ผู้เขียน หัวข้อ: สศก. ประชุมวิเคราะห์ผลผลิตข้าว ยาง ปาล์ม ภาคอีสาน สร้างฐานข้อมูลคุณภาพ  (อ่าน 1065 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82604
    • ดูรายละเอียด

สศก. ประชุมวิเคราะห์ผลผลิตข้าว ยาง ปาล์ม ภาคอีสาน สร้างฐานข้อมูลคุณภาพ




สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 4 ขอนแก่น นำทีมประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านพืชภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิเคราะห์ข้อมูลการผลิตพืช 3 ชนิด รวม 20 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2556/57 ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ปี 55 และ 56 ระบุ ปีนี้มีแนวทางในการจัดทำข้อมูลอย่างมีคุณภาพ และมีรูปแบบการดำเนินงานร่วมกันแบบบูรณาการที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
นางราตรี พูนพิริยะทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 4 ขอนแก่น (สศข.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยในฐานะประธานร่วมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านพืชภาคตะวันออกเฉียง เหนือถึงการจัดประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านพืชภาคตะวันออกเฉียง เหนือ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมโรงแรมเซ็นทาราคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3,5,11 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ  เพื่อมุ่งจัดทำข้อมูลด้านพืช สู่การพัฒนาข้อมูลให้มีเอกภาพร่วมกันแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนและชัดเจนยิ่ง ขึ้น
การประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านพืชภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ร่วมกันพิจารณาผลการวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตพืช 3 ชนิด รวม 20 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2556/57 ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ปี 2555 และ ปี 2556 ซึ่งผลการพิจารณาที่ประชุมมีมติเห็นชอบผลวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2556/57 ร่วมกัน 19 จังหวัด ยกเว้นจังหวัดศรีสะเกษ และเห็นชอบข้อมูลการผลิตยางพารา ปี 2555 และ 2556 ร่วมกัน 19 จังหวัด ยกเว้นจังหวัดอุดรธานี
นอกจากนี้ ได้เห็นชอบข้อมูลการผลิตปาล์มน้ำมันปี 2556 ทุกจังหวัด โดย สศก. จะดำเนินการปรับข้อมูลปาล์มน้ำมันในปี 2555 ให้สอดคล้องกับปี 2556 ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานฯ จะเร่งตรวจสอบข้อมูลข้าวนาปี ของจังหวัดศรีสะเกษ และข้อมูลยางพารา ของจังหวัดอุดรธานี ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ และดำเนินการแจ้งเวียนให้คณะทำงานฯ เพื่อมีมติร่วมกัน ก่อนนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตรต่อไป
สำหรับการบูรณาการร่วมกันจัดทำข้อมูลในครั้งนี้ มีแนวทางการพัฒนาคุณภาพข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีที่ข้อมูลด้านการเกษตรจะมีความเป็นเอกภาพและมีคุณภาพ มากยิ่งขึ้น   อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้เป็นข้อมูลกำหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติต่อไป
ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 18 กรกฎาคม 2557)