ผู้เขียน หัวข้อ: ไอเดียพลิกวิกฤต หนุ่มสวนยาง ผันตัวปลูกสตรอเบอรี่ในกระถาง รายได้เดือนเป็นแสน  (อ่าน 595 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82609
    • ดูรายละเอียด
ไอเดียพลิกวิกฤต หนุ่มสวนยาง ผันตัวปลูกสตรอเบอรี่ในกระถาง รายได้เดือนเป็นแสน

วันที่ 07 มกราคม  พ.ศ. 2559 เวลา 07:00:00 น ที่มา มติชน



หนุ่มสวนยาง ไอเดียเจ๋ง ผันอาชีพสวนยางไปทำอาชีพปลูกสตiอเบอรี่ฤดูหนาวขายทำเงิน เดือนละแสน ชดเชยยางพารา ราคาตกต่ำ เผยดูแลง่าย ทำเงินเร็วต้นทุนต่ำ ด้าน อบต.พิมาน ขานรับวางแผนนำร่อง ส่งเสริมปลูกสร้างอาชีพ หนุนเที่ยวเชิงเกษตร

เมื่อวันที่ 6 มกราคม  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม  นายสมพิศ  ชูสังฆ์ อายุ 48 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 127 หมู่ 6 บ้านดอนพัฒนา ต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม  เกษตรกรชาวสวนยาง ที่กำลังประสบปัญหาราคายางพาราตกต่ำมานาน เกือบ 2 ปี ต้องแบกภาระต้นทุน และหนี้สินในการทำสวนยาง จนกระทั่งเกิดแนวคิดจากการไปศึกษาดูงาน ก่อนหันมาทดลองปลูกสตรอเบอรี่ ผลไม้เมืองหนาว เพื่อหาทางสร้างรายได้ชดเชย  เพราะมองว่าเป็นผลไม้ที่หายาก และมีราคาแพง หากสามารถเพาะปลูกดูแลได้ จะสามารถสร้างรายได้อย่างแน่นอน 

โดยได้เริ่มทดลองปลูกมาตั้งแต่ปี 2556  ถึงปัจจุบันได้ประสบความสำเร็จ สามารถเก็บผลผลิตออกจำหน่ายได้ และสามารถเรียนรู้วิธีการดูแล บำรุงรักษา รวมถึงการขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ทำให้มีลูกค้ามาสั่งซื้อพันธุ์ต้นสตรอเบอรี่ ที่บรรจุลงในกระถางจำนวนมาก จนไม่สามารถจะขยายพันธุ์ได้ทัน  เนื่องจากมีเกษตรกรจำนวนมาก ต้องการนำไปทดลองปลูก สร้างรายได้ จนไม่ต้องปลูกเพื่อรอเก็บผลผลิต แต่ส่วนใหญ่จะเน้นขายพันธุ์สตรอเบอรี่บรรจุกระถางแทน ซึ่งใช้ระยะเวลาเพียงแค่ประมาณ 1-2 เดือน สามารถขายได้กระถางละประมาณ 120-150 บาท  โดยในช่วงเดือนที่ผ่านมาทำให้มีรายได้เดือนละเป็นแสน

เกษตรกรผู้คิด ค้นปลูกสตรอเบอรี่แทนยางพารารายนี้กล่าวว่า เดิมตนมีอาชีพทำสวนยางพารามีสวน ยางประมาณ20ไร่ปลูกมาประมาณ10ปีแต่ประสบปัญหาราคาตกต่ำมานานเกือบ2ปีส่งผล ให้แบกภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายจึงตัดสินใจทำอาชีพเสริม นอกจากจะเป็นช่างซ่อม ยังได้หันมาศึกษาปลูกสตรอเบอรี่ผลไม้เมืองหนาว เนื่องจากคิดว่าจะขายได้ราคาดี เพราะเป็นที่นิยมของตลาด ก่อนหันลงมือปลูกจากที่เคยไปศึกษาดูงาน และใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง จนกระทั่งประสบความสำเร็จปีที่ผ่านมาสามารถเก็บผลผลิตส่งขายได้ 

อีกทั้งมีการขยายพันธุ์เอง โดยการเพาะชำต้นกล้าสตรอเบอรี่ใส่กระถาง  ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน กิ่งลำต้นของสตรอเบอรี่จะออกรากติดกับกระถางเพาะชำขนาดเล็ก  ก่อนนำมาลงดินบรรจุในกระถางใหญ่ ดูแลใส่ปุ๋ยรดน้ำประมาณ 1 เดือน รวมระยะเวลา ประมาณ 2 เดือน  จนกล้าพันธุ์มีความแข็งแรง  สามารถขายกล้าเพาะชำ ต้นสตรอเบอรี่ได้แล้วในราคา ประมาณกระถางละ 120 -150 บาท  และมีเกษตรกรมีความสนใจมาสั่งซื้อจำนวนมาก ทำให้ไม่พอขาย และไม่ต้องรอถึงเก็บผลผลิต

ส่วนระยะเวลาในการปลูกต้นสตรอเบอรี่ จะใช้เวลาปลูกประมาณ 3 - 4 เดือน จะออกผล สามารถเก็บผลผลิตได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแล และสภาพอากาศ  ซึ่งจะออกผลปีละครั้งในช่วงฤดูหนาว  ส่วนใหญ่จะปลูกพันธุ์ พระราชทาน 80 ที่นำมาจากทางภาคเหนือ  ซึ่งการดูแลนั้นไม่ยากเท่าที่ควร แต่ต้องมีเวลาดูแลเอาใจใส่หมั่นรดน้ำใส่ปุ๋ย จะทำให้ผลผลิตออกดี  แต่ส่วนใหญ่ต้นไม่ได้ทันเก็บผลผลิตมีลูกค้ามาสั่งซื้อกล้าพันธุ์จำนวนมากจนผลิตไม่ทัน 

ปัจจุบันมีออเดอร์สั่งประมาณ 10,000 ต้น ในอนาคตจะมีการพัฒนา ทำแปลงดินปลูก นอกเหนือจากการปลูกลงกระถาง เพื่อให้เกษตรกรที่สนใจมาศึกษาเยี่ยมชม และสามารถนำไปทดลองปลูกได้  เชื่อว่าอาชีพปลูกสตรอเบอรี่ จะเป็นอาชีพการเกษตรทางเลือกใหม่ ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทาง  เพราะเป็นผลไม้ที่มีความต้องการของตลาดภาคอีสานสูง ราคาผลผลิต สูงถึงกิโลกรัมละประมาณ 300-350 บาท  ส่วนเรื่องสภาพอากาศเชื่อว่าสามารถปลูกได้  ไม่แพ้ภาคเหนือ  แต่ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลให้ถูกวิธีด้วย  ใครสนใจยินดีที่จะให้คำปรึกษาแนะนำ สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 08-8533-5337

ขณะที่นายบัญชา ศรีชาหลวง นายก อบต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม ได้มีการหารือ เพื่อสร้างความร่วมมือ  วางแผนจัดสรรงบประมาณมาส่งเสริมสนับสนุน นำไปขยายเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ รวมถึงหาแนวทางมาพัฒนาต่อยอด ปรับพื้นที่ปลูกทำสวน แทนการเพาะปลูกในกระถาง  เพื่อเป็นการส่งเสริมการเกษตรทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ได้มีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังจะได้วางแผนงานยกระดับให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในการปลูกสตรอเบอรี่ผลไม้เมืองหนาว  ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน 

อีกทั้งจะได้สอดคล้องกับการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์  เนื่องจากเป็นจุดที่ใกล้ เป็นเส้นทางเดียวกันกับอนุสรณ์สถานแห่งความสงบภูพานน้อย อดีตพื้นที่เคยต่อสู้ระหว่างคอมมิวนิสต์กับทางภาครัฐ  ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์  และจะมีการพัฒนาให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ให้ประชาชนในพื้นที่ทำการเกษตร ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสร้างรายได้  เน้นปลูกพืชผัก ผลไม้เมืองหนาว เพราะมีความต้องการของตลาดสูง