ผู้เขียน หัวข้อ: ดูแลสวนยางช่วงหน้าฝน - บอกกล่าวเล่าขาน  (อ่าน 1809 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82678
    • ดูรายละเอียด
ดูแลสวนยางช่วงหน้าฝน - บอกกล่าวเล่าขาน

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2556 เวลา 00:00 น.



การใส่ปุ๋ย เป็นกิจกรรมสำคัญที่ชาวสวนยางต้องทำในช่วงฤดูฝน เพื่อเพิ่มประสิทธิ???าพการผลิตยางพารา โดยสูตรปุ๋ยยางพารา ที่สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร แนะนำให้ใช้ในปัจจุบันมี 3 สูตร ซึ่งมีความเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยางแตกต่างกัน ได้แก่ ปุ๋ยสูตร 20-8-20 เหมาะสำหรับยางก่อนเปิดกรีดในเขตปลูกยางเดิม คือ ???าคใต้และ???าคตะวันออก ปุ๋ยสูตร 20-10-12  เหมาะสำหรับยางก่อนเปิดกรีดในเขตปลูกยางใหม่ คือ ???าคตะวันออกเฉียงเหนือและ???าคเหนือ และ ปุ๋ยสูตร 30-5-8 เหมาะสำหรับยางเปิดกรีดแล้วในทุกเขตปลูกยาง โดยมีเวลาและอัตราที่เหมาะสมสำหรับใส่ปุ๋ย

 นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ส่วน การใส่ปุ๋ยบำรุงสวนยางหลังเปิดกรีด ให้ใส่ ปุ๋ยสูตร 30-5-18 ในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งละ 0.5 กิโลกรัมต่อต้น  โดยใส่ในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดูดธาตุอาหารของต้นยางเป็นไปอย่างมีประสิทธิ???าพ เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยบริเวณที่มีรากดูดอาหารหนาแน่น โดย ต้นยางเล็ก ให้ใส่ปุ๋ยเป็นวงกลมรอบลำต้น สำหรับ ต้นยางอายุตั้งแต่ 17 เดือนขึ้นไป ให้หว่านปุ๋ยกระจายสม่ำเสมอเป็นแถบยาวไปตามแถวของต้นยางในร่องที่เซาะไว้ห่างจากโคนต้นข้างละ 1 เมตร ส่วน ต้นยางอายุ 5 ปีขึ้นไป ให้หว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้าง ห่างจากโคนต้นยางอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และขยายออกไปถึง 3 เมตร และต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว ให้หว่านปุ๋ยทั่วแปลง ห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร

 วิธีการใส่ปุ๋ยที่ดี ต้องเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติ  และต้นพืชสามารถดูดธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด สำหรับการใส่ปุ๋ยแบบหว่าน เหมาะใช้กับพื้นที่ราบที่มีการกำจัดวัชพืชด้วยสารเคมี เพราะเศษซากพืชที่เหลือจะช่วยป้องกันการชะล้างปุ๋ยในช่วงฝนตกได้ หากเป็นที่ราบที่กำจัดวัชพืชด้วยการถาก ควรคราดให้ปุ๋ยเข้ากับดินเพื่อป้องกันน้ำฝนชะล้างปุ๋ย

 ส่วน การใส่ปุ๋ยแบบเป็นแถบ เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อย หรือพื้นที่ที่ทำขั้นบันได ซึ่งการใส่ปุ๋ยวิธีนี้ต้องกลบด้วย และ การใส่ปุ๋ยแบบเป็นหลุม เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ลาดเท และไม่ได้ทำขั้นบันได โดยขุดหลุมบริเวณรอบโคนต้นหรือสองข้างของต้นยาง ประมาณ 2-4 หลุมต่อต้น แล้วใส่ปุ๋ยลงในหลุมและกลบให้เรียบร้อย

 ทั้งนี้ เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ซึ่งจะช่วยให้การใส่ปุ๋ยมีประสิทธิ???าพสูงสุดและช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกรได้ ทั้งยังควรใส่ปุ๋ยขณะที่ดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงอากาศแห้งแล้งหรือฝนตกชุกมากเกินไป และควรกำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง

 นางพรรณพิมล กล่าวอีกว่า   นอกจากนั้น เกษตรกรยังควร ตัดแต่งกิ่งยางพาราในช่วงต้นและปลายฤดูฝน โดยการตัดแต่งกิ่งจำเป็นที่จะต้องทำ 3 ระยะ  คือ 1. ระยะแรกปลูก กรณีที่ปลูกด้วยต้นตอตา ต้องหมั่นตรวจและตัดกิ่งยางที่แตกออกมาจากต้นตอเก่าทิ้ง จนกว่าตายางพันธุ์ดีจะแตกเป็นลำต้นยาง 2. ระยะยางอ่อน ต้องตัดกิ่งแขนงที่อยู่ต่ำกว่า 2 เมตรออกให้หมดโดยตัดให้ชิดลำต้น ในเขตปลูกยางที่มีส???าวะแห้งแล้ง เช่น ???าคตะวันออกเฉียงเหนือ และ???าคเหนือ อาจตัดเฉพาะกิ่งแขนงที่ต่ำกว่า 1.90 เมตรออกได้ เพื่อให้ยางแตกพุ่มต่ำ ทำให้ความชื้นในแปลงปลูกยางสูง ทรงพุ่มชนกันเร็วและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชได้  3. ระยะยางใหญ่ ทำเมื่อต้องการตัดกิ่งที่แน่นทึบ กิ่งแห้ง หรือกิ่งที่เป็นโรคออก เพื่อป้องกันกิ่งฉีก หัก หรือโค่น รวมทั้งยังช่วยป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชด้วย อย่างไรก็ตาม เกษตรกรไม่ควรโน้มต้นยางลงมาตัดแต่งกิ่ง เพราะจะทำให้เปลือกแตก น้ำยางไหล หรือต้นยางหักได้ หลังตัดแต่งกิ่งควรใช้ปูนขาว ปูนแดง หรือสีทาบริเวณแผลที่ตัดกิ่งออก เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลาย

...การสำรวจและติดตามเฝ้าระวังโรคในสวนยางพาราเป็นสิ่งที่เกษตรกรควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในช่วงฤดูฝน เนื่องจากมีโอกาสที่จะเกิดโรคระบาดรุนแรงสร้างความเสียหายได้ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาว โรคเส้นดำ โรคเปลือกเน่า โรคใบร่วงและผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า ซึ่งมักเกิดในช่วงฤดูฝน เกษตรกรจึงต้องหมั่นตรวจแปลงและเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด เพื่อจะแก้ไขได้ทันท่วงทีหากมีโรคเกิดขึ้นก่อนที่จะระบาดลุกลามเป็นวงกว้าง.