ผู้เขียน หัวข้อ: บึงกาฬสานสัมพันธ์คณะผู้บริหารนครชิงเต่า แก้ปัญหายางพาราดิ่งเหว (29/12/2557)  (อ่าน 598 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82651
    • ดูรายละเอียด
บึงกาฬสานสัมพันธ์คณะผู้บริหารนครชิงเต่า แก้ปัญหายางพาราดิ่งเหว (29/12/2557)

27 ธ.ค.57 ที่ศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ นายพินิจ จารุสมบัติ นายกสมาคมวัฒนธรรมไทย-จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดบึงกาฬกับ เมืองชิงเต่า  นายพงษ์ศักดิ์ ปรีชาวิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ และนายนิพนธ์ คนขยัน นายก อบจ.บึงกาฬ ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจากนครชิงเต่า(Qing Dao) สาธารณรัฐประชาชนจีน นำโดยซึ่ง Mr.Xue Zujun ประธานกรรมการประจำแห่งสมัชชาผู้แทนประชาชนเขตสื้อไป่นครชิงเต่า Mr.Ai  Wenan รองอธิบดีกรมสำนักการพาณิชย์เขตซื่อไป่นครชิงเต่า Ms.Liu Yongping ผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่การโมเดิร์นสวนอุตสาหกรรมและการวางแผนและการก่อ สร้างสำนักงานเขตสื้อไป่ นครชิงเต่า  Mr.Wang Chunyi  อธิบดีกรมสรรพากร เขตสื้อไป่นครชิงเต่า Mr.Zhang Yan ประธานกรรมการและผู้จัดการใหญ่บริษัทรับเบอร์วัลเลย์ กรุ๊ป จำกัด Mr.Chen Hushen ผู้อำนวยการฝ่ายประเทศไทย บริษัทรับเบอร์วัลเลย์ กรุ๊ป จำกัด และMr.Wang Ruipu เลขาประธานกรรมการและผู้จัดการใหญ่บริษัทรับเบอร์วัลเลย์ กรุ๊ป จำกัด ที่เดินทางมาเยือนจังหวัดบึงกาฬ  เพื่อศึกษาดูงาน ด้านการเพาะปลูก การผลิตวัตถุดิบ จากพืชยางพารา โดยมีวัตถุประสงค์ผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด เรื่องยางพารา เพื่อแสวงหาความร่วมมือของภาครัฐและธุรกิจ ระหว่างจังหวัดบึงกาฬและเมืองชิงเต่า ทั้งในด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ที่จะมีขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งการเจรจาความพร้อมด้านการเตรียมการสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมือง น้อง ระหว่าง นครชิงเต่าและจังหวัดบึงกาฬ ด้วย

จังหวัด บึงกาฬ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ?ศูนย์กลางยางพาราภาคอีสาน สะพานการค้า การท่องเที่ยว บ้านเมืองน่าอยู่ สู่ประชาคมอาเซียน? โดยมีพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุดในภาคอีสาน จึงได้มุ่งส่งเสริมผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยเฉพาะยางพารา การเดินทางไปเยี่ยมเยือนจังหวัดบึงกาฬของคณะผู้แทนจากนครชิงเต่า สาธารณรัฐประชาชนจีน มีกำหนด 2 วันคือในวันที่ 26 ธันวาคม 2557 จังหวัดบึงกาฬจะนำคณะ เยี่ยมชมและศึกษาพื้นที่และเกษตรกรสวนยางพาราแปลงตัวอย่าง โรงงานแปรรูปยางพารา และชุมนุมสหกรณ์ วันที่ 27 ธันวาคม 2557 เดินทางไปแขวงบอลิคำไซ และนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อศึกษาตลาดการค้ายางพารา และเจรจาธุรกิจ

นอก จากนี้ ยังมีการลงนามในบันทึก(MOU)เกี่ยวกับความสัมพันธ์การให้ความร่วมมือของเมือง คู่มิตร ระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ โดยนายนิพนธ์ คนขยัน กับ Mr.Xue Zujun สมัชชาผู้แทนประชาชนเขตสื้อไป่ นครชิงเต่า มณฑลซานตง ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการติดต่อในพื้นที่ ในด้านวิทยาศาสตร์, การศึกษา, วัฒนธรรม, สุขภาพ, กีฬาและการท่องเที่ยว โดยมีข้อตกลง 6 ข้อต่อไปนี้คือ 1. ความร่วมมือฉันท์มิตร ระหว่างทั้งสองฝ่าย มีพื้นฐานอยู่บนหลักการของการเคารพซึ่งกันและกัน ของพันธมิตร และอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศ 2. จะดำเนินการอย่างเต็มที่ ที่จะอำนวยความสะดวกในเงื่อนไขที่ดี ในการประสานงานระดับพื้นที่ ด้านวิทยาศาสตร์ ธุรกิจ และวัฒนธรรม โดยจะสร้างและส่งเสริมการติดต่อโดยตรง ระหว่างธุรกิจกับองค์กรอื่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมยางพารา 3. คู่ค้า จะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนในพื้นที่ ด้านวัฒนธรรม, การศึกษา, การพัฒนาเศรษฐกิจ และในด้านอื่น ในการที่จะช่วยประชาชนได้มีความคุ้นเคยกับด้านอื่นด้วย 4. คู่ค้าจะปลูกฝังวิธีการอื่น ในการส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์ 5. ทั้งสองฝ่ายจะจัดการแลกเปลี่ยน ด้านข้อมูล การจัดนิทรรศการ และวัสดุอื่นๆ และ 6. กิจกรรมที่เป็นรูปธรรมในแต่ละปี จะมีการตกลงกันในระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการร่วมกัน ในความร่วมมือเมืองคู่มิตร โดยบันทึกนี้จะมีผลบังคับใช้ ในวันที่ลงนาม และข้อตกลงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ เมืองคู่มิตร จะมีผลบังคับใช้ หลังจากที่ได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจอนุมัติที่เกี่ยวข้องของทั้งสอง ฝ่าย

นาย พงษ์ศักดิ์ ปรีชาวิทย์ ผวจ.บึงกาฬ กล่าวว่า จังหวัดบึงกาฬจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2554 มียุทธศาสตร์การพัมนาจังหวัด ?ศูนย์กลางยางพาราภาคอีสาน สะพานการค้า การท่องเที่ยว บ้านเมืองน่าอยู่ สู่ประชาคมอาเซียน? นับเป็นโอกาสที่ดีที่สุดของจังหวัดบึงกาฬที่ได้ต้อนรับคณะจากนครชิงเต่า ประเทศจีน ที่จะสามารถร่วมมือพัฒนาเครือข่ายยางพาราให้เป็นที่ยอมรับของประชาคมโลกใน อนาคต จังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย นับเป็นแหล่งวัตถุดิบใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ นครชิงเต่า เป็นเมืองท่าที่ใหญ่ และเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีน และบริษัท รับเบอร์วัลเล่ย์ จำกัด ซึ่งเป็นองค์กรที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีและยางพาราอย่างครบวงจรและ ยั่งยืน ก็มีที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ที่เขตสื้อไป่ นครชิงเต่า มณฑลซานตง ที่เป็นศูนย์กลางการค้า การวิจัย การแสดงนิทรรศการและวัฒนธรรม ศูนย์การฝึกฝนและแลกเปลี่ยนทักษะและเป็นศูนย์ข้อมูลยางพารา รวมทั้งเป็นตัวแทนในการซื้อขายยางพารา อย่างครบวงจร ดังนั้น ซื่อไป่ และบึงกาฬ มีความเหมือนที่จะเกื้อหนุนพัฒนาความสัมพันธ์เป็นภาคีเครือข่าย ไม่เฉพาะเรื่องยางพารา ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีระหว่างสองเมือง ในการเสริมสร้างความสุขให้แก่ประชาชนทั้งสองประเทศ ในโอกาสนี้ ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูง ที่ท่านพินิจ  จารุสมบัติ  ประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ที่ได้กรุณาเป็นผู้ประสานงานและเป็นเจ้าภาพให้การต้อนรับ รับรอง คณะผู้แทนของสาธารณรัฐประชาชนจีน อันเป็นการช่วยเหลือภาครัฐ และสร้างโอกาสให้แก่ประชาชนจังหวัดบึงกาฬ โดยเฉพาะเกษตรกรสวนยางพารา ที่จะได้รับโอกาส ด้านการแสวงหาความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และเอกชน ทั้งในด้าน วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม การศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจ และด้านอื่นๆ โดยเฉพาะด้านธุรกิจยางพารา อย่างที่กล่าวมาข้างต้น

อีก ทั้งยังเป็นโอกาส ในการพัฒนาด้านความสัมพันธ์ระดับท้องถิ่น เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาให้สูงยิ่งขึ้นไปในระดับจังหวัด และระดับประเทศ ในเรื่องการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองคู่มิตรในอนาคตอันใกล้  เพื่อให้มีความใกล้ชิดกันเป็นพิเศษ ยิ่งๆ ขึ้นอันจะส่งผลดีต่อความร่วมมือและความสัมพันธ์ระดับท้องถิ่น ที่จะเสริมสร้างความสมบูรณ์พูนสุขให้กับประชาชนของทั้งสองเมือง

ทางด้าน นายนิพนธ์ นายก อบจ.บึงกาฬ กล่าวว่าอยากร้องขอให้ บริษัท รับเบอร์วัลเลย์ กรุ๊ป จำกัด มาตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์ที่จังหวัดบึงกาฬ รวมทั้งที่กำลังศึกษาอยู่ว่าจะนำยางพารามาหล่อดอกยางรถ 10 ล้อมือสอง ซึ่งมีคณาจารย์จาก ม.ธรรมศาสตร์กำลังศึกษาอยู่เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนการผลิตลง จะทำให้เกษตรผู้ปลูกยางพาราได้ประโยชน์ เนื่องจากราคายางพาราขยับสูงขึ้นไปด้วย



นายพินิจ  กล่าวว่า การผลิตยางรถยนต์ในประเทศไทยมีอยู่ 7 บริษัท 7 แบรนด์ แต่เมื่อราคายางพาราตกลงมาต่ำที่สุดเช่นนี้ ราคายางรถยนต์ทำไมจึงไม่ลดลงมาด้วย จึงอยากจะเรียกร้องให้รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ได้ตรวจสอบด้วยว่าเป็นเพราะ อะไร หรือมีอะไรแอบแฝงอยู่  เพราะตอนราคายางพาราขายได้ราคาดีทางบริษัทก็ขยับราคาขึ้นตามอ้างว่าวัตถุดิบ คือยางพารามีราคาสูง


ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 27 ธันวาคม 2557)