ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 23, 2015, 02:45:20 PM »

จ.บุรีรัมย์ เร่งตรวจสอบรับรองแปลงปลูกยางพารา พร้อมเข้าร่วมโครงการชดเชยรายได้เกษตรกรชาวสาวยาง


วันพุธที่ 23 ธันวาคม  2015 เวลา 09:44 น.


จังหวัดบุรีรัมย์ เร่งตรวจสอบรับรองแปลงปลูกยางพารา พร้อมเข้าร่วมโครงการชดเชยรายได้เกษตรกรชาวสาวยาง
นายนพดล ไพฑูรย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานในการประชุมร่วมระหว่างส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามผลการบริหารโครงการชดเชยรายได้เกษตรกรชาวสวนยางระดับจังหวัด ณ ห้องประชุมนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อติดตามผลการตรวจสอบพื้นที่ของเกษตรกรที่ใช้เอกสาร ภบท 5 ภ.บ.ท.6 และภ.บ.ท. 11 เพิ่มเติมในโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคายางตกต่ำ โดยการจ่ายเงินชดเชยรายได้ให้แก่เกษตรกรซึ่งมีพื้นที่สวนยางเปิดกรีด ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ และไม่เป็นที่หวงห้ามของทางราชการ หรือตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรืออุทยานแห่งชาติ หรือป่าที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นป่าถาวรอันเป็นสมบัติของชาติ มีพื้นที่เสนอเข้ารับการตรวจสอบและรับรองสิทธิ์เกษตรกร จำนวน 158 แปลง พื้นที่โครงการ 1,889 ไร่ ใน 8 อำเภอ จาก 23 อำเภอทั้งจังหวัด
 
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากในการประชุมครั้งที่ผ่านมา ได้นำข้อมูลการตรวจสอบพื้นที่นำกลับไปทบทวนใหม่เนื่องจากค่าพิกัดมีความคลาด เคลื่อน โดยให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดบุรีรัมย์ จับพิกัดใหม่ทั้งหมดและส่งข้อมูลค่าพิกัดที่จับใหม่ให้สำนักจัดการทรัพยากร ป่าไม้บุรีรัมย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับที่ดินตรวจสอบกับพิกัดแผนที่ที่ดินในความรับผิด ชอบของหน่วยงาน เพื่อนำข้อมูลเข้าที่ประชุมระดับจังหวัดพิจารณาอีกครั้ง
 
โดยในที่ประชุมมีมติให้คณะทำงานตรวจ สอบ สิทธิ์ฯ ระดับตำบล ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่แปลงปลูกยางพาราตามที่เกษตรกรใช้เอกสาร ภบท 5 ภ.บ.ท.6 และภ.บ.ท. 11 แจ้งขอเข้าร่วมโครงการ โดยให้ทำการตรวจสอบทุกแปลงปลูก พร้อมประสานงานกับเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในพื้นที่ สำหรับการจัดเก็บพิกัด GPS แปลงของเกษตรกร จากนั้นจึงนำเข้าคณะกรรมการระดับอำเภอและจังหวัดประชุมเพื่อพิจารณารับรอง สิทธิ์ให้เกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการต่อไป โดยให้การดำเนินการเพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง โปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้
 
ที่มา : NNT (23/12/2558)