ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 787 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82686
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันอังคารที่  24  มีนาคม  พ.ศ. 2558


ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นโดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกรรโชกแรงกับมีลูกเห็บตกได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่


2. การใช้ยาง


- สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่าจีนนำเข้ายางธรรมชาติในเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแตะที่ 177,204 ตัน โดยนำเข้าจากไทยจำนวน 123,646 ตัน ลดลงร้อยละ 4.5


3.เศรษฐกิจโลก


- คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ระบุว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซนพุ่งขึ้นมากกว่าคาดการณ์ในเดือนมีนาคม สู่ระดับ -3.0 จาก -6.7 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ -5.95 ในเดือนมีนาคม


- บุนเดสแบงค์ เป็นธนาคารกลางของเยอรมนี ระบุว่า เศรษฐกิจเยอรมนีมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงต้นปีนี้ หลังจากมีการเติบโตอย่างสดใสในปลายปีที่แล้ว และยังคงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาส 2 ของปีนี้ และเมื่อเดือนที่แล้วคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ขยายตัวของเยอรมนีอีกร้อยละ 0.4 สู่ระดับร้อยละ 1.5 ในปีนี้ ขณะที่สัปดาห์ที่แล้วองค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ปรับเพิ่มการขยายตัวของเยอรมนีในปีนี้สู่ร้อยละ 1.4 จากเดิมที่ร้อยละ 1.1


- รายงานประจำไตรมาสของสถาบันสมาคมศาสตร์ (CASS) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านนโยบายระดับสูงของรัฐบาลจีน คาดว่าผลิภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาสแรกปี 2558ของจีน จะขยายตัวราวร้อยละ 6.85 เมื่อเทียบรายปี


- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยดัชนีกิจกรรมการผลิตที่ประเทศประจำเดือนกุมพาพันธ์ ลดลงสู่ระดับ -0.11 จาก -0.10 ในเดือนมกราคม ซึ่งแสดงถึงการลดลงของการผลิต การบริโภค และการสร้างบ้าน ตัวเลขดัชนีที่เป็นลบบ่งชี้ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าแนวโน้มในอดีต


- รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มการประเมินเศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน เนื่องจากความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวดีขึ้น และผลกระทบด้านลบจากการปรับขึ้นภาษีการบริโภคของรัฐบาลเมื่อเดือนเมษายน ปีที่แล้วก็ลดน้อยลง โดยรายงานว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวปานกลาง


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.54 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 119.75 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.22 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดตลาดที่ 47.45 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.88 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ และรายงานที่ว่าจำนวนแท่น
ขุดเจาะของสหรัฐฯ ปรับตัวลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา


- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้น 0.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 55.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล


- รมว. น้ำมันของซาอุดิอาระเบีย เปิดเผยว่า ซาอุดิอาระเบียกำลังผลิตน้ำมันใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และระบุว่าซาอุดิอาระเบียจะพิจารณาปรับลดการผลิตก็ต่อเมื่อประเทศที่อยู่นอกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ให้ความร่วมมือลดการผลิต


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนเมษายน 2558 อยู่ที่ 215.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนสิงหาคม 2558 อยู่ที่ 216.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.4 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 172.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- ประธานธนาคารกลางยุโรป  (ECB) พร้อมที่จะให้การสนับสนุนต่อธนาคารกรีซอีกครั้ง ถ้าหากว่าการเจรจาระหว่างรัฐบาลกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้สามารถกลับมาดำเนินต่อไปอีกครั้ง


- นายกรัฐมนตรีกรีซ เตรียมเข้าพบกับนายกรัฐมนตรีเยอรมนีเมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ ในขณะที่เยอรมนีเป็นแกนนำของกลุ่มประเทศเจ้าหนี้ และยังเป็นปัจจัยที่จะช่วยบ่งชี้ด้วยว่าการตัดสินใจเรื่องกรีซจะออกมาเป็นเช่นไร


- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่ายอดขายบ้านมือสองในเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 สู่ระดับ 4.8 ล้านยูนิต หลังจากลดลงในเดือนมกราคม แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดไว้ที่ 4.9 ล้านยูนิต และเมื่อเทียบรายปียอดขายบ้านมือสองเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7


8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะผลผลิตที่มีน้อย  อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการบางรายกล่าวว่าราคาในระยะนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงมาก โดยเฉพาะเดือนใกล้ เพราะโรงงานหลายแห่งมีสินค้าเพียงพอจึงไม่เร่งซื้อ แต่จะมองไปยังเดือนไกล เพราะสภาพอากาศที่แห้งแล้งยาวนานอาจจะกระทบต่อผลผลิตยางในระยะต่อไป


แนวโน้ม   ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อยในช่วงฤดูยางผลัดใบ ส่วนปัจจัยลบมาจากเงินเยนและเงินบาทแข็งค่า รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ซบเซา ประกอบกับความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจรจาปัญหาหนี้กรีซยังไม่มีความคืบหน้า


 


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 24, 2015, 11:14:03 AM โดย Rakayang.Com »