ผู้เขียน หัวข้อ: ไอ้โม่งเอาอีกพัวพันยางหลวง  (อ่าน 980 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82610
    • ดูรายละเอียด
ไอ้โม่งเอาอีกพัวพันยางหลวง
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2015, 11:03:42 AM »
ไอ้โม่งเอาอีกพัวพันยางหลวง



ไอ้โม่งยางพาราโผล่อีกแล้ว โรงรมแฉเองลักไก่ส่งเกรดต่ำเข้าโครงการมูลภัณฑ์กันชน "แพสุขชื่นรับเบอร์"หน่วยกล้าตาย ทำจดหมายฟ้อง "อำนวย"ขอตีกลับสินค้าคืนระบุต้นทางจาก 2ตลาดกลาง "บุรีรัมย์หนองคาย" บิ๊กสถาบันวิจัยยาง-กรมวิชาการเกษตรยันไม่เกี่ยว โบ้ย อ.ส.ย.คนคุมคุณภาพ จับตายางอีสานหยุดกรีด แต่มีของประมูลส่อทุจริต ด้านไชน่าไห่หนาน ยังค้างรับมอบสต๊อกเก่ากว่า 2.06 แสนตัน


นายสมศักดิ์ แพสุขชื่น กรรมการผู้จัดการบริษัทแพสุขชื่นรับเบอร์ จำกัด หนึ่งในบริษัทเอกชนที่รับจ้างรมควันยางแผ่นดิบเป็นยางแผ่นรมควัน และอัดก้อนยางแผ่นรมควันจากโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพ ราคายางของรัฐบาลที่ซื้อยางชี้นำตลาด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 บริษัทได้ทำหนังสือ ถึง ผู้อำนวยการโครงสร้างมูลภัณฑ์กันชนฯ (นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) เรื่องการส่งมอบยางในโครงการ ทั้งนี้สืบเนื่องจากโครงการได้กำหนดให้บริษัทเป็นจุดรับมอบยางในโครงการ เพื่อให้ดำเนินการส่งมอบ-รับมอบ ยางของเครือข่ายตลาดกลางยางพาราเป็นไปด้วยความเรียบร้อย คุณภาพยางถูกต้องตามมาตรฐานของสถาบันวิจัยยาง ทางบริษัทจึงได้ขอคัดคุณภาพยางที่ไม่ได้มาตรฐานส่งคืนและให้ทางเครือข่าย ตลาดกลางดำเนินการนำยางที่ได้คุณภาพมาตรฐานมาเปลี่ยนให้บริษัท รวมปริมาณยางที่ไม่ได้คุณภาพทั้งสิ้น 200 กิโลกรัม จากจำนวนยางที่รับในวันนั้น 2 แสนกิโลกรัม คิดเป็นสัดส่วน 2%


ล่าสุด นายสังข์เวิน ทวดห้อย หนึ่งในคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)กล่าวว่า ได้รับการติดต่อจากนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ หนึ่งใน กนย.ที่ได้รับคำสั่งจากนายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ที่กำกับดูแลยางทั้งระบบ ให้ไปตรวจสอบเรื่องดังกล่าว จึงได้ลงพื้นที่พบมีรถขนส่งยางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือจอดรถรอคิวลงยางอยู่ 18 รถพ่วง ตรวจสอบพบว่าเป็นยางคุณภาพ 3 จากตลาดกลางยางพาราบุรีรัมย์และเครือข่ายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่งมา ได้แก่ ยางแผ่นจากตลาดกลางยางพาราบุรีรัมย์ ประมาณ 206 ตัน ยางแผ่นจากเครือข่ายชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางอุบลและสกย.อุบลราชธานี ประมาณ 173 ตัน และจากตลาดกลางยางพาราจังหวัดหนองคาย ประมาณ 126 ตัน รวมประมาณ 505 ตัน


"จากที่ได้ให้นำยางลงจากรถพ่วงจำนวน 4 คัน พบว่ามียางไม่ได้มาตรฐานบางส่วน แต่ยังไม่ทราบจำนวนแน่นอน ยางดังกล่าวมาจากจุดรวมยางทั้ง 3 แห่ง ลักษณะยางที่ไม่ได้มาตรฐานประกอบด้วย ยางแผ่นหนาเกินกว่า 5 มิลลิเมตร น้ำหนักต่อแผ่นมากกว่า 1.5 พันกรัม แผ่นสั้นกว่าปกติไม่ถึง 80 เซนติเมตร และมีสิ่งสกปรก มีฟองอากาศอยู่ในแผ่นมาก ยาวสีทึบและคล้ำกว่าปกติ รวมทั้งชื้นเกินกว่า 5% จึงได้เจรจากับบริษัท แพสุขชื่นรับเบอร์ฯ ให้ลงยาง และคัดยางที่ไม่ได้คุณภาพดังกล่าวออกไว้ก่อน


ด้านนายเพิก เลิศวังพง ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางจันทบุรี กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการฟ้องรัฐบาลที่ระบุว่าไม่มีโกง ไม่มียางจากพ่อค้ามาขายในโครงการ มีแต่ยางจากเกษตรกรเท่านั้น ขณะเดียวกันยางในสต๊อกเดิมของรัฐบาลที่มีอยู่ราว 2.1 แสนตัน เป็นจิตวิทยาที่กดดันราคาไม่ขยับ ทั่วโลกรับรู้ ซึ่งตรงนี้รัฐบาลต้องแจงว่าสต๊อกดังกล่าวขายไปแล้วหรือยัง ขายแล้วเท่าไหร่ ยางเสียเท่าไร ไม่ใช่งุบงิบ เพราะจริงๆ แล้วการยกเลิกดีลซื้อขายยางกับบริษัทของยี่ฟังเหลียนขององค์การสวนยาง(อ.ส. ย.) ที่ไม่มีเงินวางค้ำประกัน 5% ควรจะเป็นบทเรียนให้รัฐบาลระงับการขาย แต่กลับสวนทางขายให้กับรายที่ 2 คือ ไชน่า ไห่หนาน รับเบอร์ อินดัสทรี กรุ๊ป


"จะเห็นว่ามีการส่อทุจริต สัญญาเอื้อเอกชน ไม่ได้ส่งผลดีต่อชาติเลย ส่วนการรับซื้อในโครงการมูลภัณฑ์กันชนรอบแรกใช้เงินไปกว่า 6 พันล้านบาทนั้นไม่ได้ถึงมือเกษตรกรเลย ต้องเปลี่ยนนโยบายการรับซื้อใหม่ในช่วงใกล้ปิดกรีดยาง นับว่าเป็นความล้มเหลวทางนโยบาย"


นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวถึงกรณีบริษัท แพสุขชื่นรับเบอร์ฯ ได้ขอคัดยางที่คุณภาพไม่ได้มาตรฐานส่งคืนเครือข่ายตลาดกลาง และนำยางที่ได้คุณภาพมาตรฐานมาเปลี่ยนให้แทนเรื่องนี้ ได้รับรายงานจาก ดร.พิเชฏฐ์ พร้อมมูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง ว่า ทางบริษัทดังกล่าววันนั้นมีหนังสือว่าปิดทำการวันตรุษจีน จึงให้ไปส่งอีกที่หนึ่งแทน วันนั้นไม่ได้เปิดทำการ แต่ต่อมาก็มีหนังสือแจ้งกลับมาว่ามียางไม่ได้มาตรฐานขอส่งคืน เรื่องนี้ชอบกลอยู่


อย่างไรก็ดีทางกรมรับผิดชอบ 6 ตลาดกลาง ได้แก่ ตลาดกลางยางพาราสงขลา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา บุรีรัมย์ และหนองคาย จะเป็นคนคัดคุณภาพยางเข้าตลาดกลาง และดูแลตลาดให้มีความเรียบร้อย หลังจากนั้นผู้ซื้อในตลาด ได้แก่ อ.ส.ย.จะทำหน้าที่รับสินค้าให้กับโรงรมแปรรูปยาง แล้วเก็บเข้าโกดังกลาง มองว่าอ.ส.ย. เป็นหน่วยงานที่ซื้อขายยาง เชื่อว่ามีความชำนาญเพียงพอที่จะไม่ปล่อยให้ยางคุณภาพไม่ดีเข้าเก็บใน โครงการรัฐบาล


สอดคล้องกับ ดร.พิเชฏฐ์ พร้อมมูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง ว่า หน้าที่ตลาดกลาง ทำหน้าที่ซื้อขายยางในตลาดให้มีการดำเนินการปกติ เรียบร้อย แต่หน้าที่การขนส่ง และรับมอบสินค้าเข้าโกดังกลางเก็บในคลังนั้นเป็นหน้าที่ของ อ.ส.ย.ที่จะต้องตรวจสอบคุณภาพของสินค้าก่อนเข้าเก็บว่าได้มาตรฐานหรือไม่ ส่วนเรื่องที่มีการอายัดยางพาราไว้ ในส่วนที่ถูกกล่าวหาว่าไม่ได้มาตรฐาน หรือถ้าส่งคืนสินค้าตีกลับมาที่ตลาดกลางนั้นทางบริษัทมีอำนาจกระทำได้หรือ ไม่


แหล่งข่าวจากตลาดกลางยางพาราแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าในโครงการมูลภัณฑ์กันชน ของรัฐบาลมีช่องโหว่เปิดโอกาสให้พ่อค้านำยางมาเวียนเทียนขายในตลาด มากกว่าที่จะเป็นเกษตรกร จึงทำให้มีตลาดกลางบางแห่ง ตั้งกฎขึ้นมาป้องพ่อค้าเข้ามาสวมสิทธิ์ขายในโครงการ ห้ามนิติบุคคลเข้ามาขาย ให้มาขายรูปแบบสหกรณ์ หรือถ้ามาขายเป็นนิติบุคคลก็ให้มาขายไม่เกิน 5 ตัน เพราะศักยภาพของเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ถึง 100 ตัน แต่ที่มาส่งประมูลขายตลาดกลางรับสูงมากวันละ 1-3 พันตัน ถามว่ายางมาจากไหน โครงการนี้เอื้อผลประโยชน์ให้กับใคร เพราะ 6 พันล้านบาทก้อนแรกละลายไปในพริบตา


"ส่วน "ไอ้โม่ง" ทั้งเวียนเทียนขายยาง ทุบราคายางในตลาด นำยางมาสวมสิทธิ์ขาย ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือพ่อค้า ถ้ารัฐบาลเอาจริง แกะรอยเส้นทางตั้งแต่ต้นทาง ตลาด โรงรม จนถึงเข้าโกดังกลาง จะทราบทันทีว่ากระบวนยางมีการเล่นแร่แปรธาตุอย่างไร" แหล่งข่าวกล่าวและว่า


ตั้งข้อสังเกตง่ายๆ ยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเวลานี้ได้ปิดกรีดแล้ว แต่ทำไมยังมียางแผ่นดิบ และยางแผ่นรมควัน เข้าตลาดกลางอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่จำกัดสิทธิ์คุณสมบัติ โกดังเอกชนที่เก็บ ก็ไม่ได้แยกชัดเจนว่าเป็นของรัฐบาล หรือของพ่อค้า ก็นำไปเก็บที่เดียวกัน จึงมีปัญหา


แหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เปิดเผยถึงการประชุม กนย.ครั้งที่ 1/2558 (19 ก.พ.58) ณ ทำเนียบรัฐบาลว่า ทาง อ.ส.ย.ได้รายงานการส่งมอบยางให้กับบริษัท ไช่น่า ไห่หนาน รับเบอร์ อินดัสทรี กรุ๊ปฯ ได้มีการส่งมอบยางครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 27-28 ธันวาคม 2557 จำนวน 377.774 ตัน (20 ตู้คอนเทนเนอร์) เป็นยางจัดชั้นไม่ได้ราคากิโลกรัมละ 46.68 บาท คิดเป็น 1.426 พันดอลลาร์สหรัฐฯต่อตันส่วนครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 23-27 มกราคม 2558 จำนวน 930.990 ตัน (49 ตู้คอนเทนเนอร์) เป็นยางจัดชั้นไม่ได้ราคากิโลกรัมละ 43.17 บาท คิดเป็น 1.319 พันดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน รวมส่งมอบยางทั้งสิ้น 1.308 พันตัน


สรุปสต๊อกยางในโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรฯ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ มียางทุกประเภทที่ไชน่าไห่หนาน ยังค้างรับมอบในสต๊อกเดิมทั้งสิ้น 2.06 แสนตัน แยกเป็นยางแผ่นรมควันทุกประเภท จำนวน 1.74 แสนตัน และยางแท่ง STR20 จำนวน 3.21 หมื่นตัน


ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ


 
27/2/2015