ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มีนาคม 28, 2017, 03:48:02 PM »

กยท.ชง ?บิ๊กฉัตร? จ้างเอกชนวางระบบเก็บเงินเซส ตรวจพบส่งออกยางปี56-57 เงินได้ไม่ครบ

ที่มา matichon ลงวันที่ 26/3/60

        
แหล่งข่าวจากการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) เปิดเผยว่า นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท. ได้ตรวจพบความผิดปกติของการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการส่งออกยางพารา(เงินเซส) ระหว่างปี 2556 และปี 2557 ที่เป็นช่วงต้นที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งมีนายอำนวย ปะติเส ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ดูแลเรื่องยางพาราทั้งระบบในขณะนั้น พบว่ามีปริมาณเงินเซสที่จัดเก็บได้ไม่ตรงกับปริมาณยางพาราที่ส่งออก หรือจัดเก็บเงินเซสได้ต่ำกว่าปริมาณยางพาราที่ส่งออก ทั้งนี้ นายธีธัช เตรียมเสนอ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการปรับปรุงโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บเงินเซส
แหล่งข่าวกล่าวว่า จากการตรวจสอบย้อนหลัง ปี 2559 พบว่าการจัดเก็บเงินเซสได้น้อยกว่าปริมาณยางที่ส่งออกประมาณ 991,471 ตัน และปี 2557 ปริมาณการส่งออกผ่านด่านศุลกากรสูงกว่าการจัดเก็บเงินเซสประมาณ 518,626 ตัน แสดงให้เห็นว่ายังมีปริมาณยางพาราจำนวนมากที่ไม่ได้ชำระภาษีส่งออก กยท. ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้เงินค่าธรรมเนียมจากผู้ส่งออกเพื่อนำมาสนับสนุนอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น
แหล่งข่าว กล่าวว่า เบื้องต้น จากการตรวจสอบสาเหตุของการสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บเงินเซส สันนิษฐานได้ 4 ประเด็น คือ 1.ผู้ประกอบการมีการแจ้งน้ำหนักการส่งออกไม่ตรงกับการส่งออกจริง 2.ผู้ประกอบการนำใบชั่งน้ำหนักหลังเปลี่ยนหัวรถแล้วมาเปรียบเทียบกับใบสั่งน้ำหนักเพื่อขอคืนเงินค่าธรรมเนียมคืน 3.ผู้ประกอบการแจ้งชนิดของยางที่ส่งออกไม่ตรงความเป็นจริง และ4.ผู้ประกอบการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าธรรมเนียม ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม กยท.จึงมีข้อเสนอแนวทางพิเศษในการจัดเก็บภาษีเงินเซส โดยพิจารณาใช้ระบบเทิร์นคีย์โปรเจค ให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนโครงการแล้ว กยท.เป็นผู้จ่ายค่าบริการแก่เอกชน เพราะต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ด่านชั่งน้ำหนัก และป้องกันการทุจริตที่ส่งผลให้สูญเสียเงินเซสที่ควรจะจัดเก็บได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
?ที่ผ่านมามีหน่วยงานรัฐที่ให้เอกชนเข้ามาร่วมดำเนินภารกิจเริ่มมีเพิ่มขึ้น อาทิ กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ ได้ให้เอกชนมาดำเนินการออกหนังสือเดินทางสำหรับการเดินทางต่างประเทศ กรมสรรพสามิต มีการจัดจ้างเอกชนมาติดตั้งระบบมาตรวัด และระบบสื่อสารทางไกลในการจัดเก็บภาษี และกรมขนส่ง จ้างเอกชนในการร่วมให้บริการระบบออกใบขับขี่? แหล่งข่าวกล่าวและว่า หากผ่านการเห็นชอบจาก พล.อ.ฉัตรชัย โครงการนี้จะสามารถดำเนินการได้ในปี 2562
นางจินตนา ชัยยวรรณาการ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวยอมรับว่าเกิดเรื่องดังกล่าวจริง และได้สอบถามไปยังนายอำนวย ปะติเส ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ที่เคยตำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯที่ดูแลเรื่องยางในสมัยปี 2556-2557 นายอำนวยชี้แจงว่าเรื่องตัวเลขที่ไม่ตรงกันระหว่างการจัดเก็บเงินเซสและตัวเลขการส่งออกที่ทำให้ กยท.ได้เงินเซสจำนวนน้อยลง ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการเหลื่อมของเดือนที่แจ้งข้อมูลเท่านั้น และในส่วนนี้มีบางรายการอาจเกิดจากการลักลอบส่งออกไปตามชายแดน ส่งผลให้รัฐบาลเก็บเงินเซสได้น้อยกว่าความเป็นจริง