ผู้เขียน หัวข้อ: ย้อนรอย(อดีต)ที่ราคาเข้าใกล้ 4 โล 100 ช่วงไหน  (อ่าน 588 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82486
    • ดูรายละเอียด
ย้อนรอย(อดีต)ที่ ราคาเข้าใกล้ 4 โล 100 ช่วงไหน


8 ม.ค.2563 เพจ เรื่องเด่นเย็นดีช่อง 3

(หมายเหตุ ณ.จุดนี้ชี้ให้เห็นว่าราคายังไม่ถึงจุดต่ำสุด ณ.ช่วงต้นเดือนมกราคม)
สมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย มีมติเอกฉันท์ให้จัดการชุมนุมเรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลราคายางอย่างจริงจัง หลังพบราคาน้ำยางสดช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาตกต่ำผิดปกติ เชื่อกลางน้ำกดราคา ทำราคาน้ำยางร่วงเหลือ 28 บาทต่อกิโลกรัม

นายมนัส บุญพัฒน์ นายกสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย (ส.ค.ย.) เปิดเผยภายหลังการประชุมสมาชิกสมาคมฯและพันธมิตร ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางเข้าร่วมกว่า 100 ราย ว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้จัดการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลราคายางอย่างจริงจัง หลังพบว่าราคาน้ำยางสด ช่วงวันที่ 28-31 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ร่วงต่ำผิดปกติ

โดยราคาน้ำยางที่เกษตรกรขายให้กับยี่ปั๊ว อยู่ที่กิโลกรัมละ 28 บาทเท่านั้น ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นการกดราคาจากกลางน้ำ เนื่องจากไม่มีปัจจัยที่เข้ามากระทบอย่างมีนัยสำคัญ โดยโรงงานน้ำยางข้นประกาศราคารับซื้อที่ราว 32 บาทเศษ ส่งผลให้ราคาขายน้ำยางสด ที่เกษตรกรสามารถขายให้ผู้ประกอบการที่มารับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 28 บาท อย่างเลี่ยงไม่ได้

สำหรับข้อเรียกร้องที่สมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแล เบื้องต้นประกอบด้วย
1. ขอให้รัฐมีมาตรการควบคุมการซื้อขายยางอย่างใกล้ชิด และจริงจัง ของตลาดซื้อขายยางพาราทุกชนิดในประเทศอย่างยุติธรรม
2. ขอให้ชดเชยรายได้ชาวสวนยางตามโครงการ ตามสภาพราคาที่แท้จริง ที่เกษตรกรขายได้ในแต่ละชนิดยาง
3. โครงการชดเชยฯ ต้องครอบคลุมถึงเกษตรกรชาวสวนยางที่ปลูกไว้ในที่ดินอื่น ๆ โดยไม่นับเอาเฉพาะสวนยางตามเอกสารสิทธิ์ที่ กยท.กำหนดและได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นกลุ่มจำกัด
4. ขอให้ดูแลให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุน อุปกรณ์และการค้ำประกันเครดิตเพื่อช่วยพยุงเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรที่แปรรูปยางอย่างทั่วถึง เนื่องจากกลุ่มนี้ประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง
5. ขอให้ตรวจสอบและดำเนินการเอาผิดอย่างถึงที่สุดกับพนักงาน หรือ ข้าราชการทุกระดับที่เคยทุจริต และกำลังทุจริตในโครงการต่าง ๆ ที่ทำให้เงินส่วนราชการและเงินของการยางฯ เสียหายสูญเปล่า

โดยในวันนี้ สมาคมฯ จะมีการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการชุมนุมในรายละเอียดเพื่อเปิดเผยต่อสาธารณะภายใน 2 วันนี้ เบื้องต้นยังไม่มีการรายงานเวลา และ สถานที่ชุมนุม

สำหรับแนวโน้มการผลิตยางในปี 63 นายมนัส ประเมินว่าจะปริมาณน้ำยางปีนี้จะลดลงกว่าปีที่แล้วกว่า 50% เนื่องจากสวนยางได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่มาเร็วและยาวนาน ทำให้ยางรับน้ำน้อย ประกอบกับมีปัญหาโรคใบร่วงระบาดในพื้นที่สวนยางภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่งผลให้ต้องกรีดน้ำยางเร็วกว่าปกติ

ด้านนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) เปิดเผยว่าปัญหาดังกล่าวควรใช้ พรบ.ควบคุมราคายาง ปี 42 เข้ามากำกับดูแล เนื่องจากปัจจุบันเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยกว่า 80% ไม่ได้เข้าระบบตลาดกลางยางพารา และ เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากราคายางตกต่ำต่อเนื่อง และถูกกดราคามากที่สุด