค่า และนักลงทุนขานรับสัญญาณเชิงบวกจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัว ส่วนปัจจัยลบมาจากความวิตกกังวลว่าราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง อาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ยังเผชิญกับความเปราะบาง ซึ่งส่งผลเชิงลบต่ออุปสงค์ยางในภาพรวม



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา