ผู้เขียน หัวข้อ: วิกฤต ยางพารา วิกฤต อันเนื่องแต่ "กับดัก" กับดัก ที่วางไว้เอง (17/12/2557)  (อ่าน 869 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82503
    • ดูรายละเอียด
วิกฤต ยางพารา วิกฤต อันเนื่องแต่ "กับดัก" กับดัก ที่วางไว้เอง (17/12/2557)


กรองกระแส

มติชนสุดสัปดาห์ 12-18 ธันวาคม 2557กันยายน 2556ธันวาคม 2557วิกฤตราคายางพาราถือได้ว่าเป็นปัญหาแรกอันถือได้ว่าเป็น "วิกฤต" ที่จะส่งผลสะเทือนต่อรัฐบาลได้อย่างเป็นจริงเป็นวิกฤตในทาง "เศรษฐกิจ"มิใช่วิกฤตในทาง "การเมือง" เพราะหากเป็นการเมือง ความร้อนแรงก็จะดำเนินไปเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2556นั่นก็คือ "ชะอวดโมเดล"นั่นก็คือ การประกาศ "ปิดถนน" โดยมีศูนย์กลางที่บริเวณสหกรณ์โค-ออป สุราษฎร์ธานี เป็นเหมือนศูนย์บัญชาการใหญ่อันเป็นการอุ่นเครื่องก่อน "ชัตดาวน์" กทม. ในเดือนมกราคม 2557สถานการณ์เมื่อเดือนกันยายน 2556 พรรคประชาธิปัตย์ร่วมเคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ทั้งบนท้องถนนและในเวทีรัฐสภาแต่คราวนี้ "ไม่มี"ขณะเดียวกัน ทางด้านพรรคเพื่อไทย และ นปช. ก็ประกาศ "ยุติการเคลื่อนไหว" ตั้งแต่หลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 มาแล้วสถานการณ์คราวนี้จึงเป็น "วิกฤต" จาก "ชาวสวนยาง" อย่างแท้จริงภาวะ ผันผวนวิกฤต ยางพาราสาเหตุแห่ง "วิกฤต" ราคายางครั้งนี้มีรากงอกมาจากปัจจัยอะไรบ้าง นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะตอบได้ดีที่สุด"เป็นไปตามกลไกตลาด"นั่นก็คือ ผลผลิตยางพาราของไทยยังคงอยู่ในปริมาณ 4-6 ล้านตันต่อปี โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงขณะที่ "ตลาดโลก" ลดความต้องการลงความจริง แนวโน้มความตกต่ำของราคายางแสดงให้เห็นตั้งแต่ปลายรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาแล้วตอนนั้นรัฐบาลพยายามแทรกแซงเพื่อตรึงราคาอยู่ที่ 80 บาทต่อ 1 กิโลกรัมแต่เนื่องจากแรงผลักรุนอย่างสำคัญมาจากพรรคประชาธิปัตย์ มาจาก "วาระซ่อนเร้น" ทางการเมือง จึงยืนยันที่จะให้ได้ที่ราคา 120 บาทต่อ 1 กิโลกรัมจากเดือนกันยายน 2556 มาถึงเดือนธันวาคม 2557 ราคายางมีแต่ "ตก" ไม่มี "ขึ้น"ความเป็นจริงนี้ เกษตรกรชาวสวนยางรับรู้อยู่เป็นอย่างดี ภาวะ "นิ่ง" ในเบื้องต้นมาจากความเข้าใจนี้ ประกอบกับ 1 พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่ารัฐบาลเป็นพวกเดียวกับตน 1 พรรคเพื่อไทยไม่ต้องการตกเป็นเป้าทางการเมืองปัญหาที่ปะทุจึงมีจุดเริ่มมาจากคนของรัฐบาลอย่างมีนัยสำคัญกลไกตลาดกลไกราคาแรกที่รัฐบาลก่อรูปขึ้นในเดือนสิงหาคม 2557 มีการเคลื่อนไหวและมีข้อร้องเรียนจากเกษตรกรชาวสวนยางท่าทีจากคนของรัฐบาลให้ความหวัง ให้ความมั่นใจ 2 อย่าง1 คือให้ความมั่นใจว่าราคายางจะไม่หลุดจาก 50 บาทต่อ 1 กิโลกรัม ขณะเดียวกัน 1 ซึ่งสำคัญ มีรัฐมนตรีบางคนให้ความหวังว่าราคายางจะต้องขึ้นไป 60 บาทต่อ 1 กิโลกรัมภายในเดือนพฤศจิกายน 2557ความเป็นจริงนับแต่เดือนสิงหาคม 2557 เป็นต้นมา ก็คือ ราคายางหลุดจากหลัก 50 บาทต่อ 1 กิโลกรัม มาอยู่ที่ประมาณ 40 กว่าบาทตอนปลายต่อ 1 กิโลกรัมโอกาสยากเป็นอย่างยิ่งที่จะ 60 บาทต่อ 1 กิโลกรัมแม้จะมีการจัดงบประมาณก้อนแรก 6,000 ล้านบาท ผ่านกองทุนมูลภัณฑ์กันชนโดยองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) เข้าร่วมประมูลซื้อยางในตลาดกลางเพื่อชี้นำราคาไปสู่เป้าหมาย 60 บาทต่อ 1 กิโลกรัม แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเพราะ อ.ส.ย. ก็ติดเชื้อมาจาก "จำนำข้าว โฟเบีย"เพราะไม่มีใครในรัฐบาลให้หลักประกันว่า หากซื้อแล้วไปขายขาดทุนจะชดเชยส่วนต่างให้หรือไม่ดีไม่ดีอาจถูก "ป.ป.ช." เล่นงาน ดีไม่ดีอาจถูก "คนดี" เรียกร้องให้รัฐบาลจัดการทุกอย่างจึงต้องปล่อยไปตาม "กลไกตลาด" ทุกอย่างจึงต้องปล่อยไปตาม "กลไกราคา" คนที่เคราะห์ร้ายจึงเป็น "ชาวสวนยาง"นี่คือ "กับดัก" อันคนในรัฐบาล "วาง" เอาไว้ด้วยตนเองกับดัก การเมืองกับดัก เศรษฐกิจองค์ประกอบภายในของ "ดรีมทีม เศรษฐกิจ" ตั้งแต่หัวขบวนไล่ลงมาจนถึง "ท้ายขบวน" ล้วนมีปัญหาหัวขบวน เคยเล่นงานโครงการ "จำนำข้าว" อย่างรุนแรงท้ายขบวน เคยเป็นข้าราชการประจำ บางคนก็ดำรงตำแหน่งเป็นถึงอธิบดี ปลัดกระทรวง เคยอยู่ในรัฐบาลที่ถูกกล่าวหาว่า โกงทุกขั้นตอน โกงอย่างเลวร้ายการขับเคลื่อนจึงขาดเอกภาพ ทั้งในทางความคิดและการปฏิบัติบทเรียนจากวิกฤตราคายางพาราอันมีเกษตรกรชาวสวนยางเป็นผู้รับเคราะห์จึงเป็นบทเรียนอันมีค่า ทั้งทางเศรษฐกิจ ทั้งทางการเมือง

ที่มา : มติชนออนไลน์ (17/12/2557)