ผู้เขียน หัวข้อ: แตกใบอ่อน : อย่าดีแต่พูด (17/12/2557)  (อ่าน 829 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82503
    • ดูรายละเอียด
แตกใบอ่อน : อย่าดีแต่พูด (17/12/2557)
« เมื่อ: ธันวาคม 17, 2014, 09:45:07 AM »
แตกใบอ่อน : อย่าดีแต่พูด (17/12/2557)

ทำท่าจะบานปลายหนักข้อขึ้นทุกที สำหรับสถานการณ์ราคายางพาราที่ยิ่งกว่าดิ่งเหวอยู่ในขณะนี้ ทั้งที่ย้อนกลับไปแค่ 3 ปีกว่าๆ หรือเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ราคายางไทยเคยพุ่งขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ด้วยราคากิโลกรัมละ 174.44 บาท แต่วันนี้ใครมันจะไปคิดว่า ราคายางจะรูดหนักขนาดนี้!
โดยยางแผ่นดิบราคาร่วงมาอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 50 บาท ต่ำกว่าต้นทุนที่อยู่ที่ประมาณ 65 บาท ส่วนน้ำยางดิบยิ่งไม่ต้องพูดถึง หล่นลงมาจนใกล้แตะ 3 โล 100 อยู่รอมร่อ ขณะที่ต้นทุนสูงถึง 60 บาท เท่ากับเกษตรกรชาวสวนยางต้องแบกรับภาระต้นทุนกันหลังอานจนเกษตรกรต้องออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยยื่นเงื่อนไขให้มีการรับซื้อยางแผ่นกิโลกรัมละ 80 บาท น้ำยางดิบกิโลกรัมละ 70 บาท เพื่อให้มีกำไรติดปลายนวมแก่เกษตรกรนิดๆ หน่อยๆ ขณะที่เกษตรกรบางกลุ่มก็เล่นหนักถึงขั้นขับไล่ ?หม่อมอุ๋ย? ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ในฐานะผู้ชงมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางพาราแก่รัฐบาล แต่กลับล่มไม่เป็นท่าดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันร้อนถึง ?อำนวย ปะติเส? ที่ ?หม่อมอุ๋ย? ทาบทามให้มารับตำแหน่ง รมช.เกษตรฯ เพื่อดูปัญหายางพาราได้ไม่กี่สัปดาห์ ถึงกับนั่งไม่ติด ต้องออกมารีบเคลียร์รีบดันมาตรการต่างๆ เพราะขืนยังทนอยู่เฉยต่อไป มีหวังได้เห็นม็อบยางบุกกรุงกันแน่

อย่างไรก็ตาม ปัญหาราคายางที่เกิดขึ้นคงไม่สามารถโทษรัฐบาลฝ่ายเดียวได้ เพราะวิกฤติที่เกิดขึ้นเป็นวิกฤติที่เกิดกันทุกประเทศ เนื่องจากหลายประเทศโดยเฉพาะในแถบอาเซียนไม่ว่าไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา ต่างพากันส่งเสริมขยายที่ปลูกกันยกใหญ่ในตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันมีผลผลิตยางพาราล้นสต๊อกอยู่มากถึง 30%

ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโลกก็ยังอยู่ในช่วงถดถอย ประกอบกับราคาน้ำมันร่วงเอาๆ ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้ยางเป็นวัตถุดิบ หันไปใช้ยางสังเคราะห์ซึ่งมีราคาถูกกว่าแทน ฉะนั้นต่อให้รัฐบาลมีอัศวินขี่มาขาวอีกสักกี่รายมาช่วย ก็ใช่ว่าจะสามารถกอบกู้สถานการณ์ได้ง่ายๆ โดยเฉพาะหากต้องทำตามข้อเรียกร้องของชาวสวนยาง คือ รับซื้อยางแผ่นกิโลกรัมละ 80 บาท และน้ำยางดิบอีกกิโลกรัมละ 70 บาท ก็ยิ่งเป็นไปได้ยาก เพราะจะทำให้รัฐบาลขาดทุนบักโกรกถึง 3-4 หมื่นล้านบาท

ดังนั้นสำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนเช่นนี้ เกษตรกรต้องยอมถอยกลับมาสัก 1 ก้าว ซึ่งการรับซื้อที่ราคา 60 บาท ดูจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้มากที่สุดแต่ขณะเดียวกัน รัฐบาลและโดยเฉพาะกระทรวงเกษตรฯน่าจะต้องถึงเวลาลงมือรื้อโครงสร้างอุตสาหกรรมยางในประเทศอย่างเป็นจริงเป็นจัง ไม่ว่า การเพิ่มความต้องการใช้ยางธรรมชาติในประเทศแทนการส่งออก โดยสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ล้อยาง พื้นสนามกีฬา การส่งเสริมการวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้ายางพารา และการบริหารจัดการพื้นที่ปลูก โดยเน้นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่มากกว่าการขยายพื้นที่ปลูก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่กระทรวงเกษตรฯและหน่วยงานต่างๆ พูดไว้นานแล้วครับ


ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 16 ธันวาคม 2557)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 17, 2014, 09:54:46 AM โดย Rakayang.Com »