ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 649 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82648
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  31  มีนาคม  พ.ศ. 2559

ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยมีอากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ส่งผลให้อุณหภูมิลดลง 2 - 3 องศาเซลเซียส

2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่น (JAMA) เปิดเผยว่า ยอดส่งออกรถยนต์ซึ่งรวมถึงรถบรรทุกและรถโดยสารปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในเดือนกุมภาพันธ์ สู่ระดับ 369,410 คัน จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 365,855 คัน ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน

3. เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์หดตัวลงร้อยละ 6.2 จากเดือนก่อน เนื่องจากการผลิตยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลง

- ธนาคารกลางโปรตุเกสระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปีนี้ ทั้งนี้ธนาคารกลางโปรตุเกสเปิดเผยในรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจประจำปี 2559 - 2561 ว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 1.7 และคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 1.7 ในปีหน้า และร้อยละ 1.8 ในปี 2561

- ธนาคารกลางฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ฝรั่งเศสมีแนวโน้มขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 1.2 แต่อัตราดังกล่าวยังไม่เพียงพอ เนื่องจากยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในยูโรโซน ซึ่งอยู่ระดับร้อยละ 1.4 - 1.5

- กรรมการบริหารธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยติดลบไม่ใช่เครื่องมือเพียงอย่างเดียวของ ECB ยังคงมีเครื่องมือด้านนโยบายอีกหลากหลายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของเยอรมันได้กลับมาเป็นบวกอีกครั้งในเดือนมีนาคม โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเยอรมันซึ่งมีการปรับค่าสำหรับเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรปขยับขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนมีนาคม หลังจากลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือนกุมภาพันธ์

- ซิตี้กรุ๊ป ประกาศปรับลดคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปีนี้เหลือเพียง 1 ครั้ง หลังจากที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวย้ำว่าเฟดจะไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยท่ามกลางแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลก

- ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) เปิดเผยว่า การเติบโตของเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงในปี 2559 และ 2560 โดยจะส่งผลต่อการเติบโตของภูมิภาคเอเชียที่กำลังพัฒนา ทั้งนี้การคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชียประจำปี 2559 ของ ADB ชี้ว่าเศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 6.9 ในปี 2558 จะขยายตัวลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 6.5 ในปี 2559 และร้อยละ 6.3 ในปี 2560

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.25 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.08 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 112.44 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.20 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคมปิดตลาดที่ 38.32 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.04 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ทำสถิติปิดบวกเป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ หลังจากมีรายงานว่าสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนพฤษภาคมปิดที่ 39.26 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.12 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 7 แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้สต๊อคน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านบาร์เรล แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.3 ล้านบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนเมษายนอยู่ที่ 170.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 175.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.2 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 149.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐฯ เดือนมีนาคมเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่ง สอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ โดยภาคบริการมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 191,000 ตำแหน่ง ส่วนภาคการผลิตมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 3,000 ตำแหน่ง

- สมาคมธนาคารเพื่อการจำนองของสหรัฐฯ (MBA) เปิดเผยว่า จำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว โดยระบุว่าดัชนีการยื่นขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ 1.0 ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 มีนาคม 2559

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เพราะความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศและการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ทำให้ราคายางของไทยไม่ปรับตัวลดลงมากตามตลาดล่วงหน้า

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยลบจากเงินเยนและเงินบาทแข็งค่า รวมทั้งราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ส่วนปัจจัยบวกมาจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่ผู้ประกอบการในประเทศส่วนใหญ่มีความต้องการซื้อ



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา