ผู้เขียน หัวข้อ: ANRPC ระบุว่า ความต้องการยางธรรมชาติที่สูง ไม่ได้หมายความว่าราคายางจะสูงตามไปด้วย  (อ่าน 1308 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82591
    • ดูรายละเอียด
ANRPC ระบุว่า ความต้องการยางธรรมชาติที่สูง ไม่ได้หมายความว่าราคายางจะสูงตามไปด้วย

ลงวันที่ 29/05/2560

อุปสงค์ยางธรรมชาติทั่วโลกคาดว่าจะมีมากกว่าอุปทานในปีนี้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศผู้ผลิตยางหลัก 11 ประเทศเตือนว่า ความต้องการยางที่สูงไม่ได้หมายความว่า ราคายางที่ขึ้นสูงเมื่อเร็วๆ นี้ จะยังคงสูงต่อไป
สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (the Association of Natural Rubber Producing Countries หรือ ANRPC) คาดการณ์ว่า อุปสงค์ยางธรรมชาติทั่วโลกสำหรับทั้งปี จะอยู่ที่ 12.817 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 จากปี 2016 ในขณะที่อุปทานของโลกทั้งจากประเทศสมาชิก  ANRPC และที่ไม่ใช่ประเทศสมาชิก จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เทียบกับปีก่อน ที่ 12.771 ล้านตัน

อุปทานของยางธรรมชาติคาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ในช่วงสี่เดือนแรกของปี 2017 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ไทยและอินโดนีเซียมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 60 ของอุปทานยางธรรมชาติของโลก และในขณะที่การผลิตในอินโดนีเซียเพิ่มขี้นร้อยละ 6.7 การผลิตของไทยลดลงร้อยละ 7.1 ระหว่างเดือนมกราคม ? เมษายน 2017
ในช่วงสี่เดือนแรกของปี ความต้องการยางธรรมชาติทั่วโลกคาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ความต้องการเพิ่มขึ้นในช่วงสี่เดือนแรก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในจีน และร้อยละ 3.0 ในอินเดีย

จากข้อมูลจริงของอุปทานและอุปสงค์ในเดือนมกราคม 2017 และการคาดการณ์เบื้องต้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ? เมษายน 2017 รวมทั้งตัวเลขคาดการณ์ของเดือนที่เหลือของปี อุปทานยางธรรมชาติทั่วโลกน่าจะยังมีน้อยกว่าอุปสงค์ จนถึงเดือนธันวาคม 2017 และคาดว่าอุปทานที่น้อยกว่าอุปสงค์ จะค่อยๆ กว้างขึ้นจนถึง 688,000 ตันในเดือนมิถุนายน ก่อนที่จะค่อยๆ แคบลงมาในเดือนที่เหลือจนถึง 46,000 ตันในเดือนธันวาคม

เมื่อมองไปข้างหน้า สมาคม ANRPC คาดว่า ตลาดยางธรรมชาติจะได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัยในระยะสั้น อุปทานส่วนเกินในอนาคตที่เกิดจากโครงการปลูกยางจำนวนมากเมื่อเจ็ดปีที่แล้ว ได้เห็นผลในตลาดยางธรรมชาติ ในขณะที่ความตกลงในการลดการผลิตน้ำมันดิบต่อไปอาจทำให้ราคายางธรรมชาติสูงขึ้น ปัจจัยที่สามที่มีผลต่อตลาด คือ ปรากฏการณ์บ่อยครั้งที่ราคายางธรรมชาติมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกับตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ที่กว้างกว่า โดยไม่คำนึงถึงอุปสงค์/อุปทาน ทั้งนี้ เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการณ์ว่า ดัชนีราคาสำหรับ ?สินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหมด? จะสูงขึ้นร้อยละ 18 ในปี 2017 เมื่อเทียบกับปีก่อน และท้ายสุด เงินเหรียญสหรัฐฯที่แข็งค่าถูกมองว่าเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของตลาดยางธรรมชาติ

รายงานล่าสุดของตลาดยางธรรมชาติของ ANRPC สรุปว่า ราคายางธรรมชาติในอีกสามเดือนข้างหน้า จะถูกกำหนดโดยแนวโน้มของสินค้าโภคภัณฑ์โดยทั่วไป และน้ำมันดิบโดยเฉพาะ สมาคมฯ มั่นใจว่า พลวัตของอุปทานและอุปสงค์จะยังคงทำให้ผู้ผลิตยางธรรมชาติได้รับประโยชน์ต่อไปตลอดปี 2017 โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี อย่างไรก็ตาม สมาคมฯ เตือนว่า จากปัจจัยอื่นๆ ที่มีมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากอุปสงค์และอุปทาน หมายความว่า ราคาอาจไม่สะท้อนสภาพอุปสงค์-อุปทานที่น่าพอใจที่คาดการณ์ใว้ในปี 2017



 ที่มา: https://globalrubbermarkets.com/49397/anrpc-high-demand-natural-rubber-doesnt-necessarily-mean-high-prices.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 06, 2017, 07:56:35 AM โดย Rakayang.Com »