ผู้เขียน หัวข้อ: ทุ่ม6พันล้านล้มเหลว ยางดิ่ง3โล100  (อ่าน 957 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82496
    • ดูรายละเอียด

ทุ่ม6พันล้านล้มเหลว ยางดิ่ง3โล100


หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- ศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2557 06:00:00 น.



 
ทุ่ม6พันล้านล้มเหลวยางดิ่ง3โล100 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม นายสมพงศ์ ราชสุวรรณ กรรมการเครือข่ายชาวสวนยางภาคใต้ตอนล่างแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ชาวสวนยางพาราภาคใต้ตอนล่างจำนวนมาก รอโครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนช่วยเหลืออยู่แต่มาไม่ถึง รวมทั้งการผลักดันให้ราคายางถึง 60 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) แต่เมื่อรอมากว่า 2เดือนแล้วราคายางกลับตกต่ำลงทุกวัน โดยทางกลุ่มจะประชุมกำหนดแนวทางเคลื่อนไหวทวงถามพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หลังปีใหม่


ยางร่วง3โล100แห่เปลี่ยนอาชีพ?ชาวสวนยางมีปัญหาเช่นเดียวกันทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ชาวสวนยางได้รับผลกระทบหนักมากที่สุด ขณะนี้ทางกลุ่มรับซื้อน้ำยางสดอยู่ที่ 34 บาทต่อกก.ได้เห็นราคายางอยู่ที่ 3 กิโลกรัม 100 บาทแล้ว แต่เกษตรกรจำเป็นต้องขายแม้ขาดทุนต้องยอม เพราะลูกไม่มีเงินไปโรงเรียน รถ บ้านถูกยึด จนขณะนี้คนรับจ้างกรีดยางเลิกอาชีพไปทำงานโรงงาน แรงงานก่อสร้างและบริการกันเกือบหมดแล้วโดยเฉพาะจังหวัดท่องเที่ยว เพราะรายได้กรีดยางไม่พอเลี้ยงครอบครัว แม้แต่เจ้าของสวนยางยังเดือดร้อนหนัก จากเคยมีรายได้วันละ 4-5 พันบาท ช่วงที่ยางราคา 80-100 บาท แต่ตอนนี้มีรายได้ 200-500 บาท ซึ่งไม่พอแบ่งให้คนกรีดยาง อีกทั้ง ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นทำให้เดือดร้อนมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว?นายสมพงศ์ กล่าว

ทุ่ม6พันล.ดันราคาโลละ60เหลวรายงานข่าวเปิดเผยว่า แม้รัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือเบื้องต้นโดยใช้เม็ดเงินจากกองทุนรักษาเสถีรยภาพราคายางล๊อตแรก 6,000 ล้านบาทตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่าน ไปแทรกแซงราคายางรับซื้อในราคานำตลาด เพื่อให้ราคาปรับขึ้นไปที่ 60 บาทต่อกก. แต่ก็ยังไม่มีผลต่อตลาด ตรงข้ามสถานการณ์ราคายางลดลงต่อเนื่อง โดยน้ำยางสดสัปดาห์ที่แล้วราคาอยู่ที่ 38 บาท แต่ขณะนี้ราคาร่วงลงมาที่ 35 บาทต่อกก. ทำให้รายได้ของเกษตรกรสวนยางหายไปกว่าร้อยละ 70 ส่งผลกระทบหนักต้องขาดผ่อนค่างวดรถจักรยานยนต์ รถยนต์ เพราะซื้อไว้ตอนยางราคา 80-90 บาทต่อกก.

นอกจากนั้น สัปดาห์นี้ที่นายอำนวย ปิตะเส รมช.เกษตรฯใช้มาตราการเข้าซื้อยางราคานำตลาดกิโลกรัมละ 1-2 บาทก็ไม่มีผลต่อราคาตลาดแต่อย่างใด เพราะปัญหาสำคัญของราคายางตกต่ำมาจากราคาน้ำยางสดถูกกำหนดโดยโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปน้ำยางสดเป็นผลิตภัณฑ์ ยางแผ่นรมควัน รวมทั้งกลไกลตลาดโลก โดยเฉพาะบริษัทรายใหญ่ผูกขาดไม่กี่บริษัทเป็นผู้ครองตลาดโลกหันไปซื้อยางสังเคราะห์ที่มีราคาถูกลงตามราคาน้ำมันโลกแทนยางธรรมชาติกว่า 50% ทำให้แนวโน้มราคาตกต่อเนื่องไปถึงกลางปี 2558 นอกจากรัฐบาลมีทิศทางยกระดับราคาที่ชัดเจน เช่น โครงการจำนำหรือแทรกแซงราคาที่สูงกว่าตลาด

จ่อบุกจี้รบ.เร่งแก้ผวาราคาดิ่งไม่หยุดส่วนนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางแห่งประเทศไทย กล่าวในการเสวนาเรื่องอนาคตยางพาราไทยจะไปทางไหนตอนหนึ่งว่า สถานการณ์ยางปี 2557 อยู่ในภาวะที่เลยคำว่าวิกฤติแล้ว เพราะต่ำสุดในรอบ 10 ปี เนื่องจากราคาต้นทุนตามความเป็นจริงอยู่ที่กก.ละ 65.25 บาท แต่ปัจจุบันราคาขายอยู่ที่กก.ละกว่า 30 บาทเท่านั้น ซึ่งแนวทางแก้ไขที่จะทำได้ทันทีคือ พัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมยาง เพื่อเพิ่มมูลค่ายาง เพิ่มปริมาณใช้ยางในประเทศ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้เตรียมเข้ายื่นหนังสือต่อรัฐบาล เสนอแนวทางแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เพราะกังวลว่า ตั้งเวลาช่วงนี้ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2558 จะเป็นช่วงที่มียางพาราออกสู่ตลาดมากที่สุด และมีแนวโน้มราคาลดลงอีก หากรัฐบาลยังไม่จริงจัง ชาวสวนยางคงต้องโค่นต้นยางทิ้งกันหมด และเลิกปลูกยางไปในที่สุด

ประจวบฯจี้ช่วยสวนยางไร้เอกสารสิทธิ์ขณะที่นายจำลอง ดีทองอ่อน ผู้ประสานงานเครือข่ายยาพารา จ.ประจวบคีรีขันธ์เปิดเผยว่า ยื่นข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลให้กรมป่าไม้ สำนักงานการปฏิรูปที่ดิน ( สปก.) และนิคมสหกรณ์บางสะพานออกมารับรองแนวเขตในที่ดินทำกินเพื่อรับปัจจัยการผลิตจากรัฐบาลไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ หากไม่มีความคืบหน้าในระยะสั้น ชาวบ้านในอ.บางสะพาน และอ.บางสะพานน้อยที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ประมาณ 80 % จะรวมตัวกันเรียกร้องอย่างจริงจังอีกครั้ง เนื่องจากที่ดินชาวบ้านที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ไม่เคยได้รับการช่วยเหลือ และบางส่วนมีใบ ภบท.5 เสียภาษีให้องค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต.)ทุกปี

น้ำยางสดเหลือกก.ละ36บ.สำหรับราคายางพาราวันเดียวกันนี้ ที่สำนักงานตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี (โคอ๊อป) อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ราคาประมูลยางแผ่นดิบความชื้น 3-5% ราคากก.ละ 42.09 บาท น้ำหนักประมาณ 5 หมื่นกก. ราคาท้องถิ่นเฉลี่ยกก.ละ 41 บาท น้ำยางสดเฉลี่ยกก.ละ 36.50 บาท เศษยางเฉลี่ยกก.ละ 18.50 บาท ส่วนยางแผ่นรมควันชั้นสามกก.ละ 53 บาท ขณะที่ชาวสวนยางต่างแสดงความเห็นว่า จะพอใจมาก ถ้ารัฐบาลช่วยแทรกแซงราคาให้ได้กก.ละ 65-70 บาท

16จว.ขู่ปิดถนน-บุกกรุงรัฐเมินช่วยโดยนายเด่นเดช  เดชมณี เลขาเครือข่ายภาคีเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน 16 จังหวัดภาคใต้กล่าวว่า หลังพวกตนยื่นหนังสื่อผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้ยื่นต่อไปยังรัฐบาลแล้ว ขอให้รัฐบาลนำข้อเรียกร้องไปพิจารณาช่วยเหลือภายใน 7 วัน ถ้าไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนเกษตรกรจำเป็นต้องเคลื่อนไหว อาจต้องปิดถนนหรือไม่ก็ต้องเดินทางมาหน้าทำเนียบรัฐบาล ตอนนี้ขอรอดูท่าทีรัฐบาลไปก่อน

ด้านนายกิตติศักดิ์  วิโรจน์ หนึ่งในเครือข่ายภาคีฯกล่าวว่า เครือข่ายภาคีฯจะร่วมตัวกันอีกครั้งวันที่ 14 ธันวาคม เพื่อก่อตั้งสมาคมเครือข่ายภาคีเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน จ.สุราษฎร์ธานีเอาไว้ต่อรองกับรัฐบาล อีกทั้ง มีการเสนอปลดรองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบเรื่องนี้

บุรีรัมย์กุมขมับรายได้หดหนี้บานขณะที่เกษตรกรชาวสวนยางที่บ้านหินเหล็กไฟ มู.1 อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์เกือบทั้งหมู่บ้านกว่า 200 ครัวเรือนกำลังเดือดร้อนหนักจากปัญหาราคายางตกต่ำต่อเนื่อง ปัจจุบันเหลือเพียงกก.ละ 45 บาท ถือว่าต่ำสุดในรอบหลายสิบปี ทำให้เกษตรกรชาวสวนยาง คนรับจ้างกรีดยางมีรายได้ลดลง ไม่พอนำไปชำระหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่กู้ยืมมาลงทุนทำสวนยาง ซึ่งจะครบกำหนดชำระดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม 2558 ผู้รับจ้างกรีดยางต้องเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นที่มีรายได้มากกว่ามาเลี้ยงครอบครัว จากผลกระทบดังกล่าวจึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งหาทางแก้ปัญหา โดยให้ราคาอยู่ที่กก.ละ 80 บาทจึงจะอยู่รอด พร้อมเรียกร้อง ธ.ก.ส.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยช่วยชาวสวนยางที่เดือดร้อนดังกล่าวด้วย

นางศิริวรรณ พุทธานุ อายุ 52 ปี เกษตรกรบ้านหินเหล็กไฟ ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมืองกล่าวว่า ปลูกยางทั้งหมด 60 ไร่ แต่ละปีต้องชำระดอกเบี้ยให้ธ.ก.ส.ปีละ 150,000 บาท เนื่องจากกู้ยืมมาลงทุนปลูกยางสะสมอยู่เกือบ 2 ล้านบาท แต่ปีนี้ยังไม่รู้จะหาเงินที่ไหนไปจ่ายดอกเบี้ยให้ธ.ก.ส. เนื่องจากราคายางตกต่ำ ทำให้รายได้ไม่เพียงพอ

เช่นเดียวกับ นางสำรวย จันทร์นวล อายุ 60 ปีที่ระบุว่า เมื่อก่อนเคยมีรายได้จากการขายน้ำยาง ยางแผ่นหรือยางก้อนถ้วย เฉลี่ยเดือนละหลักหมื่นถึงแสนบาท ปัจจุบันเหลือเพียงหลักพันเท่านั้น จากรายได้ที่ลดลงปีนี้จึงยังไม่รู้จะเงินที่ไหนไปชำระหนี้ให้ธ.ก.ส.ที่มีอยู่กว่า 200,000 บาท และจะครบกำหนดชำระในเดือนมีนาคม 2558

อดีตส.ส.ใต้จ่อเข้าพบรมว.กษ.15ธค.ด้านนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์เปิดเผยว่า หลังตนและอดีตส.ส.ภาคใต้ทำหนังสือแนะนำ 5 มาตรการเพื่อพยุงราคายางพาราถึงนายกรัฐมนตรี ให้เร่งแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ เช่น ให้รัฐบาลรับปากว่าจะไม่ขายยางสต็อกของรัฐให้พ่อค้า เพื่อส่งผลจิตวิทยาให้พ่อค้ารับซื้อยางจากชาวบ้านโดยตรง และราคาจะไม่ตกลงไปกว่าที่เป็นอยู่อีก หรือให้กรมทางหลวงชนบทเร่งใช้ยางเป็นวัสดุในการทำถนนสายใหม่ หรือใช้ทำลานกีฬาในโรงเรียนหรือหน่วยงานรัฐ แต่ผ่านไป 2 เดือนรัฐบาลไม่เคยชี้แจงว่าทำอะไรไปแล้วบ้าง คืบหน้าอย่างไร ดังนั้น วันที่ 15 ธันวาคม เวลา 14.00 น. พวกตนจะเข้าพบนายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรฯ เพื่อขอทราบแนวทางแก้ไขและช่วยเหลือชาวสวนยางที่ประสบปัญหาราคายางตกต่ำ เพราะพวกตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวสวนยางในพื้นที่ที่กำลังเดือดร้อนหนัก

ลุย2โครงการปล่อยสินเชื่อดันราคาขณะที่นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยถึงแนวทางพัฒนายางทั้งระบบในส่วนการสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมยางขั้นปลายน้ำว่า ได้กำหนดมาตรการเพื่อเพิ่มอุปสงค์การใช้ยางพาราในภาคอุตสาหกรรม สร้างกลไกผลักดันราคายางในประเทศให้เพิ่มสูงขึ้น โดยตั้งเป้าให้ราคายางในตลาดกลับมาอยู่ระดับ 65 บาทต่อกก.ช่วงกลางปี 2558 สำหรับมาตรการของรัฐบาลที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)แล้วในการแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด จะดำเนินการผ่านโครงการให้สินเชื่อ 2 โครงการคือ สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการแปรรูปน้ำยางข้นวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะซื้อยางส่วนเกินออกจากระบบรวม 2 แสนตัน และสินเชื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต 1.5 หมื่นล้านบาท สนับสนุนให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางใช้ปรับปรุงเครื่องจักร เพื่อเพิ่มการใช้ยางพาราในประเทศรวม 300,000 ตัน โดยทั้ง 2 โครงการจะช่วยดูดซับยางเข้าระบบรวม 5 แสนตัน ทำให้ปริมาณการใช้ยางในประเทศเพิ่มเป็น 1 ล้านตัน ดันให้ราคาเป็นไปตามเป้าหมาย

สนช.ผ่านร่างพรบ.ยางวาระแรกวันเดียวกัน ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ... ที่ครม.เป็นผู้เสนอ โดยนายอำนวย ปฏิเส รมช.เกษตรฯได้ชี้แจงต่อที่ประชุมถึงหลักการและเหตุผลว่า ยางพารามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยาง จำเป็นต้องจัดให้มีองค์กรกลาง คือ การยางแห่งประเทศไทย เพื่อรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการเกี่ยวกับยางพาราของประเทศอย่างครบวงจร มีเอกภาพ เป็นอิสระ คล่องตัว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ

 
โดยที่ประชุม สมาชิกต่างอภิปรายอย่างกว้างขวาง ทั้งเรื่องพื้นที่ปลูก ที่ไม่มีมาตรการดูแลควบคุม จึงควรจัดทำโซนนิ่ง และเร่งแก้ปัญหาราคายางตกต่ำที่ทำให้ชาวสวนยางเดือดร้อนอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ฝากให้คณะกรรมาธิการฯพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวอย่างละเอียด โดยเฉพาะเรื่องเทคนิคทางกฎหมาย เพราะต้องยกเลิกกฎหมายเก่ากว่า 8 ฉบับ เกรงจะมีปัญหา เรื่องการควบรวม 3 องค์กรทั้งที่เป็นรัฐวิสาหกิจ คือ องค์การสวนยาง (อสย.) สำนักกองทุนสงเครมะห์การทำสวนยาง (สกย.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ และภาครัฐคือ สถาบันวิจัยยาง ของกรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้ ภายหลังสนช. อภิปรายจบ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบวาระ 1 ด้วยคะแนน 174 ต่อ 1 คะแนน และงดออกเสียง 5 คะแนน โดยตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณา 25 คน